องค์กรที่มีคุณภาพ
- เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีแ ละมีความสมดุลครบทุกด้าน
- มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- มีขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างงเป็นระบบในทุกระดับ โดยมุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
- สามารถขับเคลื่อนผลิตภาพ (Productivity) และคุณภาพ (Quality) ในระดับสากล
- เกิดผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่ส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
- มีภูมิคุ้มกันและความเข้มแข็งต่อ Disruption การผันผวนของตลาด เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
- สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่น
“Good Results Come From Good Process“

หมวด 1 การนำองค์กร
- ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้ระบบการนำองค์กร (Leadership System) หรือทิศทางการดำเนินงานของผู้นำระดับสูง
- กำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ที่เหมาะสมกับทิศทางขององค์กร (ตัวอย่างเช่น ธนาคาร ธกส. – พันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” วิสัยทัศน์ “ธนาคารที่ดีที่สุด สำหรับการมีบ้าน”)
- กำหนดเป้าหมายองค์กรและตัวชี้วัดที่ชัดเจน ในขั้นตอนการทำแผนกลยุทธ์ประจำปี เพื่อมุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์
- กำหนดค่านิยมองค์กรเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของพันธกิจและวิสัยทัศน์
- ถ่ายทอด VMV ทิศทาง และเป้าหมายขององค์กร สู่การปฏิบัติ ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ และกระจายตัวชี้วัดลงถึงระดับบุคคล พร้อมสื่อสารไปยังบุคลากรทุกระดับ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกันทั้งองค์กร รวมทั้งสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรที่สำคัญ
- สมรรถนะหลัก (Core Competency) หรือความเชี่ยวชาญเป็นเลิศ (Excellence) ขององค์กรคืออะไร ?
- องค์กรกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอะไร ? ความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญ ส่งผลต่อสถานการณ์การแข่งขัน และโอกาสสร้างนวัตกรรม และเมื่อเผชิญแล้ว จะปรับการทำงานขององค์กร โดยอาศัยความได้เปรียบอะไรในเชิงกลยุทธ์ มีเส้นทางการพัฒนาอย่างไรในแต่ละปี และใช้เครื่องมือที่สำคัญอะไรบ้างในการปรับปรุงองค์กร ? (เช่น Balanced Score Card, KPI, PDCA, Lean, Six Sigma, ISO, TQA)
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำกิจกรรมสนับสนุนชุมชน และส่งเสริมความผาสุกให้แก่สังคม
หมวด 2 กลยุทธ์
- องค์กรต้องพัฒนากระบวนการวางแผนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เมื่อเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง
- ผสานกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Process) เข้ากับระบบการนำองค์กร (Leadership System)
- ค้นหาโอกาสเชิงกลยุทธ์ และ Intelligent Risk
- จัดทำแผนปฏิบัติการ Business Plan, Key Action Plan
- ใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการต่าง ๆ เช่น Benchmarking, Financial Feasibility, COSO – Risk Management, SWOT Analysis, PEST Analysis, Business Value Chain, Corporate KPI, Department KPI, Team KPI, Individual KPI
หมวด 3 ลูกค้า
- ใช้ระบบลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
- เรียนรู้ความต้องการและความคาดหวัง นำเสียงของลูกค้า (VOC) ที่ได้ มากำหนดแผนตลาด และแผนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ
- วางแผนกลยุทธ์ด้านการบริการลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีที่สุด โดยใช้ Customer Journey
- สร้างความสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตลูกค้า (Customer Life Cycle)
- จัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า ปลูกฝังบุคลากรในเรื่องการบริการที่เป็นเลิศ
- ทำการวิจัยตลาด สำรวจลูกค้าเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้น
หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้
- ใช้สารสนเทศติดตามการปฏิบัติการประจำวัน วัดผล และใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง
- มีระบบวัดผลการดำเนินงาน (Performance Measurement Process) ที่เป็นนวัตกรรมดิจิทัล และบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ ติดตามสารสนเทศของคู่แข่งและสถานการณ์ตลาด เพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วของผู้บริหาร (เช่น ใช้ Big Data Analytics)
- มีการประเมินความเสี่ยงทางด้านไอที จัดทำ Business Continuity Management (BCM) ระดับองค์กร
- สร้างการเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อยกระดับมาตรฐาน
- มีการจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
หมวด 5 บุคลากร
- กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากร
- มี HR Operation Model เพื่อกำกับกระบวนการด้านบุคลากรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา การประเมิน การให้รางวัล การบริหารจัดการความผูกพัน การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ดูแลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ และสภาพแวดล้อมการทำงาน
- ใช้ Talent Management ในการ สรรหาและรักษาบุคลากร
- มีแผนการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับและบุคลากรที่มีศักยภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
หมวด 6 ปฏิบัติการ
- มีกระบวนการออกแบบและนวัตกรรมระบบงานโดยรวมอย่างเป็นระบบ ที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ
- ออกแบบกระบวนการทำงาน จัดทำมาตรฐานการทำงาน จัดทำข้อกำหนดของกระบวนการทำงานที่สำคัญ และกำหนดตัวชี้วัด Leading และ Lagging indicators (KPI) ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดระบบงาน และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร
- มีการติดตามการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานที่สำคัญต่าง ๆ
- ประเมินคุณค่าเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และผลการดำเนินการให้ดีขึ้น
- มีการทบทวน ประเมิน และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีวิธีการที่เป็นระบบในการจัดการนวัตกรรม
- มีกระบวนการควบคุมต้นทุน การเตรียมความพร้อมเพื่อความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน
- มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ เพื่อนำไปจัดทำแผน Business Continuity Plan (BCP) พร้อมทดสอบแผนเป็นประจำทุกปี
ตัวอย่าง ระบบการนำองค์กรของ Singapore Management University (SMU)
- What do we want to achieve AND why is this important?
- How will we get there AND what might get in the way?
- Who is going to make change happen AND who will support them?




Reference: Inaugural Address : SMU President Professor Lily Kong, 12 February 2019 https://www.smu.edu.sg/sites/default/files/smu/inauguration/Inaugural_Presidential_Address.pdf