Facebook สำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย

ช่วงนี้งานเข้า … วันพุธเช้า จะยกทีมไปสอนวิธีการใช้ Facebook,Twitter ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในที่ประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตร สุดเร่งรัด เวลา 8.00-9.00 น. ก่อนเริ่มการประชุม … พุธแรกเอาเรื่อง Facebook ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลง ลองเล่นเลยก็แล้วกัน

เริ่มต้นสมัครเป็นสมาชิก Facebook

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.facebook.com
  2. เลือกภาษาที่ต้องการ ภาษาไทย หรือ English (US)
  3. ลงทะเบียน (Sign Up) เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ส่วนตัว กรอกข้อมูล : ชื่อ นามสกุล e-mail รหัสผ่าน เพศ และอายุ (ตามนโยบายของ Facebook แต่สามารถซ่อนข้อมูลได้หากต้องการ) สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัว (Profile) และแก้ไขการตั้งค่า Settings ต่างๆ ได้ภายหลัง
  4. ในกรณีที่ต้องการสร้างเป็น Business Fan Page สำหรับหน่วยงาน ธุรกิจ องค์กร นิติบุคคล หรือบุคคลในฐานะผู้มีชื่อเสียงคนดัง ให้สร้างหน้าใหม่ (Create a Page) หรือไปที่เว็บไซต์ http://www.facebook.com/pages/create.php ผู้สร้างและดูแลหน้า (Page Administrator) จะต้องเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานนั้นๆ และสามารถแต่งตั้งผู้อื่นให้ช่วยดูแล เป็น co-admin ได้ด้วย
  5. ทาง Facebook มีการกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบ (Statement of Rights and Responsibilities) เอาไว้ หากผู้ใดละเมิดอาจถูกลบสิทธิการเป็น Page Administrator ลบหน้า (Page) ที่สร้าง หรือลบบัญชีผู้ใช้ส่วนตัว (Facaebook Account) ได้
  6. ถ้าต้องการสร้างกลุ่ม (Facebook Group) ตามความสนใจร่วมกัน ซึ่งถือว่าเป็น unofficial fan page ให้ไปที่เว็บไซต์ http://www.facebook.com/groups/create.php

Login เข้าใช้งาน Facebook ทำความรู้จักกับหน้าจอโฮมเพจ และออกจากระบบ (Logout)

  • เพิ่มเพื่อน (Add as friend) ค้นหาคนที่รู้จัก (Find friends) และการค้นข้อมูล (Search)
  • รู้จักวิธีการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว (Profile) การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ (Account Setting), ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) และตั้งค่าแอพพลิเคชั่น (Application Setting) ต่างๆ
  • รู้จักระบบการแจ้งเตือน เช่น มีคนขอเป็นเพื่อน (Friend Requests) มีข้อความที่เข้ามาใหม่ (Messages) แจ้งเตือนวันเกิดและกิจกรรมต่างๆ (Notifications)
  • รู้จักระบบสนทนาของ Facebook คุยกับเพื่อนที่กำลังออนไลน์อยู่ในขณะนั้น (Chat)
  • อ่านข่าวใหม่ (News Feed) หรือดูข้อมูลล่าสุดแบบ real-time (Live Feed หรือปัจจุบันเรียกว่า Most Recent)
  • เกมส์ และแอพพลิเคชันต่างๆ … แอพพลิเคชัน จำพวก photo sharing, video sharing, user groups, และ events จะเป็น default ที่มากับระบบ แต่จะมีแอพพลิเคชันอีกมากกว่า 350,000 ชนิดที่สร้างขึ้นโดยบรรดา third-party developers … มีสาระบ้าง ไมมีสาระบ้าง แล้วแต่จะเลือกใช้ ส่วนอันที่มีสาระสุดๆ ตามความคิดของคนทำงานห้องสมุด คือ Visual Bookshelf, WeRead (Books iRead), WorldCat, Blog RSS Feed Reader
  • ทำความรู้จักกับฟังค์ชั่นการใช้งานต่างๆ เช่น การรับ-ส่งข้อความ (Messages) การสร้าง-เข้าร่วมกิจกรรม (Events) การเขียน-อ่านบันทึก (Notes) การสร้าง-เข้าร่วมกลุ่ม (Groups) ตามความสนใจร่วมกัน ฯลฯ
  • การ post บนกระดานข้อความ (Wall) ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความ พร้อมแนบ Photos, Video, Event และ Link URL ไปด้วยได้ นอกจากนั้น ยังสามารถควบคุมความเป็นส่วนตัว โดยกำหนดสิทธิคนอ่าน ว่าเป็น Friends, Friends of Friends, หรือ Everyone

