20 ปีของวิวัฒนาการวารสาร Open Access

ท่านทราบหรือไม่ว่า สำนักพิมพ์วารสาร ได้มีวิวัฒนาการจาก Subscription-based Model มาเป็น Open Access Model อย่างค่อยเป็นค่อยไป มาได้ 20 ปีแล้ว

10 ปีแรก : เริ่มตั้งแต่ การกำเนิดของ PubMed Central (PMC) และ ​Biomed Central (BMC) ในปี 2000 และ Public Library of Science (PLOS) ในปี 2001 ต่อมา BMC เริ่มใช้ระบบ Article Processing Charge (APC) ตามมาด้วยการเกิดขึ้นของ Green OA, Hybrid OA องค์กรให้ทุนขนาดใหญ่ อาทิ NIH เริ่มกำหนดนโยบายเกี่ยวกับ OA สำหรับผู้รับทุนวิจัย

อีก 10 ปีต่อมา : ในปี 2010 PLOS One กลายเป็นวารสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2011 สำนักพิมพ์ Wiley เริ่มสร้างวารสารใหม่ที่เป็น Gold OA พร้อมกับการเกิดขึ้นของ SciHub ในปีเดียวกัน ปี 2016 UK เริ่มประกาศ REF 2021 Open Access Policy ปี 2017 มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในประเทศเยอรมนี boycott สำนักพิมพ์ Elsevier และในปี 2018 กลุ่ม Europe ประกาศนโยบาย Coalition S / Plan S

ในปีนี้ 2019 สำนักพิมพ์ Wiley และ SpringerLink ทำข้อตกลงกับ Project DEAL ของเยอรมนี และปีหน้า 2020 สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ทะยอยออกวารสารใหม่ในรูปแบบ Gold OA และเริ่มออก Business Model ใหม่ๆ เพื่อจัดการกับวารสารดั้งเดิมที่เป็น Hybrid OA อาทิ Publish & Read (PAR) Model – the costs are based on a calculated publishing volume และ Read & Publish (RAP) Model – the costs are based on the subscription fee for reading เป็นต้น

เตรียมพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ของวงจร Scholarly Communication … ระบบการตีพิมพ์ผลงานวิจัยแบบพลิกโฉม อย่างแน่นอน – Stay tuned !

Screen Shot 2562-10-12 at 21.06.33.png

บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ Scientific Evolution 2012

ปี 2012 มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงระบบ Scientific Communications ของโลกไปอย่างสิ้นเชิง มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นทั้งในฝั่งยุโรป อังกฤษ และอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกนับหมื่นคนลงชื่อประท้วงสำนักพิมพ์ Elsevier เรื่องราวของ RWA, Finch Report, OA ฯลฯ ระบบสำนักพิมพ์แบบเดิมๆ จะล่มสลายหรือกลายร่าง … เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะมีผลกระทบแน่ต่อวงการศึกษาและวิจัยของบ้านเรา

วารสาร Open Access

เรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญของการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยในบ้านเรา ในขณะนี้ คือ การที่มีสำนักพิมพ์ประเภท Open Access เกิดใหม่จำนวนมาก ส่ง e-mail มาชักชวนให้ร่วมเป็นกองบรรณาธิการ เชิญเป็น reviewer หรือส่งบทความไปตีพิมพ์ และส่วนใหญ่จะเป็นสำนักพิมพ์ชื่อแปลกๆที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อนทั้งสิ้น เหตุการณ์อุบัติใหม่นี้ เป็นระบบธุรกิจวารสาร ที่เรียกว่า Author-pay คือผู้แต่งจ่าย คนอ่านอ่านฟรี ซึ่งแตกต่างจากระบบธุรกิจวารสารแบบดั้งเดิม คือระบบการบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription fee) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียง และมีระบบ peer-review ที่เข้มแข็งมาก แต่ข้อเสียคือ ราคาวารสารแพงมาก และแพงมากขึ้นเรื่อย จนกระทั่งเกิดวิกฤติที่เรียกว่า serials crisis นั่นเป็นสาเหตุของการเกิดสำนักพิมพ์หน้าใหม่ที่เรียกว่า Open Access Publishers ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด

