Journal & Bibliometric Workshop (ตอน 2)

ศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2553 Journal & Bibliometric Workshop 2010 ที่ สกว. จัดขึ้น ช่วงบ่ายเป็นการบรรยายของคุณ Nobuko Miyairi ซึ่งเป็นอดีตบรรณารักษ์ที่กรุงโตเกียว ปัจจุบันดูแลเรื่อง Bibliometrics ให้บริษัท Thomson .. พูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “The use of citation data as a guide to evaluating research performance” เธออธิบายว่า Science เป็น group activity เป็น collaboration ระหว่างนักวิจัย แถมเดี๋ยวนี้มี collaboration กันขนานใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น paper ในฐานข้อมูล WOS เรื่อง “A second generation human haplotype map of over 3.1 million SNPs” มีผู้แต่งร่วมมากถึง 168 คน จาก 67 สถาบัน 8 ประเทศ (นี่ขนาด paper เดียวนะ !) นอกจากนั้น การอ้างอิง (citation) ยังถือว่าเป็นความร่วมมือแบบ indirect collaboration ด้วยเช่นกัน

แน่นอน การบรรยายของบริษัท Thomson Reuters ทุกครั้ง จะต้องมีการกล่าวขวัญถึงเจ้าพ่อ ISI .. Dr. Eugene Garfield กฎ Bradford’s law และ Garfield’s Law of Concentration ซึ่งอธิบายว่า วารสารจำนวนมากมักมี overlap กันระหว่างสาขาวิชา แต่จะมี core journals อยู่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น .. citation index จะเป็นตัวบ่งบอกว่าวารสารใดเป็น core journals ของสาขานั้นๆ core journals จะเป็นวารสารที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสาขามาก ดังนั้น การที่เราให้ความสนใจวารสารที่เป็น core journals จะทำให้เราอ่านและตีพิมพ์ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น

Bibliometrics คืออะไร ?
มีคำ 2-3 คำ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “การวัด” ได้แก่ Scientometrics, Infometrics, Webometrics, และ Bibliometrics โดยทั่วไป Bibliometrics จะเป็นการวัดและเปรียบเทียบโดยใช้จำนวนผลงานวิจัย (number of publications) และจำนวนการอ้างอิง (citation impact) ค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงต่อหนึ่งบทความ (relative impact) เป็นหลัก และเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการบริหารงานวิจัย

Bibliometric indicators do not choose the conclusion. Set the objective and what to measure, then choose indicators to verify it.

หมายความว่า อย่าด่วนสรุปว่าใครเก่งกว่าใคร โดยใช้การวัด bibliometrics เพียงอย่างเดียว .. ที่จริงแล้วต้องใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน .. คือ peer review (การประเมินเชิงคุณภาพ) และ bibliometrics (การวัดเชิงปริมาณ) และพึงจำไว้เสมอว่า ความเป็นเลิศด้านการวิจัยนั้น เป็นเรื่องของคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ

Goodhart’s Law (1975)

“Once a social or economic indicator or other surrogate measure is made a target for the purpose of conducting social or economic policy and control, then it will lose the
information content that would qualify it to play such a role
.”

ประโยคเด็ดของ Albert Einstein
“Not everything that counts can be counted,
and not everything that can be counted counts.”

ประโยคนี้ก็ดี .. เป้าหมายของวิทยาศาสตร์ คือการค้นพบสิ่งใหม่ ไม่ใช่การชนะรางวัล

[ สไลด์ประกอบการบรรยายของคุณ Nobuko สามารถ download ได้ที่เว็บไซต์ของ สกว. ค่ะ http://www.trf.or.th ]

