ทำความเข้าใจ KPI ในมุมมองธรรมะ

อ่านหนังสือ “วิธีอยู่ร่วมกับ KPI อย่างสันติ” ของ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ ที่ซื้อมาจากร้านหนังสือนายอินทร์ สาขาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อหลายเดือนก่อน หยิบมาอ่านใหม่ แล้วได้ไอเดียหลายอย่างเกี่ยวกับ ดัชนีวัดผลงาน  Key Performance Indicator (KPI) จึงขอนำมาบันทึกไว้ที่นี่ค่ะ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

Screen Shot 2558-12-19 at 1.43.22 PM

  • KPI ที่ดี ต้องทำให้งานได้ผล คนเป็นสุข และไม่ทำร้ายโลก
  • อย่าเอา KPI มาวัดเพื่อขึ้นเงินเดือน ตำแหน่ง หรือให้โบนัส เพราะจะทำลายขวัญและกำลังใจเสียเปล่าๆ
  • KPI ควรมีพลวัต (dynamic) ปรับเปลี่ยนแผนได้ตามสถานการณ์จริง ไม่ใช่แข็งทื่อ หาแพะรับบาป จัดฉาก และสร้างตัวเลข
  • แท้จริงแล้ว KPI มีไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลงานขององค์กรให้ดียิ่งๆขึ้นไป เพื่อให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายได้ อย่าไปห่วงแต่การทำคะแนนให้สูง คะแนนเป็นเพียงผลลัพธ์เท่านั้น อย่าเอาเป็นเอาตายกับผลลัพธ์ให้มากนัก
  • สิ่งที่ต้องพัฒนาก่อน คือ การพัฒนากระบวนการ ถ้ากระบวนการดี ผลลัพธ์ย่อมดีแน่นอน กระบวนการ สำคัญกว่าผลลัพธ์
  • สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือ อยู่กับปัจจุบัน ไม่ลืมเป้าหมาย เดินต่อไป แก้ไขกระบวนการ และสร้างยุทธศาสตร์ที่ดี
  • ในมุมมองของนักบริหาร คนที่ไม่ทำ KPI คือ คนที่ไม่มีระบบ บริหารงานด้วยความรู้สึก ซึ่งอาจจะมั่วหรือเพี้ยนได้ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่
  • KPI ควรนำมาใช้กับการวางแผนยุทธศาสตร์ มีไว้ปรับเปลี่ยนแผนการให้เป็นไปตามสถานการณ์ มากกว่าการนำมาวัดคน
  • เล่นเป็นทีม ทำตามแผนยุทธศาสตร์ ไม่ใช่บ้า job description พิจารณาคุณลักษณะของผู้เล่นในทีม ทั้งในเรื่องของเทคนิคการทำงาน จิตใจ และร่างกาย
  • บางครั้ง KPI ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เพราะบางเรื่อง เป็นเรื่องของความรู้สึกที่เป็นนามธรรม
  • ทำ KPI อย่าสนใจแต่ผลลัพธ์ ให้มองไปที่การตรวจวัดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (key behavior) มากกว่าผลลัพธ์ที่ได้
  • ผู้บริหารต้องเข้าใจธรรมชาติของคน ต้องใช้การสนทนา (dialogue)
  • ยิ่งมี KPI ละเอียด ยิ่งทำให้เกิดบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจในที่ทำงานมากยิ่งขึ้น
  • สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำ คือ เปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ ไม่ใช่เปลี่ยนสถานการณ์ให้เข้ากับตัวเอง
  • ถึงแม้จะใช้ KPI แบบโหดๆ แต่ด้านหนึ่งก็รุกด้วยความรักและหวังดี ไม่ใช่ตำหนิทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจ ส่วนอีกด้านหนึ่งก็รุกด้วย KPI วัดผล แบบนี้ถึงจะไปรอด
  • KPI มีไว้เพื่อหาตัวแปร ไม่ใช่หาคนผิด
  • นิสัยผู้บริหารเป็นอย่างไร องค์กรก็เป็นอย่างนั้น — ขยันแต่ไม่พัฒนาคน หมดเวลากับเรื่องเดิมๆ / ขี้ขลาด ขี้กลัว ไม่ไว้ใจใคร / เมตตาแต่ขาดสติ ใจดีเกินไป  / โหดร้ายใจดำ เก่งแต่ไม่มีเมตตา
  • ปรัชญาในการทำงาน ที่ควรมี คือเมตตาธรรม และ ฆราวาสธรรม 4 ได้แก่
    • สัจจะ = รักษาคำพูด เป็นคนตรง หรือเป้าหมายชัดเจน
    • ทมะ  = พัฒนาไม่ตนเองหยุดยั้ง ภาษาญี่ปุ่น ตรงกับคำว่า Kaizen
    • ขันติ = อดทน มองอะไรที่เป็นด้านบวกด้วยใจจริง
    • จาคะ =  เอาความตระหนี่ออกจากตัวเรา ยิ่งให้ยิ่งได้ ให้ทำบุญกับคนใกล้ตัวก่อนไปทำบุญกับคนอื่น
  • สัตว์ 4 แบบ คน 4 จำพวก
    • หมี (ธาตุดิน) นักคิด
    • หนู (ธาตุน้ำ) นักประสานงาน
    • อินทรี (ธาตุลม) นักวางแผน
    • กระทิง (ธาตุไฟ) นักปฏิบัติ
  • โพชฌงค์ 7 – กระบวนการสู่ความสำเร็จ
    • สติ = ตั้งหลัก เตรียมพร้อม รู้เขารู้เรา สร้างขวัญกำลังใจ ตั้งเป้าหมาย
    • ธัมมวิจยะ = ศึกษายุทธศาสตร์ กำหนดกระบวนการ อย่าหลงข้อมูล อย่าบ้าสถิติ
    • วิริยะ = ขยัน อย่าท้อ อย่าฟุ้งซ่าน อย่าเปลี่ยนแม่ทัพกลางศึก
    • ปิติ = หากสำเร็จ จะเกิดปิติ แต่อย่าหลงลำพอง หากไม่สำเร็จก็อย่าท้อ ตั้งสติใหม่ วางแผนใหม่ อย่าทำลายลูกน้องซึ่งเป็นทรัพยากรของเรา คุยเปิดใจ หรือโสเหล่ (dialogue) บ่อยๆ
    • ปัสสัทธิ = สงบ ระงับใจ
    • สมาธิ = ต่อเนื่อง
    • อุเบกขา = เกิดปัญญา เป็นมืออาชีพ