ตอนแรก OA Publishers ทำตัวเหมือน “เทพ” ที่มาแก้ปัญหาสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ที่ทำตัวเป็นมาเฟีย ผูกขาดวงการวารสารวิชาการ อย่างเช่น Elsevier แต่หลายปีผ่านไป ตอนนี้ “เทพ” ทำท่าจะกลายเป็น “มาร” ไปแล้ว เพราะระบบอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมสร้างระบบวารสารแบบ OA ที่หาได้ง่ายและฟรี เป็นปัจจัยช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างสำนักพิมพ์แบบต้นทุนต่ำ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย ต่อมามีพ่อค้าหัวใสได้เริ่มใช้วิธี e-mail marketing เหวี่ยงร่อนจดหมายเชิญชวนนักวิจัยทั่วโลก (การหา e-mail ของผู้แต่งทำได้ไม่ยาก เพราะปรากฎอยู่ทั่วไปใน e-journals, e-databases) สร้างความรำคาญและสร้างความงงงวยอย่างยิ่ง เพราะวันหนึ่งได้รับถึง 5-6 ฉบับก็มี แถมแจ้งสนนราคาว่า ค่าตีพิมพ์ 40,000 บาท รับประกันไม่มี reject หรือไม่ก็เชิญให้เป็น reviewer แบบสุ่มชื่อไปเรื่อย ทำให้วารสาร OA ที่เคยเป็นเทพ ทำท่าจะมัวหมองไปซะแล้ว

สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของวารสารวิชาการแบบ OA จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง ..

หากย้อนกลับไปดูอดีต อันที่จริงเรื่อง open access (OA) มีมาตั้งแต่สมัยปี 1966 โน่นแล้ว เมื่อครั้งฐานข้อมูล ERIC เปิดให้บริการฟรี และตามมาด้วย MEDLINE (ซึ่งมีตั้งแต่ปี 1966 แต่ตอนแรกไม่ฟรี มาเปิดให้ใช้ฟรีบนอินเทอร์เน็ตเมื่อปี 1997 ในชื่อ PubMed) ต่อมาในปี 2000 เกิดแหล่งข้อมูลที่ให้บริการบทความวารสารแบบ free access เช่น PubMedCentral และสำนักพิมพ์วารสารวิชาการแบบ OA แห่งแรกที่ชื่อว่า BioMedCentral และในปี 2001 เกิดสารานุกรมเสรี Wikipedia

พอมาถึงปี 2002 สำนักพิมพ์ BioMedCentral ก็เริ่มใช้ระบบธุรกิจแบบ Author-pay เข้ามา เพื่อให้มีรายได้ในการดำเนินการ ปัจจุบัน BioMedCentral ถูกสำนักพิมพ์ Springer ซื้อกิจการไปแล้ว (เมื่อปี 2008) และขยายสาขาออกไปเป็น ChemistryCentral, และ PhysMathCentral

ปี 2002 เกิดสำนักพิมพ์ Public Library of Science (PLoS) และผลิตวารสารแบบ OA ชื่อแรกเมื่อปี 2003 คือ PLoSBiology (ต่อมามีชื่ออื่นตามมา เช่น PLoSMedicine, PLoS ONE) ในปีเดียวกันนั้น ได้เกิดแหล่งรวมรายชื่อวารสาร OA Directory of Open Access Journals (DOAJ) ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งรวมวารสารขนาดใหญ่และได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

ตั้งแต่ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่เคยเป็น traditional journal publishers ก็เริ่มเล่นหันมาเล่นระบบ Author-pay บ้าง ในลักษณะของ Hybrid Journal Program เช่น SpringerOpen, Oxford Open, RSC Open Science, BMJ Open, WorldSciNet OPEN ACCESS, และ Bentham Open ในปี 2007

ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา เป็นช่วงของการแพร่ระบาดของสำนักพิมพ์แบบ OA-only Publishers หรือ Gold OA อย่างรวดเร็ว มีสำนักพิมพ์หน้าใหม่เกิดขึ้น เช่น Hindawi, MDPI, OMICS, DovePress, ANSInet ฯลฯ สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง Elsevier เริ่มกำหนดทีท่าของตน ปรากฎในเว็บ Elsevier’s position on Access และเมื่อปี 2008 จึงเกิดสมาคม The Open Access Scholarly Publishers Association (OASPA) ขึ้นมา เพื่อกำหนดกฎ กติกา มารยาท และกำกับดูแลสำนักพิมพ์ OA ให้เข้ารูปเข้ารอยกันมากขึ้น