Journal & Bibliometric Workshop โดย Thomson Reuters

ศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2553 ได้มีโอกาสไปฟังบรรยาย Journal & Bibliometric Workshop 2010 ที่ สกว. จัดขึ้น และมีวิทยากรจากบริษัท Thomson Reuters มาบรรยาย 2 คน ช่วงเช้าคือ Dr.Lim Khee Hiang และช่วงบ่าย Ms. Nobuko Miyairi ผู้ฟังมีแต่ Big Big ในวงการทั้งนั้น เต็มห้องประชุม … เนื้อหาที่บรรยาย ทำให้ได้แนวคิดดีเหมือนกัน เล่าให้ฟังโดยสรุปก็แล้วกันนะ

เรื่องที่1 คือ “Web of Science- using it for Smart Discovery” โดย Dr.Lim Khee Hiang ซึ่งแนะนำ product ของบริษัท Thomson Reuters อย่างครบวงจร ฐานข้อมูล WOS แบบ full option สามารถค้นย้อนหลังไปถึงปี 1900 มากกว่า 110 ปี ! (แต่ในบ้านเรา ที่ สกอ. บอกรับ ค้นย้อนหลังได้แค่ปี 2001 เท่านั้นนะ) มีวารสารรวม 11,488 ชื่อ 250 สาขาวิชา มากกว่า 46 ล้าน records วิธีการค้นข้อมูลปริมาณมหาศาลแบบนี้ Dr. Khee ใช้สโลแกนว่า “stop searching, start discovering” หมายถึง ถ้าจะค้นให้มีประสิทธิภาพ ต้องไม่ใช้คำค้น (keywords) แต่ใช้ citations แทน .. คือดู cited references, times cited และ related records สำหรับวิธีการค้นมีทั้ง citation search, citation reports และ citation map (ซึ่งใช้หลักการของ visualization)

ใน slide ที่ Dr. Khee เตรียมมา เป็นตัวอย่างของการค้นฐานข้อมูล web of science ด้วยคำว่า Thailand เนื่องจากย้อนหลังไปได้ถึง 110 ปี (เราค้นเองคงไม่ได้) ได้คำตอบออกมา = 57,623 records .. ไม่เบาเหมือนกันนะประเทศไทย

ถ้าจะพูดถึงประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิดของ citation index ก็คงต้องอ้างอิงบทความของผู้ก่อตั้ง ISI นั่นคือ Dr. Eugene Garfield ซึ่งเป็นกูรูเรื่องนี้มานานกว่า 50 ปี (ก่อนที่ ISI จะถูกบริษัท Thomson Reuters ซื้อไป) … Garfield, E. “Citation indexes for science: A new dimension in documentation through association of ideas.” Science, 122 (3159), p.108-111, July 1955.

วิธีการคัดเลือกวารสารเข้าฐานข้อมูล Web of Science ซึ่งมหาโหด ยังคงยึดหลักการดั้งเดิม คือ Bradford’s Law นั้นคือ เชื่อว่า Small number of journals publish the bulk of
significant scientific results. (เป็นคำอธิบายว่าทำไม Web of Science สาขาวิทยาศาสตร์ จึงมีวารสารเพียงแค่ 7,000 กว่าชื่อเท่านั้น) ส่วนกฎเหล็กในการคัดเลือกวารสาร มี 4 ข้อ คือ

  1. Basic Journal Publishing Standards
    • Timeliness of publications
    • Editorial Conventions
    • English Language Bibliographic Information
    • Peer Review
  2. Editorial Content
  3. International Diversity of Authorship
  4. Citation Analysis

นอกจาก Web of Science แล้วยังพูดถึง products อีก 3 ตัว คือ EndNoteWeb ช่วยในการจัดการบรรณานุกรมเวลาเตรียมเขียนบทความ Journal Citation Reports (JCR) ช่วยในการเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ และ ResearcherID ซึ่งเป็น Social network สำหรับนักวิจัย เป็นการเพิ่ม visibility และเป็นหนทางของการเพิ่มจำนวน citations … ทำแบบครบวงจรเลย

[ สไลด์ประกอบการบรรยายของ Dr. Khee สามารถ download ได้ที่เว็บไซต์ของ สกว. ค่ะ http://www.trf.or.th ]