ริมเจ้าพระยารีเสริ์ชฟอรั่ม (ตอน 2)

  • รายการต่อมา ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้นำเสนอ Overall Performance ของมหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of Malaya, National University of Singapore, Osaka University และ University of Wisconsin โดยใช้ฐานข้อมูล SciVal ของ Elsevier เปรียบเทียบเป็นรายสาขา เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ
  • ข้อมูลที่นำเสนอ ได้วิเคราะห์ค่า h index ของแต่ละสถาบัน ค่า SNIP (Source-normalized Impact per Page) ซึ่งเป็นดัชนีวัดคุณภาพของวารสารแบบใหม่ ตามสไตล์ของ Elsevier แสดงกราฟเปรียบเทียบผลงานวิจัยของแต่ละสถาบันว่าตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพดีแค่ไหน โดยวัดจำนวนวารสารที่อยู่ใน TOP 10% SNIP, TOP 25% SNIP ของแต่ละสาขา เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลก
  • ดูๆไปแล้ว ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานของมหิดลยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และที่น่าเป็นห่วงมากคือ computer science ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี อาจารย์ประเวศ กล่าวว่า ประเทศไทย ตราบใดที่ basic science ไม่แข็ง จะทำ engineering ระดับยากๆ คงไม่ได้ ต้องเสียเงินจ้าง consultant จากต่างประเทศ มาแก้ปัญหาอยู่ร่ำไป …
  • ในระยะหลังๆมาเลเซียเติบโตอย่างก้าวกระโดด แซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว เห็นว่างบประมาณวิจัยของประเทศนี้ใช้มากถึง 1% ของ GDP
  • เป็นที่น่าสังเกตว่า สาขาวิชาที่มหิดลสามารถขึ้นไปติดอันดับ TOP ของโลกได้ คือ parasitology หรือโรคเขตร้อน

  • ก่อนจบการประชุม ได้ข้อสรุปว่า ทรัพยากรของเรามีมาก เราลงทุนไปเยอะโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ แต่ไม่รู้ว่าทำไมเราจึงไม่สามารถเก็บเกี่ยวเอาผลประโยชน์ออกมาได้ดีพอ คงต้องพยายามหาทางกันต่อไป ต้องแก้ปัญหาโครงสร้างแนวดิ่ง ต้องสร้างเครือข่ายแบบ virtual network ต้องหาเรื่องที่มี potential มาพูดคุยกัน คือมีทั้ง team และ theme ..
  • อาจารย์ประเวศเน้นย้ำหลายครั้งว่า ควรหาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน One From Many: VISA and the Rise of Chaordic Organization ของ Dee Hock หรือจะอ่านที่แปลเป็นภาษาไทยก็ได้ ชื่อหนังสือ “จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง” (อาจารย์เขียนคำนิยมให้) .. เป็นเรื่องของ Dee Hock เด็กยากจนที่ไม่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอคนแรกของ VISA ธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีธนาคารและบริษัททั่วโลกเข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ทางราบ ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร เป็นองค์กรที่เรียกว่า Chaordic ซึ่งมาจากคำว่า Chaos (โกลาหล ไร้ระเบียบ) บวกกับคำว่า Order (มีระเบียบ) เมื่อไม่มีใครควบคุมเริ่มต้นอาจโกลาหล แต่ในที่สุดมันจะสามารถจัดระเบียบลงตัวได้เอง เป็น Self-organization … ซึ่งเป็นวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง

คงต้องหามาอ่านบ้างแล้วเรา …

เรื่องเล่าจาก ริมเจ้าพระยารีเสริ์ชฟอรั่ม (ตอน 1)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2555 ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมประชุม “ริมเจ้าพระยารีเสริ์ชฟอรั่ม” (Rim Chaophraya Research Forum) ครั้งที่ 4 ที่ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 8 โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลสุดหรูแห่งใหม่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนพื้นที่สถานีรถไฟธนบุรี(เดิม)

งานประชุมนี้ ทางมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจัดขึ้น เพื่อเป็นวงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายการวิจัยในรูปแบบไม่เป็นทางการ … สาเหตุที่ได้ไปครั้งนี้เพราะรองคณบดีฝ่ายวิจัย (ศ.ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น) ไปต่างประเทศ และมอบหมายให้เข้าประชุมแทน เลยมีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ค่ะ


(ภาพประกอบ ถ่ายจากหน้าต่าง ห้องปิ่นแกล้า ชั้น 8 มองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา และสะพานอรุณอมรินทร์ สวยมาก)

