การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (ตอนที่ 3)

สรุปการบรรยายหัวข้อ Grantmanship and Research Collaboration : A mechanism for the Creation of High Quality Research, Innovation and HRD โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ) ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) ซึ่งเป็นวิทยากรท่านสุดท้ายของงาน “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” ที่หน่วยส่งเสริมการวิจัย งานวิจัย สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้จัดขึ้นที่ห้องประชุม K102 เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 55 โดยสรุป มีดังนี้ค่ะ

  • สถานภาพปัจจุบันของประเทศ คือ R&D / GDP = 0.21%, R&D Personnel (FTE) 6.7:10,000 และ R&D expenditure (private:government = 45 :55)
  • เป้าหมายในปี 2016 คือ R&D / GDP = 1%, R&D Personnel (FTE) 15:10,000 และ R&D expenditure (private:government = 70:30)
  • จะเห็นได้ว่า long-term strategic planning ด้าน S&T ระยะ 10 ปีของประเทศ โดยหลักการแล้ว จะไม่เปลี่ยนตามการเมือง มหาวิทยาลัยและคณะควรมี master plan สำหรับ research, innovation และ education เป็นแผนระยะ 10 ปี แบบ in-depth เพื่อให้รู้ว่า niche ของเราอยู่ที่ไหน จะไปทางทิศใด (ถ้าไม่ทำจะไม่มีตัว drive policy)
  • เรื่องที่สำคัญที่สุด และเป็นทั้ง output และ impact ที่สำคัญของการวิจัยคือ ทรัพยากรมนุษย์ HRD (Human resource development)
    Grantmanship

  • การเขียน grant proposal เปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ คือ ต้องมีความรู้ และต้องประคบประหงม ใส่ใจ
  • อะไรคือ research problems (เราอยากจะทำอะไร) niche areas และ new research initiatives คืออะไร
  • ต้องรู้จัก fundamental research areas ของตัวเอง เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไหน ให้เขียนแสดงจุดเด่นของตัวเอง (อย่าเขียนเชิงบ่น)
  • literature review เอาเฉพาะที่สำคัญๆ อย่าใส่ไปทั้งหมด ให้หัดเขียน short story ทำตัวเป็นนักเล่านิทาน คือพูด 15 นาทีแล้วทำให้คนฟังรู้เรื่อง เอาเฉพาะ essense
  • อ่านและศึกษาก่อนว่า funding agency มีนโยบายอย่างไร ต้องการอะไร
  • การเขียน methodology ให้แสดงกระบวนการ ที่มาที่ไป เสนออะไรที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ ไม่ต้องเขียนทุกอย่าง
  • research objectives เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องเขียนให้ชัดเจน ถ้าไม่ใช่ new idea ก็ต้องทำให้ดี (อย่าเขียนเพียงแค่ ต่างประเทศทำแล้วแต่ยังไม่มีใครทำในประเทศไทย)
  • อย่าพิมพ์ตัวสะกดผิด ตรวจ grammar, spelling check ให้ดี format and brevity สำคัญ อย่าน้ำท่วมทุ่ง เขาให้เขียนกี่หน้า ก็เขียนแค่นั้น อย่ายาวเกิน
  • ควรรู้ mentality ของ reviewers ว่าเขาคิดและคาดหวังอย่างไร
  • ต้องมี proofread อย่าพิมพ์ผิดๆ เขียนเสร็จแล้วควรส่งไปให้คนอื่นช่วยอ่าน ว่าอ่านรู้เรื่องหรือไม่
  • ส่ง proposal ให้ทันเวลา อย่าปล่อยไว้จนนาทีสุดท้าย
  • ถ้ามีโอกาส ให้สมัครเป็น reviewers จะได้เรียนรู้ process เยอะมาก และจะทำให้การเขียนของเราดีขึ้น
  • การเขียน grant ต้องทำจริงจัง take it seriously
  • เกณฑ์ในการ review ของ funding agency คือ proposal จะต้องมี intellectual merit เช่น potential to advance knowledge within and across fields, qualification, creativity & originality ฯลฯ และมี impact เช่น ผลกระทบในวงกว้าง เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ ฯลฯ
    Strategic collaborator

  • ความร่วมมือกัน เป็น partner กัน ทำงานเป็นทีม ผิดพลาดต้องไม่โทษกัน ใครเป็นผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมงานทำอะไรที่เราทำไม่ได้ ผู้ร่วมงานต้องไม่ใช่ภาระ ต้องไม่สร้างภาระให้เรา
  • ผู้ที่เป็น PI ต้องมีความรับผิดชอบในผลงานตีพิมพ์ ต้อง well-organized ความเป็น authorship ต้องตกลงกันให้เรียบร้อย ว่าใครจะเป็น first author, corresponding author, co-authors, % contribution จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
  • การมี international collaboration จะช่วยสร้าง frame of mind ทำให้เป็นคนกว้าง ถ้ามีโอกาสควรจัดการประชุมวิชาการ congress จะได้รับประสบการณ์มาก
    Innovation