 

KPI งานวิจัย

31 ม.ค. 57 ไปประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนด KPI ด้านวิจัย เพื่อผลักดันสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) .. ได้ความรู้จากการบรรยายของท่านผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย เลยขอเก็บบันทึกเอาไว้ค่ะ

siriraj

  • ต้องหาให้เจอว่าใครคือ customer งานวิจัย? งานวิจัยต้องตอบโจทย์ความต้องการของ customer ทำให้ customer เข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยนั้น งานวิจัยต้องเป็น customer-oriented research และตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
  • customer อาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยด้านต่างๆ ได้แก่ งานวิจัยเชิงวิชาการ งานวิจัยเชิงพาณิชย์ งานวิจัยเชิงนโยบาย งานวิจัยเพื่อสังคม customer อาจเป็น partner งานวิจัยของเราทั้งในและต่างประเทศ customer อาจเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่เรา ทั้งในและต่างประเทศ
  • customer อาจไม่ใช่คนเดียวกันกับ users / consumers
  • ส่วนคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ buyers / payers / distributors / manufacturers / sponsors / advocators / regulators / stakeholders
  • พึงระลึกเสมอว่า งานวิจัย (research) กว่าจะกลายเป็นนวัตกรรมได้ ต้องอาศัยขบวนการหลายขั้นตอน ทั้ง development, design, engineering และ manufacturing
  • ดัชนีวัด PI (Performance Indicators) แบ่งออกเป็น 1. Leading indicators (วัดกระบวนการ) 2. Lagging indicators (วัดผลผลิต output / ผลลัพธ์ outcome)
  • ผลผลิต (outputs) ซึ่ง customers นำไปใช้ได้โดยตรง ได้แก่ บทความวิจัยตีพิมพ์ สิทธิบัตร ต้นแบบ ฐานข้อมูล sample banks ต่างๆ รวมทั้ง ทรัพยากรมนุษย์ เช่น นักศึกษาบัณฑิตศึกษา นักวิจัย ผู้รับการฝึกอบรม การวัด outputs ต้องมีทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  • ผลลัพธ์ (outcomes) เป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวิชาการในวงกว้าง ทั้งในระดับ short-term outcomes (วัดโดย defined customers) intermediate outcomes (วัดโดย customer’s customers) และ long term  outcomes (วัดโดย society หรือประเทศชาติ) การวัดทำได้ค่อนข้างยาก
  • วิธีการวัดต้อง identify ให้ออก ตาม logic model ของการวิจัย ไม่ว่าจะเป็น basic research หรือ research for industry แต่ละรายการคืออะไรบ้าง นับตั้งแต่ 1. research inputs -> 2. activity -> 3. outputs -> 4. for customers -> 5. short term outcomes -> 6. intermediate outcomes -> 7. long term outcomes

