สรุปประเด็นที่น่าสนใจ ที่ได้รับจากการฟังบรรยาย เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย” โดย รศ.ดร. สมศักดิ์ มิตะถา ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” WUNCA ครั้งที่ 38 ระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
เครือข่าย University Network (UniNet) เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2539 เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี และในปี 2562 นี้ ขยายขอบเขตและบูรณาการเป็นระบบเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ National Education Network (NedNet) มีสมาชิกเครือข่าย 10,762 แห่ง จากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มหาวิทยาลัยในสังกัด สกอ. หน่วยงานวิจัยและสถานศึกษาอื่น ๆ เพื่อรองรับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ด้วยความเร็ว 100 Gbps และเสนอปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของ UniNet ให้เป็นหน่วยงานอยู่ภายใต้กำกับของ สกอ. ในรูปแบบ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ SDU (Service Delivery Unit) เพื่อรองรับการให้บริการของสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ
การให้บริการของ UniNet/NedNet ในลักษณะ Knowledge Network
- โครงการเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล (ThaiLis) ประกอบด้วย
- โครงการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย Union Catalog of Thai Academci Libraries (UCTAL)
- โครงการฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ Thai Digital Collection (TDC)
- โครงการบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลจากต่างประเทศ (Reference Databases) จำนวน 11 ฐานข้อมูล อาทิ ACM Digital Library, IEEE/IET Web of Science, ProQuest Dissertation & Theses Global, SpringerLink, ScienceDirect, EBSCO เป็นต้น
- โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (AutoLib) 3 ระบบ ได้แก่ Walai AutoLib ของ ม. วลัยลักษณ์, ALIST ของ ม.สงขลานครินทร์ , KMUTT-LM ของ มจธ.
- โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ Integrated Thesis & Research Management System (iThesis)
- โครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา University Common-Access Dataset System (UniCAD) เพื่อเชื่อมโยงระบบคลังความรู้และการอ้างอิงทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ iThesis -> TDC -> Citation Database -> Analytic Tool
- โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย Thai Cyber University ได้แก่ หลักสูตรออนไลน์ E-learning และ Thai MOOC
- Video Conference Systems ในการประชุมทางไกล (Tele-meeting / Teleconference) การเรียนการสอน (Tele-education) และการเรียนการสอนทางการแพทย์ (Telemedicine)
- International Research Network ได้แก่ กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยสมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย (ThaiREN), โครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science, Tele-medicine Thailand ดำเนินการโดย Telemedicine Network Society of Thailand (TENST), ความร่วมมือกับเครือข่ายงานวิจัยอื่นๆ, Asia@Connect, การใช้งาน IPv6, และการใช้งานระบบ eduroam
- การบริการบำรุงรักษาสายเคเบิล อุปกรณ์ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
การบำรุงรักษาเครือข่าย ยังไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควรและดูแลไม่ทั่วถึง บางครั้งวงจรเครือข่าย CAT มีปัญหา ทำให้การใช้งานอินทอร์เน็ตขัดข้องโดยเฉพาะตามโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด สพฐ. ทางโรงเรียนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการระบบเครือข่าย อุปกรณ์ชำรุดหรือติดตั้งไม่ถูกต้อง สายเคเบิลชำรุดจากสัตว์กัดแทะ ระบบไฟฟ้าลัดวงจร แนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ ซ่อมแซมอุปกรณ์และสายเคเบิลอย่างต่อเนื่อง จัดทำคู่มือการใช้อุปกรณ์ router ยี่ห้อต่าง ๆ จัดทำระบบ QR code ให้ข้อมูลแนะนำและวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแก่ทางโรงเรียน ฝึกอบรมให้ความรู้ทางเทคนิค จัดทำ KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม Site Visit แนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน มีดังนี้
- ประยุกต์ใช้ระบบบัตรดิจิทัล E-Wallet ในโทรศัพท์มือถือ เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลแจ้งปัญหา เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ออกใบงาน และปฏิบัติงานลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา
- ปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายสารสนเทศ (Network Operation Center: NOC) โดยนำมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 มาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของศูนย์ โดยจัดทำแผนดำเนินงานในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564)
- ใช้ระบบบริการจัดการการให้บริการทางด้านไอที ITIL Framework ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วย Service Strategy -> Service Design -> Service Transition -> Service Operation -> Continual Service Improvement ในการพัฒนา ระบบบริการ Call Center รับแจ้งปัญหาการใช้งานเครือข่ายให้แก่สมาชิก