  • Innovation is key to S & T deployment ให้มองหานวัตกรรมจากงานของเรา แต่บางงานยังไปไม่ถึง ก็ไม่ถึง — นวัตกรรมคือ การแปลง “ปัญญา” ให้เป็นสิ่งที่มี “ประโยชน์”
  • Innovation มีความสัมพันธ์เป็นวงจรกับ research, education, quality of life, finance, trade, industry & service

National Science, Technology & Innovation (STI) Policy
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2564)

  • วิสัยทัศน์ : นวัตกรรมเขียว เพื่อสังคมดีมีคุณภาพและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ (Green Innovation for Quality Society and Sustainable Economic Growth

STI Strategies

การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (ตอนที่ 2)

สรุปการบรรยาย “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ของ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช อุปนายก สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท) .. มีดังนี้ค่ะ

  • ต้องคำนึงว่าการวิจัยนั้น ทำไปเพื่อความยั่งยืนของชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และต้องคำนึงถึงจตุภาคีการวิจัย (research quartet) ให้ครบทั้ง 4 ด้านคือ ตัวนักวิจัย นโยบายการวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย (funding) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย .. ต้องรู้รอบ เปรียบเสมือนการเล่นกีฬา ถ้าไม่รู้กติกา ก็จะเสียเปรียบ
  • การวิจัยเป็นการลงทุนสำหรับอนาคตของประเทศ สร้างองค์ความรู้ ไม่ใช่ทำวิจัยแล้วจะได้อะไร เพราะนั่นเป็นนวัตกรรม ที่สำคัญคือการสร้างนวัตกรรมบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ แต่ใช้ world knowledge หรือ local knowledge ที่มีอยู่อย่างมากมายแล้วก็ได้
  • Innovation = creativity x risk-taking การก้าวข้ามจาก R&D ไปยัง market จะต้องกระโดดข้ามหุบเหวมรณะที่เรียกว่า The Valley of Death ซึ่งมีความยากง่ายแล้วแต่ว่าจะมีขนาดกว้างหรือแคบแค่ไหน การวิจัยและพัฒนา (R&D) มีความเสี่ยง นวัตกรรมก็มีความเสี่ยง แต่การวิจัยจะช่วยลดความเสี่ยงในกระบวนการนวัตกรรม และความล้มเหลวจากการวิจัยจะช่วยให้เราเรียนรู้
  • วิจัยเพื่ออะไรได้บ้าง มีตั้งหลายอย่าง เช่น Routine to Research (R2R) Research to Teaching (R2T) Research to Excellence (R2E) Research to Commercialization (R2C) Research to Patent (R2P) Patent to Research (P2R) Policy Research และ Operational (insitutional) research
  • 5ส ของการวิจัย มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลการวิจัย คือ สนุก (fun) สะดวก (convenience) สบาย (comfort) สะอาด (clean) และสมาร์ท (smart)
    แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

  • ชื่อโครงการวิจัย : ต้องสั้น กระชับ น่าสนใจ และชัดเจน ถ้าเป็นโครงการต่อเนื่อง ต้องระบุปีที่ 2,3, ..
  • ชื่อและสังกัดหัวหน้าและคณะนักวิจัย : หัวหน้าโครงการต้องน่าเชื่อถือ ไม่ใช่หัวหน้าหน่วยงาน แต่ไม่ทำวิจัย คณะนักวิจัยที่มีชื่อ ต้องมีบทบาทหน้าที่
  • บทคัดย่อ : ต้องสั้น เน้นสาระหลัก
  • ความเป็นมา หลักการ เหตุผล : ทำไมจึงทำวิจัยโครงการนี้ ทบทวนวรรณกรรมที่มีอยู่ก่อน (ไม่ควรใช้สิ่งพิมพ์ที่ไม่มีการตรวจสอบเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสารทั่วไป เว็บไซต์) ทฤษฎี แนวคิด หรือข้อเสนอที่จะทดสอบในโครงการนี้
  • วัตถุประสงค์ : เพื่อหาอะไรใหม่ เขียนให้สั้น กระชับ และตรงกับชื่อโครงการ จะได้อะไรเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  • แผนงานและเป้าหมาย : ขั้นตอน ระยะเวลา และเป้าหมาย ควรทำเป็นตารางแผนงาน (Grantt Chart) มุ่งสู่วัตถุประสงค์ของโครงการ ใครเป็นผู้ดำเนินการ
  • วิธีการและระเบียบการวิจัย : การสำรวจและเก็บตัวอย่าง (ส่วนใหญ่เป็น basic research) การวิเคราะห์ทดลองในห้องปฏิบัติการ การทดลองภาคสนาม การวิจัยในคน clinical trial การสร้างเครื่องต้นแบบ การผลิตระดับโรงงานต้นแบบ (applied research)
  • งบประมาณที่ขอ : งบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์ วัสดุ และการบริหาร (งบน้อย ได้ผลดี คุ้มค่าที่สุด) สอดคล้องกับกิจกรรมในแผนและระเบียบวิธีวิจัย
  • เอกสารอ้างอิง : ทันสมัย ครอบคลุมสาระสำคัญ ตรวจสอบได้ง่าย เป็นไทย อังกฤษ หรือภาษาอื่นตามความจำเป็น