  • เรื่องแรก เป็นความประทับใจส่วนตัว เพราะได้มีโอกาสร่วมโต๊ะทานอาหารกลางวัน แบบง่ายๆ สบายๆ กับปรมาจารย์ด้านนโยบายวิจัยระดับประเทศ ได้ฟังท่านศาสตราจารย์ นพ. ประเวศ วะสี (ตัวเป็นๆ) พูดคุยเรื่องราวในอดีตให้ฟัง ได้ทั้งความรู้ แถมตลกขบขันอีกต่างหาก (อาจารย์ในวัย 81 ปี ดูหนุ่มกว่าที่เห็นในทีวีและหนังสือพิมพ์) .. ประทับใจจนต้องรีบกลับมาอ่านหนังสือชีวประวัติของอาจารย์ เล่มที่วางบนโต๊ะทำงานมานานแล้ว ชื่อว่า “บนเส้นทางชีวิต” และจะพยายามอ่านให้จบ
  • วงสนทนาโต๊ะกลมวันนั้น ประกอบด้วยท่าน ศ.นพ. ประเวศ วะสี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ จากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารและอาจารย์จากหลากหลายคณะ (เท่าที่รู้จักและจำได้) มี ศ.คลินิก นพ. อุดม คชินทร (คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์ ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศ.ดร.ศรีสิน คูสมิทธิ์ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง รศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล รศ.ทพ.ดร.นพคุณ วงษ์สวรรค์ รศ.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ นพ. อัครินทร์ นิมมานนิตย์ และ ดร. นริศร กิติยานันท์
  • ศ.นพ.สุทัศน์ ได้นำเสนอข้อมูลที่ท่านเตรียมมาในประเด็น “ศักยภาพนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยมหิดล” และที่รู้ๆกันอยู่ว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเน้นทางการแพทย์ ดังนั้น เมื่อมองย้อนหลังไป 5 ปี โดยใช้การค้นผลงานวิจัยจากฐานข้อมูล Scopus จะพบว่า มหิดลมีงานวิจัยด้านการแพทย์ที่น่าสนใจหลักๆ คือ stem cells, proteomics, pharmacogenomics, emerging diseases, metabolic diseases และ cancer
  • เรื่องที่น่าสนใจและนำมาเสนอก่อน คืองานวิจัยเกี่ยวกับ Pluripotent (iPS) Stem Cells ซึ่งคนดังระดับโลกในเรื่องนี้น่าจะเป็นนักวิจัยชาวญี่ปุ่น Shinya Yamanaka ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ Center for iPS Cell Research and Application (CiRA) ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ท่าทางใกล้จะได้รับรางวัลโนเบลแล้ว แถมยังได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากรัฐบาลและเอกชน มากถึง 1 billion US$ หรืออะไรทำนองนั้น
  • หากพิจารณาถึง Mahidol University Stem Cell Research Network ขณะนี้มีอาจารย์จากหลายคณะ ทำวิจัยเรื่องนี้อยู่มากถึงกว่า 20 คน ได้แก่ กลุ่มของศิริราช (ศ.นพ.สุรพล อิสรไกรศีล ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ รศ.ดร.นพ.อดิศักดิ์ วงศ์ขจรศิลป์ ภาควิชาเภสัชวิทยา) กลุ่มของรามาธิบดี (ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู ภาควิชาอายุรศาสตร์) กลุ่มของคณะวิทยาศาสตร์ (ศ.ดร.ยินดี กิติยานันท์ ศ.ดร.ชุมพล ผลประมูล ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ดร.พญ.พิมทิพย์ สังวรินทะ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ) กลุ่มสถาบันวิจัยชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ รศ.ดร.วิภาวรรณ ตั้งนิพนธ์ ดร.มล.เสาวรส สวัสดิวัฒน์ น.สพ.ดร.นริศร กิติยานันท์) คณะทันตแพทย์ (ดร.หทัยทิพย์ ศรีธนอุดมชัย) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (น.สพ.ดร.เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน และ สพ.ญ.ดร.ศศิธร รุ่งอรุณเลิศ) คณะสาธารณสุขศาสตร์ (ดร.ชญาภรณ์ ศรัณพฤฒิ) และคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น
  • นักวิจัยเรื่อง iPS Cells ในต่างประเทศ ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายของมหิดล ได้แก่ Peter Andrews (UK), Phillpe LeBouch (France), Andras Dinnyes (Hungary), Poul Maddox-Hyttel (Denmark)
  • ที่ประชุม discuss กันอย่างกว้างขวาง สรุปว่า อันที่จริงงานวิจัย Stem Cells บ้านเรา ยังอีกไกล ต้องตั้งโจทย์ให้ชัด และทำวิจัยในแนวที่เป็น niche ของเราเอง จะทำเป็น products เลยคงยังไม่ได้ อาจขายเป็น patent ไปก่อน ต้องมี information เกี่ยวกับเครือข่ายที่มากและละเอียดพอ เวลาประชุมเครือข่ายต้องเอาผู้บริหารมาร่วมด้วย เพื่อให้การสนับสนุนด้านนโยบาย รับรู้และให้กำลังใจ นักวิจัยที่ทำสำเร็จแล้วมีเพียงไม่กี่ท่าน แต่สำหรับนักวิจัยรุ่นเล็กๆ ยังต้องไปอีกไกล เรามีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมาก เป็นทุนทางปัญญา แต่ต้องหาทางสร้างประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ ระบบบริหารในรูปแบบสถาบันซึ่งเป็นแนวดิ่งคงใช้ไม่ได้ บ้านเรามักมีปัญหาที่ระบบ (และบางครั้ง ทำลายศักยภาพของคนเก่ง) การสร้างกลุ่มวิจัยต้องทำในแนวนอน เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่มีผู้นำหลายๆคนและเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มหาวิทยาลัยควรทำงานร่วมกับกระทรวง ทำแผนขนาดใหญ่ เป็นแผน stem cell แห่งชาติเพื่อให้มีผลกระทบในระดับนโยบายของประเทศและเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องทำแผนขนาดใหญ่จึงจะหาแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ได้ กระทรวงเขียนแผนเก่ง ส่วนมหาวิทยาลัยทำวิจัยทางเทคนิคเก่ง ต้องร่วมมือกัน ..
  • [ จบตอนที่ 1 ]
    อ่านต่อ … เรื่องเล่าจาก ริมเจ้าพระยารีเสริ์ชฟอรั่ม (ตอน 2)