แน่นอนว่า มีวารสาร OA บางชื่อที่เข้าไปอยูู่ในฐานข้อมูลสากล อย่าง Scopus หรือแม้กระทั่ง ISI Web of Science และมีค่า Impact Factor ได้ แต่ไม่ใช่ทุกชื่อ ที่เข้าไปใน ISI-WOS ได้แล้ว ตัวอย่างเช่น Molecules และ International Journal of Molecular Sciences ของสำนักพิมพ์ MDPI และ EXCLI Journal วารสาร OA ของ Univ Mainz เป็นต้น … มีบทความวิจัยที่น่าสนใจ ซึ่งศึกษาพบว่า การที่บทความจะได้รับการอ้างอิงสูงหรือไม่ มันไม่ขึ้นอยู่กับว่าวารสารจะเป็น traditional หรือ OA แต่มันขึ้นอยู่กับคุณภาพและชื่อเสียงของวารสารมากกว่า [ อ่านรายละเอียดได้จากบล็อกย้อนเหลัง เรื่อง วารสาร Open Access ในฐานข้อมูล Scopus ]

และอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัท Reed Elsevier ว่า OA จะเป็นภัยคุกคามต่อบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้หรือไม่ ได้ที่ http://poynder.blogspot.com/2010/06/reed-elsevier-need-for-progressive.html

อ้างอิง: http://oad.simmons.edu/oadwiki/Timeline

วารสาร Open Access ในฐานข้อมูล Scopus

ผลกระทบของ Open Access (OA) ต่อ Visibility ของวารสารทางวิชาการ สรุปมาจากบทความเรื่อง Open Access and Scopus: A new approach to scientific visibility from the standpoint of access ของทีมวิจัย SCImago ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Society for Information Science and Technology 62(6):1130-1145, 2011. สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