ตัวชี้วัด (KPI) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวลาทำแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน จำเป็นจะต้องตั้งตัวชี้วัดต่างๆเอาไว้คอยวัดผลการดำเนินงาน — และเนื่องจากจำเป็นต้องช่วยคณะทำแผนกลยุทธ์ทางด้าน ICT ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในเรื่อง ICT Excellence แม้จะไม่ค่อยแน่ใจว่าจะวัดความสำเร็จได้อย่างไร แต่ในที่สุด เมื่อได้อ่าน “แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556” เป็นแนวทาง จึงเขียน KPIs ออกมาได้บ้าง แม้จะไม่ถูกต้องตรงตามตำรานัก แต่ก็คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการเป็นสำคัญ .. อาจจะต้องปรับปรุงแก้ไขอีก แต่ขอเอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นการเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ

ตัวชี้วัดผลสำเร็จ Corporate KPIs หลักๆ มีแค่ 3 ข้อ เป็นการวัด
1. ระดับความพร้อมใช้ (service availability) ของระบบ ICT ที่ยอมรับได้
2. ความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อระบบและบริการ ICT โดยรวม
3. ระดับของความรอบรู้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน

กลยุทธ์หลัก มี 4 ข้อ คือ
1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทุกพันธกิจ
2. กำกับดูแล ตรวจสอบ รักษาความมั่นคงและปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. พัฒนาระบบการเรียนรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media, ICT Literacy)เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
4. ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (PIs)

  • ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ข้อที่ 1 : พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    Financial perspective
    1.1 จำนวนงบประมาณที่ลงทุนด้านระบบ โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรสารสนเทศ
    1.2 สัดส่วนจำนวนผู้ปฎิบัติงานด้าน ICT ต่อจำนวนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด
    1.3 สัดส่วนจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อจำนวนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด
    Customer perspective
    1.4 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อระบบและการบริการด้าน ICT ของคณะ
    1.5 ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีต่อระบบและการบริการด้าน ICT ของคณะ
    1.6 อัตราเร็วในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้บริการ (Help Desk Response)
    Internal process perspective
    1.7 จำนวนระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาและให้บริการ
    1.8 จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่นำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน
    1.9 จำนวนทรัพยากรสารสนเทศสำเร็จรูปที่จัดหาและให้บริการ
    1.10 จำนวนเว็บเพจและแฟ้มข้อมูล (rich files) บนเว็บไซต์ทั้ง domain ของคณะ
    1.11 อัตราการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ทั้ง domain ของคณะ
    1.12 จำนวนการเกิดชุมชนออนไลน์ (on-line community) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน
    Learning & growth perspective
    1.13 จำนวนผู้ปฎิบัติงานทางด้าน ICT ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง หรือผ่านการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ
  • ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ข้อที่ 2 : กำกับดูแล ตรวจสอบ รักษาความมั่นคงและปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    Internal process perspective
    2.1 จำนวนครั้งของการเกิด downtime ของระบบ ICT และระยะเวลาในการกู้คืน
    2.2 จำนวนครั้งของการถูกบุกรุก และระดับความปลอดภัยที่ยอมรับได้
  • ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ข้อที่ 3 : พัฒนาระบบการเรียนรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
    Learning & growth perspective
    3.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาความรอบรู้ ICT ของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน
    3.2 จำนวนผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางด้าน ICT
    3.3 อัตราการเข้าถึงและการนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน
  • ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ข้อที่ 4 : ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน
    Learning & growth perspective
    4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรม ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้ ICT ให้แก่ผู้เรียนและปฎิบัติงาน
    4.2 จำนวนผู้เรียนและผู้ปฎิบัติงานที่ผ่านการอบรมเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้ ICT

