KPI งานวิจัย

31 ม.ค. 57 ไปประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนด KPI ด้านวิจัย เพื่อผลักดันสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) .. ได้ความรู้จากการบรรยายของท่านผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย เลยขอเก็บบันทึกเอาไว้ค่ะ

siriraj

  • ต้องหาให้เจอว่าใครคือ customer งานวิจัย? งานวิจัยต้องตอบโจทย์ความต้องการของ customer ทำให้ customer เข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยนั้น งานวิจัยต้องเป็น customer-oriented research และตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
  • customer อาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยด้านต่างๆ ได้แก่ งานวิจัยเชิงวิชาการ งานวิจัยเชิงพาณิชย์ งานวิจัยเชิงนโยบาย งานวิจัยเพื่อสังคม customer อาจเป็น partner งานวิจัยของเราทั้งในและต่างประเทศ customer อาจเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่เรา ทั้งในและต่างประเทศ
  • customer อาจไม่ใช่คนเดียวกันกับ users / consumers
  • ส่วนคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ buyers / payers / distributors / manufacturers / sponsors / advocators / regulators / stakeholders
  • พึงระลึกเสมอว่า งานวิจัย (research) กว่าจะกลายเป็นนวัตกรรมได้ ต้องอาศัยขบวนการหลายขั้นตอน ทั้ง development, design, engineering และ manufacturing
  • ดัชนีวัด PI (Performance Indicators) แบ่งออกเป็น 1. Leading indicators (วัดกระบวนการ) 2. Lagging indicators (วัดผลผลิต output / ผลลัพธ์ outcome)
  • ผลผลิต (outputs) ซึ่ง customers นำไปใช้ได้โดยตรง ได้แก่ บทความวิจัยตีพิมพ์ สิทธิบัตร ต้นแบบ ฐานข้อมูล sample banks ต่างๆ รวมทั้ง ทรัพยากรมนุษย์ เช่น นักศึกษาบัณฑิตศึกษา นักวิจัย ผู้รับการฝึกอบรม การวัด outputs ต้องมีทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  • ผลลัพธ์ (outcomes) เป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวิชาการในวงกว้าง ทั้งในระดับ short-term outcomes (วัดโดย defined customers) intermediate outcomes (วัดโดย customer’s customers) และ long term  outcomes (วัดโดย society หรือประเทศชาติ) การวัดทำได้ค่อนข้างยาก
  • วิธีการวัดต้อง identify ให้ออก ตาม logic model ของการวิจัย ไม่ว่าจะเป็น basic research หรือ research for industry แต่ละรายการคืออะไรบ้าง นับตั้งแต่ 1. research inputs -> 2. activity -> 3. outputs -> 4. for customers -> 5. short term outcomes -> 6. intermediate outcomes -> 7. long term outcomes

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

5 ส.ค. 52

ช่วงนี้ เรื่องที่ hot มากของวงการมหาวิทยาลัยบ้านเรา ก็คือเรื่องการแจกเงิน … เอ้ย ! ไม่ใช่ เรื่องการจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านอุดมศึกษาของรัฐบาล ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 หรือโครงการ SP2 (เข้าใจว่า SP ย่อมาจาก Stimulation Package) ซึ่ง สกอ. กำลังเตรียมการณ์ใหญ่ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้ และจะมีระยะเวลาทำงาน 3 ปี คือ 2553-2555

นั่นคือ “โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา และการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ” งบประมาณ 12,202 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research Universities) วงเงิน 9,000 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาทั้งระบบ วงเงิน 3,000 ล้านบาท … อะแฮ่ม ได้ข่าวว่า ณ ตอนนี้มีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 9 แห่ง

Download เอกสารประกอบการบรรยายโครงการฯ … ที่นี่ค่ะ

แนวความคิดนี้ มาจากการพยายามพาไทย มุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (World-class University) ให้จงได้ … ว่าแต่ว่า World-class University มันคืออะไรกันแน่

Shoochow

ควรอ่านเล่มนี้ค่ะ
Jamil Salmi. The Challenge of Establishing World-Class Universities. The World Bank: Washington DC; 2009.

หน้าปกสวยมาก เป็นรูปตึกหอสมุดมหาวิทยาลัย Soochow ที่ประเทศจีน … เห็นมั๊ย ว่าถ้าจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับ World Class ได้ จะต้องมีเงิน support ห้องสมุด ขนาดนี้เท่านั้น ฮิ ฮิ

เห็นประเทศอื่น เขามีมหาวิทยาลัยวิจัย เป็นกลุ่มๆ กัน เพื่อจะได้มีพลังในการขับเคลื่อน ต่อรอง หรือทำอะไรก็แล้วแต่ … เป็นสหพันธ์-สันนิบาต-สมาคม-พันธมิตร เป็นแก๊งเป็นก๊วน ตั้งยังกะชื่อทีมกีฬาสี เช่น SKY ของเกาหลี (Seoul, Korea, Yonsei), Imperial Univerities มหาวิทยาลัยที่สร้างโดยจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น 9 แห่ง, Group of Eight ของออสเตรเลีย, LERU และ IDEA League ของยุโรป, Russell Group (Rg) ของสหราชอาณาจักร, และ G13 (Group of Thirteen) ของแคนาดา … ของไทย ตั้งชื่อว่าอะไรดี ??? GANG of 9 ดีมั๊ย

ส่วนอีกบทความหนึ่งที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และน่าจะต้องอ่านควบคู่ไปด้วย คือ บทความของ Eric Beerkens แห่งมหาวิทยาลัย University of Sydney ที่บรรยายไว้ในการประชุม CHER Conference 2007 [ download ที่นี่ค่ะ ]