All about “Information Science”

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของการสอบวัดคุณสมบัติของการเรียนหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ … เลยลองค้นข้อมูลเล่นๆ ว่าในโลกนี้ เขาพูดถึง “Information Science” กันว่าอย่างไรบ้าง … อะไรคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของศาสตร์ด้านนี้

  • Information science ความหมายตามพจนานุกรม คือ an interdisciplinary science primarily concerned with the analysis, collection, classification, manipulation, storage, retrieval and dissemination of information
  • รายละเอียดเกี่ยวกับ Information Science หาอ่านได้ใน วิกิพีเดีย
  • “Knowledge Map of Information Science” ของ Chaim Zins ลงในวารสาร Journal of the American Society for Information Science and Technology ปี 2007 ซึ่งจะมีด้วยกัน 4 บทความ เป็นบทความที่มีความสำคัญมากสำหรับจุดยืนของสาขานี้ และควรต้องอ่าน
  • ปัจจุบัน สถาบันการศึกษาทางด้านนี้แถวยุโรปและอเมริกา จำนวนกว่า 30 แห่ง ได้รวมตัวผลึกกำลังกันเป็นเครือข่าย เรียกว่า I-Schools หรือ Schools of Information แถวบ้านเราก็มี ชื่อว่า CISAP (Consortium of iSchools Asia Pacific)

ว่ากันว่า ศาสตร์นี้ ไม่ได้เน้นการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ (Discovery) สักเท่าไหร่ แต่เน้นที่การพัฒนา (Development) มากกว่า ลองอ่านบทความนี้ดูก็แล้ววกัน .. What has information science contributed to the world?
และบทความปี 2010 เรื่อง New roles for information professionals in today’s fast changing environment

อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว ในโลกอนาคต เราว่าอาชีพ Information Professional ไม่น่าจะจำเป็นต้องมีมากนัก ยกเว้นจะเก่งและรู้ลึกจริงๆ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ก็น่าจะทำตัวเป็น Information Professional ได้ด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง .. โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ นะ (เราว่า)

นักวิจัยคนดัง ของวงการ Information Science

รวมรายชื่อคนดังในวงการ Information Science เป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎี มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ และได้รับการอ้างอิงถึง ในระดับแนวหน้าของโลกในปัจจุบัน

  1. Prof. Birger Hjorland
    จาก Department of Information Studies, Royal School of Library and Information Science ประเทศเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้าน Knowledge Organization เจ้าของทฤษฎี Hjorland’s theory of subjects and subject analysis
  2. Prof. Brenda Dervin
    จาก School of Communication, Ohio State University ผู้เชี่ยวชาญด้าน information seeking and information use เจ้าของทฤษฎี Dervin’s sense-making
  3. Prof. (Emeritus) Carol Kuhlthau
    จาก School of Communication, Information and Library Studies, Rutgers University เจ้าของทฤษฎี Information Search Process (ISP)
  4. Prof. Gary Marchionini
    จาก School of Information and Library Science, University of North Carolina at Chapel Hill ผู้เชี่ยวชาญด้าน human-computer interaction, information retrieval, digital libraries, information policy เป็นเจ้าของทฤษฎี Marchionini’s information seeking In Electronic Environments
  5. Prof. Peter Hernon
    จาก Graduate School of Library and Information Science, Simmons College ผู้เชี่ยวชาญด้าน government information, public policy, evaluation of library services, research methods, and academic libraries
  6. Prof. (Emeritus) Marcia J. Bates
    จาก Graduate School of Education and Information Studies, University of California, Los Angeles ผู้เชี่ยวชาญด้าน information seeking behavior เจ้าของทฤษฎี Bates’s berry picking
  7. Prof. Peter Ingwersen
    จาก Department of Information Studies, Royal School of Library and Information Science ประเทศเดนมาร์ก เจ้าของทฤษฎี cognitive information retrieval (IR) model, interactive information retrieval (IIR) model และ Ingwersen’s theory of knowledge structures
  8. Prof. (Emeritus) Tefko Saracevic
    จาก School of Communication, Information and Library Studies, Rutgers, the State University of New Jersey ผู้เชี่ยวชาญด้าน research, education and service in information science
  9. Dr. Eugene Garfield
    President and Editor-in-Chief of The Scientist/Founder and Chairman Emeritus of the Institute of Scientific Information เจ้าของทฤษฎี Citation Indexing Theory
  10. Prof. (Emeritus) Thomas D. Wilson / Tom Wilson
    จาก Department of Information Studies, University of Sheffield ผู้เชี่ยวชาญด้าน information management และ information seeking behaviour เจ้าของทฤษฎี Wilson’s information seeking / information process และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ InformationR.net
  11. Prof. David Ellis
    จาก Department of Information Studies, Aberystwyth University ผู้เชี่ยวชาญด้าน Information and knowledge management, information needs, user studies เจ้าของทฤษฎี Ellis’s Information seeking behaviour model
  12. Prof. Nicholas J. Belkin
    จาก School of Communication, Information and Library Studies, Rutgers University ผู้เชี่ยวชาญด้าน information retrieval, information-seeking behavior เจ้าของทฤษฎี Belkin’s ASK (Anomalous States of Knowledge)
  13. Prof. Raya Fidel
    จาก The Information School, University of Washington เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน information seeking behavior, information storage and retrieval, and knowledge organization
  14. Dr. Maurice B. Line (1928-2010)
    University Librarian คนแรกของโลก ผู้ริเริ่มก่อตั้ง British Library, บรรณาธิการวารสาร Alexandria The Journal of National and International Library and Information Issues (ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2010)
  15. Prof. (Emeritus) Michael Buckland
    Co-Director of the Electronic Cultural Atlas Initiative and Emeritus Professor in the School of Information, University of California, Berkeley