ดัชนีชี้วัด (KPI) เพื่อการประเมินนักวิจัย

เวลาจะประเมินคุณภาพของนักวิจัยสักคน .. จะทำอย่างไร
มีดัชนีชี้วัด (Key-performance indicators) หลายตัว ซึ่งคงไม่มี metrics อะไรดีที่สุด ต้องใช้วิจารณญานในการเลือกใช้ .. ลองรวบรวมมาจากการอ่านบทความต่างๆ แล้วสรุป (เอาเอง) ได้ดังนี้

  1. จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีค่า impact factor สูง หรือตอนนี้มีดัชนีวัดคุณภาพวารสาร ตัวอื่นๆ ด้วย เช่น SJR (SCImago Journal Rank), SNIP (Source-Normalized Impact per Paper), AI (Article Influence) และ EF (Eigenfactor)
  2. ค่า h index ของนักวิจัยแต่ละคน
  3. mentoring-index เป็นการประยุกต์ใช้ค่า h index โดยคำนึงถึงศักยภาพการทำหน้าที่พี่เลี้ยงของนักวิจัยในกลุ่มด้วย
  4. จำนวนการอ้างอิง (citations)
  5. จำนวนการใช้บทความ (access / article download / online usage)
  6. จำนวนการทำ Social Bookmarks มายังบทความ
  7. ข้อเสนอแนะและคำวิจารณ์ของผู้อ่าน (readers comment online)
  8. จดหมายรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ (แถบอเมริกาใช้กันมาก)
  9. จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัย (grants) และรายได้จากการวิจัย (income)
  10. รางวัลที่นักวิจัยได้รับ

ถ้าสนใจเรื่องนี้แบบนี้ .. ต้องอ่าน http://www.nature.com/news/specials/metrics/index.html

ความสำเร็จของ Social Media วัดได้อย่างไร

14 ธันวาคม 2552

จะขอบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่า บรรยากาศ Social Network ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังคึกคักมาก มากจนกระทั่งหลายคนอดเป็นห่วงไม่ได้ ว่าเราจะมีกฎ-กติกา-มารยาท และข้อควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไรหรือไม่ ก่อนที่จะเลยเถิดไปมากกว่านี้ … และยังคิดเลยไปอีกว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าทำแล้วจะประสบผลสำเร็จ หรือพูดภาษาประกันคุณภาพก็ต้องบอกว่า มี KPI วัดหรือเปล่า มี Return of Investment (ROI) หรือไม่อย่างไร

slide presentation เรื่อง Social Media ROI อธิบายไว้ว่า

Ignore meaningless metrics like “number of followers”.
A successful campaign is about more than just getting attention”

KPI น่าจะเป็นอย่างอื่น เช่น จำนวนคนที่ tweet เกี่ยวกับเรา จำนวนลูกค้าที่พูดถึงเราในแง่ดี จำนวน blog ที่ link มายังเรา หรือทำให้ PageRank เราดีขึ้น จำนวนสิ่งที่ผู้ใช้บริการแนะนำแล้วเรานำมาปฎิบัติ จำนวนนาทีต่อวันที่เราปฏิบัติดี ทำตัวน่ารัก (nice) กับลูกค้า จำนวนลูกค้า ยอดขาย การบริการที่เพิ่มมากขึ้น หรือจำนวนต้นทุนที่เราสามารถลดลงได้ เป็นต้น

ส่วนอีก slide หนึ่ง Social Media Measurement บอกว่า ตัววัดที่สำคัญมี 2 อย่างคือ Influence และ Engagement

เรื่องพวกนี้ หาอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