สมรรถนะของดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์

สรปุประเด็นสมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ และเจตคติ) ของดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ จากงานเสวนา “สมรรถนะที่พึงประสงค์ของดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์และความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต” เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 โดยมีดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิาช และหลักสูตรสารสนเทศศึกษา (Information Studies) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 8 ท่าน มาร่วมเล่าประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สรุปประเด็นได้ดังนี้ค่ะ

สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ และเจตคติ) ของดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์

  1. มีทักษะในการวิจัยและพัฒนา (R & D) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้
  2. เรียนรู้สิ่งใหม่และสร้างนวัตกรรม เพราะถ้าไม่มี จะตามโลกไม่ทัน
  3. มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของจริยธรรมการวิจัย เคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
  4. มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเรื่องผลงานและสื่อที่มีลิขสิทธิ์ และนำมาใช้งานอย่างถูกต้อง  
  5. ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงจบปริญญาเอกแล้วหยุดเรียนรู้ เรียนแล้วต้องช่วยเหลือคนอื่น ทำประโยชน์ให้คนอื่น
  6. มีทักษะการเรียนรู้ทักษะใหม่
  7. เรียนรู้ศาสตร์ใหม่ อาทิ Big data, Machine Learning
  8. มีความสามารถในการบูรณาการข้ามศาสตร์
  9. ประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ ลดความยากจน ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการให้แก่ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน บริการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (พฤตพลัง Active Ageing) ทั้งด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนสังคม และสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต
  10. มีทักษะในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกระดับ ทั้งความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น ความร่วมมือระหว่างต่างประเทศ เรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมทั้งมีทักษะด้านการใช้ภาษา
  11. สามารถทำงานได้ทั้งในภาควิชาการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคอุตสาหกรรม
  12. ต้องมีทั้ง Hard skill, Soft skill, Re-skill, Up-skill และ Meta-skill mindset เพื่อเติบโต เรียนรู้ แก้ปัญหา และทัศนคติที่ดี เปลี่ยนความซับซ้อนให้เป็นความเรียบง่าย พัฒนาความรู้และทักษะใหม่อยู่เสมอ เพื่อเผชิญความท้าทายในโลกแห่ง VUCA World และสามารถ translate skills กลายเป็นที่ปรึกษาขององค์กร (Trainer, Coach, Consultant) ในด้านการจัดการข้อมูล
  13. มีความสามารถในการจัดการเรื่อง big data, data analytic ซึ่งเป็น pain point ของภาคธุรกิจ ขับเคลื่อนธุรกิจและการตลาดโดยใช้ข้อมูล (Data-driven business) เนื่องจากข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า เป็นภาษาที่สองของทุกคนในองค์กร การจัดการข้อมูลมีความสำคัญต่อความสำเร็จและเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร
  14. มีความสามารถในการบริหารเวลา จัดสรรเวลา มีวินัยในตนเอง มุ่งมั่น ตั้งใจ มีวินัย อดทน ไม่ท้อถอย
  15. สามารถบริหารจัดการความเครียด มีความเข้าใจในตัวเอง ตระหนักในคุณค่าของตนเอง  self-confidence and respect yourself
  16. มีทักษะการแก้ปัญหา เผชิญกับปัญหา คิดบวก (Positive Thinking) มี Growth Mindset
  17. มี Critical Thinking สามารถแยกแยะเรื่องราวบนพื้นฐานของความถูกต้อง
  18. มี Empathy ความรู้สึกร่วม เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มี Compassion เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถเพิ่มบทบาทในการเป็น social support / emotional support หรือทำงานด้าน social listening รับฟังเสียงจากสังคม

เรียนปริญญาเอกทางไกลกับ มสธ.

วันที่ 16 ธ.ค.53 นี้จะเริ่มเรียนเทอมที่ 2 แล้ว สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปศาสตร์ แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ รุ่น 1 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .. ลงทะเบียนไปอีก 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชาสัมมนาประเด็นการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ และชุดวิชาดุษฎีนิพนธ์ จ่ายค่าเทอมไป 65,000 บาท (ซึ่งใครๆก็ว่าราคาถูกที่สุดแล้ว) เดือนนี้เห็นทีคงต้องตกลงปลงใจกับหัวข้อวิทยานิพนธ์เสียที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจะสิบรอบแล้วมั๊ง

วันนี้เปิดตู้จดหมาย พบใบแจ้งผลการสอบภาคเรียนที่ 1 ที่เรียนไปแล้ว 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชามิติสารสนเทศศาสตร์ และ ชุดวิชาการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางสารสนเทศศาสตร์ ท่านอาจารย์กรุณามาก ให้ A มา 2 ตัว ดีใจมาก เพราะเป็นกำลังใจให้ต่อสู้ชีวิตต่อไป .. ไม่รีบเรียนเท่าไหร่ แต่ขอให้จบก่อนเกษียณล่ะกัน

ใครสนใจจะมาเรียนเป็นเพื่อนกัน ก็เชิญเลยนะคะ เหมาะสำหรับคนทำงาน แต่ต้องการ Life-Long learning http://www.stou.ac.th/thai/courses/Master_54/art_54.asp