  • รูปแบบของธุรกิจวารสาร มี 3 แบบ คือ 1. Traditional Journals รูปแบบดั้งเดิม มีอายุยาวนานกว่า 300 ปี ผู้อ่านหรือห้องสมุดเป็นผู้จ่ายค่าบอกรับเพื่อสิทธิ์ในการอ่าน 2. OA Journals วารสารมีลักษณะเป็น Gold OA คือเป็น OA อย่างแท้จริง ผู้เขียนจ่ายค่าตีพิมพ์ ส่วนผู้อ่านอ่านฟรี ใช้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต (ตามข้อตกลง Budapest Open Access Initiative, 2001) 3. Hybrid Journals คือ วารสารแบบดั้งเดิม ห้องสมุดยังต้องจ่ายค่าบอกรับเพื่ออ่าน แต่บทความมีลักษณะเป็น OA คือผู้เขียนสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มให้แก่วารสาร หากต้องการสิทธิ์ในการนำบทความเฉพาะของตน (ทั้งก่อนและหลังการตีพิมพ์) ไปจัดเก็บสะสมหรือเผยแพร่ในเว็บส่วนตัว หรือเว็บ IR ของสถาบัน เป็น self-archiving หรือ Green OA ซึ่งคาดว่ารูปแบบนี้ น่าจะเป็นแนวทางที่สำนักพิมพ์ที่ผลิต traditional journals หันมาสนใจ และจะได้รับความนิยมมากในอนาคต
  • รายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับ journal editor policy และ copyright ข้อตกลงในการทำ self-archiving ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จำนวนกว่า 700 แห่ง หาอ่านได้จากเว็บ SHERPA/RoMEO
  • แหล่งรวมรายชื่อวารสาร Gold OA ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ DOAJ (Directory of Open Access Journals) มีจำนวนวารสาร มากกว่า 5,138 ชื่อ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวารสาร gold OA จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คิดเป็นเพียง 20% ของจำนวนวารสารวิชาการทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก (ข้อมูลจาก Ulrich’s Internatioanl Periodicals Directory 2010) ในฐานข้อมูล DOAJ มีวารสาร Gold OA สาขา social sciences มากถึง 39% รองลงมาคือ สาขา health sciences 24% สาขา physical sciences 20% และสาขา life sciences 14%
  • สำหรับนโยบายในการคัดเลือกวารสาร เข้าฐานข้อมูล Web of Science ของบริษัท Thomson และ Scopus ของบริษัท Elsevier ซึ่งทั้งสองเป็นฐานข้อมูลหลักที่ใช้ในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยนั้น พบว่า นโยบายของทั้ง Web of Science และ Scopus เน้นคุณภาพของวารสารโดยไม่คำนึงว่าเป็น traditional หรือ electronic journals
  • ปัจจุบันฐานข้อมูล Web of Science และ Journal Citation Reports ของ Thomson เริ่มมีวารสารที่เป็น gold OA อยู่ในนั้นประมาณ 5% (มีข้อสังเกตว่า วารสาร Gold OA ของสำนักพิมพ์ MDPI ที่ชื่อว่า Molecules สามารถเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูล WOS และมีค่า impact factor ในปี 2009)
  • ส่วนฐานข้อมูล Scopus ซึ่งมีวารสารจำนวนกว่า 17,284 ชื่อ เมื่อได้ศึกษาในรายละเอียด พบว่า
    • ในฐานข้อมูล Scopus มีจำนวนวารสารในสาขาวิชาต่างๆ สูงสุดคือสาขา social science, arts & humanities 31.3% รองลงมาคือ medicine 30.8% engineering 16.2%, earth and environmental sciences 16.2% ส่วน biochemistry, genetics & molecular biology มีเพียง 8.6%
    • และในฐานข้อมูล Scopus จะมีแนวโน้มของ OA สูงมากทุกสาขา โดยเฉพาะสาขา biochemistry, genetics & molecular biology สูงถึง 52.5% (gold OA=12.0%, green OA=40.5%, non-OA=47.5%) และโดยส่วนใหญ่ทุกสาขาวิชาจะมี green OA มากกว่า gold OA ประมาณ 30%
    • เมื่อพิจารณาจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ เพื่อวัด visibility หรือ popularity ของบทความทุกสาขาวิชา พบว่า วารสารที่มีบทความแบบ green OA ได้รับการอ้างอิงสูงสุด รองลงมาคือ non-OA และ gold OA จะเห็นว่า Gold OA ไม่ได้ช่วยเรื่อง visibility มากนัก (ยกเว้นสาขา medicine ที่การอ้างอิงของ gold OA สูงกว่า non-OA)
    • หากนำวารสาร Gold OA ไปตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ดัชนี SJR พบว่า วารสาร Gold OA ส่วนใหญ่ จะจัดอยู่ในกลุ่ม Quartile Q4 (ต่ำสุด) ไม่ว่าจะเป็นวารสารที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ก็ตาม ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่า ประโยชน์ของ OA ในแง่การสร้าง visibility ส่วนใหญ่จะมาจาก green OA ไม่ใช่ gold OA และส่วนใหญ่มาจากวารสารที่มีชื่อเสียงและคุณภาพดีอยู่แล้ว และการเพิ่ม green OA articles จะยิ่งเป็นการเพิ่ม visibility ให้แก่บทความ
    • ยกเว้นกรณีของประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา ที่รัฐบาลมีการรณรงค์ส่งเสริม free electronic journals ของประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในสาขา health sciences โดยไม่สนใจ gold OA, green OA หรือ self-archiving ไม่อยู่ในฐานข้อมูล DOAJ และไม่ได้ทำตามนโยบายของ SHERPA/RoMEO แต่อย่างใด นั่นคือ โครงการ SciELO ของบราซิล และ Redalyc ของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา

สรุปว่า จำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัย จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อหา คุณภาพและชื่อเสียงของวารสาร นักวิจัย และสถาบัน มากกว่าจะขึ้นกับรูปแบบของวารสาร แม้ว่า green road หรือ self-archiving policy จะมีส่วนช่วยเพิ่ม visiblity ได้บ้าง แต่จะเพิ่ม visibility ได้มากในกรณีที่บทความหรือวารสารนั้นมีคุณภาพดีอยู่แล้วเท่านั้น