สัจธรรมของการวิจัย (ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทย เป็นกันทั่วโลก) คือ

  • นักเทคโนโลยี (Technologist) : What can be done ? ทำอะไรได้บ้าง
  • นักเศรษฐศาสตร์ (Economist) : What should be done ? ทำแล้วคุ้มมั๊ย
  • นักการเมือง (Politician) : What will be done ? เป็นผู้ตัดสินใจว่า อะไรที่ต้องทำ หรือไม่ต้องทำ


ภาพจาก Translational research: Crossing the valley of death, Nature 453, 840-842 (2008)

การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (ตอนที่ 1)

เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 55 ได้มีโกาสไปฟังบรรยาย “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” ที่หน่วยส่งเสริมการวิจัย งานวิจัย สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้จัดขึ้นที่ห้องประชุม K102 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมา 3 ท่าน คือ ศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช อุปนายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท) ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ) ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) .. นำประเด็นที่สรุปได้จากการฟังบรรยายครั้งนี้ มาเล่าสู่กันฟังดังนี้ค่ะ

  • ศ.นพ. ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การขอทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยสรุปคือ มหาวิทยาลัยมหิดลจะได้งบประมาณอยู่ราวๆ 130 ล้านบาท เฉลี่ยโครงการละประมาณ 10-20 ล้านบาท หัวข้อที่เสนอต้องสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) แต่กว้างขวางตามความสนใจของนักวิจัย ไม่เฉพาะเจาะจง เงื่อนไขผลประโยชน์เป็นของมหาวิทยาลัย มีรอบการดำเนินการ เริ่มจากวันที่ 17 ส.ค.55 ดังนี้ 1) ให้นักวิจัยส่งโครงการไปยังคณะ เพื่อกลั่นกรองรอบแรก (แบ่งเกรด A,B,C) 2) key ข้อมูลเข้าระบบ NRPM ของ วช. 3) ส่งโครงการให้มหาวิทยาลัยกลั่นกรองรอบสอง โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา 4) มหาวิทยาลัยส่ง วช. กลั่นกรองรอบสาม 5) วช. ส่งสำนักงบประมาณ ซึ่งถ้ามีการตัด อาจต้องทำเรื่องชี้แจงขอทบทวน 6) เข้าที่ประชุม ค.ร.ม. 7) เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 8) แจ้งผลการพิจารณาประมาณ ต.ค.56 และได้รับเงินทุนประมาณ พ.ย.-ธ.ค.56 รวมใช้เวลาพิจารณาประมาณกว่า 14 เดือน
  • ทุนวิจัยจาก วช. ปีงบประมาณ 2556 ที่จัดทำกรอบวิจัยสอดคล้องกับแผนฯฉบับที่ 8 และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานให้ทุน 5ส (สกว. สวทช. สวก. สวทน. สวรส.) ให้เงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท สำหรับการวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ 11 กลุ่มเรื่อง และงบประมาณ 430 ล้านบาทสำหรับ 9 กลุ่มเรื่องเร่งด่วน มี dealine ให้ key ข้อเสนอโครงการวิจัยเข้าระบบ NRPM วันที่ 20 ส.ค.56
      กลุ่มเรื่องมุ่งเป้า 11 กลุ่มเรื่อง ได้แก่

    1. ข้าว
    2. มันสำปะหลัง
    3. ยางพารา
    4. ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
    5. การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
    6. สุขภาพและชีวเวชศาสตร์ (biomedicine)
    7. อ้อยและน้ำตาล
    8. อาหารเพื่อความมั่นคง
    9. สานเกลียวคู่นวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย (น่าจะหมายถึง สายเกลียว “วิจัย” คู่ “นวัตกรรม” โดยเน้นเรื่องพลาสติกย่อยสลายได้)
    10. เกษตรพื้นที่สูง
    11. ปาล์มน้ำมัน
      9 กลุ่มเรื่องเร่งด่วน ได้แก่

    1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
    2. ความมั่นคงและวัฒนธรรมของชาติ และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
    3. ด้านภาวะโลกร้อนและงานนโยบายพลังงานทางเลือกเพื่อลดภาวะโลกร้อน
    4. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ
    5. สังคมผู้สูงอายุ
    6. การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
    7. พัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าผลผลิตด้านสัตว์เศรษฐกิจ
    8. เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม
    9. การปฏิรูปการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
  • นอกจากนั้น ยังมีแหล่งเงินทุนอื่นๆ จากต่างประเทศ ที่สำคัญ เช่น Malaria Eradication Scientific Alliance (MESA), OMICS ของ NIAID, NIH (HIV,AIDS, Aging), Grand Challenges Canada เป็นต้น

[ อ่านต่อ … การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (ตอนที่ 2) ]