บังเอิญช่วงนี้ Facebook ทำการปรับปรุงหน้าจอเป็นแบบใหม่ สงสัยฉลองครบรอบวันเกิดครบ 6 ปี เมื่อวันที่ 4 ก.พ.53 ที่ผ่านมา .. เพราะฉะนั้น ใครสมัครเป็นสมาชิกใหม่ จะเจอหน้าจอแบบใหม่นี้เท่านั้น ส่วนคนที่เคยสมัครไปนานแล้ว อาจยังมีหน้าจอแบบเก่า คงกำลังทะยอยเปลี่ยนให้มั๊ง [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ … ]

คู่มือการใช้งาน Facebook

การไปฝึกอบรมครั้งนี้ เราจะมีวิทยากรหลัก (มืออาชีพ) คือ ดร. ระพี บุญเปลื้อง หรืออาจารย์เต้ ขวัญใจชาวคณะวิทย์ และวิทยากรผู้ช่วย คือ คุณวรัษยา สุนทรศารทูล (พี่เอ) ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล … งานนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสังคมเครือข่ายออนไลน์ (Social Network) ของมหิดล ให้เติบโตไปในทางที่ถูกที่ควร และเกิดประโยชน์สูงสุด (อันนี้แอบฝันเล็กๆ)

ฃุมชนออนไลน์คณะวิทยาศาสตร์ บน Facebook

3 ตุลาคม 2552

ไม่ได้เขียน Blog นานเกือบเดือน … มัวแต่ไปอยู่ใน Facebook ความจริงเคยสมัครเป็นสมาชิก Facebook มานานหลายปีแล้ว แต่พักหลังๆ กลับเข้าไปอีกที พบว่าเป็นแหล่งชุมชนคนคณะวิทย์ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งกลุ่มอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบันที่กำลังเรียนอยู่ต่างประเทศ รวมทั้งชุมชนชาวห้องสมุดด้วย และมีประโยชน์หลายอย่างซ่อนเร้นอยู่ในนั้น นอกเหนือจากการคุยกันและเล่นเกมออนไลน์แบบเด็กๆ การส่งข่าวสารกระจายได้เร็วมาก … เล่นซะลืม WordPress Blog ไปชั่วขณะ แต่ตอนนี้กลับมาแล้วค่ะ

มี 2 ชื่ออยู่ใน Facebook นะคะ เผื่อจะได้ไปร่วมวงสทนากันในนั้น

What are you doing ?

ทดลองของเล่นใหม่ …

นอกจากการเขียนบันทึกเรื่องราวด้วย Blog แล้วแบบนี้แล้ว Twitter ก็เป็น Social Networking อีกแบบหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับการเขียนบันทึกอะไรสั้นๆ ให้คนอื่นรู้ว่าตอนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ ตามสโลแกนของ Twitter คือ “What are you doing ?”

วันที่ 6 เม.ย. 52 ได้ทดลองใช้ Twitter เชื่อมต่อเข้ากับ WordPress Blog … เวลาเขียนอะไรบน Twitter ก็จะมาโผล่บน Blog นี้ด้วย

และวันนี้ 18 เม.ย. 52 ก็ได้ของเล่นใหม่เพิ่มขึ้น คือการเชื่อมต่อ Twitter เข้ากับ Facebook (ซึ่งเป็น Social Networking ยอดนิยมขนาดยักษ์อีกแห่งหนึ่ง) … เป็น application ที่เรียกว่า “Twitter on Facebook” ทีนี้แหละ เราสามารถเขียนข้อความจาก Facebook มาโผล่บน Twitter และ WordPress Blog พร้อมกันทั้ง 3 แห่ง เลยทีเดียว

ไม่พอ … ยังเอา Blog นี้ไป link ไว้บน Facebook ด้วย ทำให้วิ่งกลับไปกลับมาระหว่างเว็บทั้ง 3 แห่งได้สะดวกขึ้นเยอะเลย

สนุกดีนะ ลองเล่นดูสิ ..