ปี 2008 มหาวิทยาลัยไทย สู้มาเลเซียไม่ได้ ถ้าใช้เกณฑ์ QS

มหาวิทยาลัยไทย สู้มาเลเซียไม่ได้ ในปี 2008 ถ้าใช้เกณฑ์ QS เรื่องนี้อธิบายด้วยผลการจัดอันดับเลยก็แล้วกัน มหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอยู่ใน 500 อันดับแรก มี 5 มหาวิทยาลัย ส่วนของมาเลเซียก็มี 5 มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 166
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 251
  3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 400
  4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับ > 400
  5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับ > 400

มหาวิทยาลัยของมาเลเซีย ได้แก่

  1. Universiti Malaya (UM) อันดับที่ 230
  2. Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) อันดับที่ 250
  3. Universiti Sains Malaysia (USM) อันดับที่ 313
  4. Universiti Teknologi Malaysia (UTM) อันดับที่ 320
  5. Universiti Putra Malaysia (UPM) อันดับที่ 345

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 ได้มีโอกาสฟังบรรยาย 2 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย
เรื่องที่ 1 คือ Implementation of Malaysian Research University Programme – The Experience of University of Malaya โดยอธิการบดีและรองอธิการบดี Prof. Modh Jamil Maah และ Prof. Muhamad Rasat Muhamad

เรื่องที่ 2 คือ Malaysian National Higher Education Strategic Plan โดย Prof. Dato Ir’ Dr. Radin Umar Radin Sohadi ซึ่งเป็น Director General ของ Ministry of Higher Education … เล่าว่า Ranking System แม้จะมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ก็มีประโยชน์ในเรื่องการสร้าง Brand การ Promote มหาวิทยาลัย และสร้างการยอมรับในชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยได้ มาเลเซียได้เริ่มแผน National Higher Eduation Strategic Plan (NHESP) ตั้งแต่ปี 2007 ประกอบด้วย 7 Strategic Trusts และ 21 Critical Agenda Programmes (CAPs) โดยเป็นแผนที่จะต้องทำให้สำเร็จในปี 2010 ให้ได้อย่างน้อย 50%
Strategic Trusts ทั้ง 7 ได้แก่

  1. Widening access and increase inquity
  2. Improving the quality of teaching
  3. Enhancing research and innovation
  4. Strengthening of higher education institutions (HEIs)
  5. Intensifying internationalisation
  6. Enculturation of lifelong learning
  7. Reinforcing delivery systems of MoHE

ส่วน Critical Agenda Programmes (CAPs) ทั้ง 21 initiatives ได้แก่

  • Internationalisation, R&D, Industry & Academic Relationship, PTPTN (Edu Funding)
  • Student development, Human Capital Development Fund, Student Employability
  • Academia, Teaching & Learning
  • APEX Univ, Autonomy Governance, Polytechs & Comm. Clgs., Private HEIs, MoE Transformation, Audit
  • e-Learning, Centres of Excellence, MY BRAIN 15, Leadership, Lifelong Learning, TopBusiness Schools

ไม่ให้ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน เพราะปลายทางเหมือนกัน

ถ่ายวีดิโอเอาไว้ ด้วยกล้องมือถือ Flip คุณภาพแย่ตามเคย แต่เนื้อหาดีมีประโยชน์มาก ความยาวเรื่องละเกือบ 30 นาที ดูแล้วจะเห็นว่าประเทศมาเลเซียไปไกลกว่าเราหลายก้าว … อยากให้ผู้บริหาร สกอ. และผู้บริหารมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติทั้ง 9 แห่งของประเทศไทย ได้ฟังบ้างจังเลย

รายงานผลการเข้าร่วมการประชุม 5th QS-APPLE ที่ประเทศมาเลเซีย

27 พฤศจิกายน 2552

เพื่อให้การเสียเงินและเสียเวลาเดินทางไปเข้าร่วมประชุม 5th QS-APPLE ครั้งนี้ไม่สูญเปล่า จึงขอบันทึกเรื่องราวที่ได้จากการไปครั้งนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

รายการบรรยายที่ไปเลือกเข้าฟัง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง สรุปหัวข้อได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : เป็นเรื่อง Social Media กับการประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย

  1. Integrating the social web into your marketing strategy
  2. Promoting education in a 21st century world: communicating with a new generation of digitally empowered young minds
  3. Here, there and everywhere: Facebook and Twitter – social networking for universities
  4. International marketing – a private sector perspective
  5. Cell phone technology and second language acquisition in Japan

กลุ่มที่ 2 : เป็นการบรรยายของบรรดา Best Practices มหาวิทยาลัยระดับ World Class

  1. Building World Class Universities : The UNSW Story
  2. Building World Class Universities through Globalisation : POSTECH Experience
  3. Using Rankings to Drive Internal Quality Improvements

กลุ่มที่ 3 : เป็นเรื่องการตีพิมพ์

  1. “Publish or Perish” in the new 21st century university
  2. Measuring the quality of journals: An islamic perspective


กลุ่มที่ 4 : เป็นเรื่องกรอบคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ

  1. The Malaysian qualifications framework as a basis for Malaysian higher education quality systems
  2. Quality assurance and accreditation: A Malaysian private higher education perspective
  3. Experiences from a public and fledging higher education institution in quality assurance and accreditation
  4. ASEAN qualifications framework

กลุ่มที่ 5 : เป็นเรื่องการสร้าง Brand

  1. The role of branding in higher education
  2. The challenge of building sustainable, future-focused brands

กลุ่มที่ 6 : เป็นเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

  1. Implemenation of Malaysian research university programme – the experience of University of Malaya
  2. Malaysian National Higher Education Strategic Plan

จะทยอยเล่าทีละกลุ่มนะคะ …. กลุ่มที่ 6 ฟังแล้วบอกได้คำเดียวว่า เห็นเสือเหลืองมาเลเซียทำงานแล้ว ประเทศไทยคงจะต้องหนาวแล้วล่ะ ++
[ .. ชมภาพถ่ายเล็กๆน้อยๆ ควันหลงจากงานนี้ค่ะ … ]

เตรียมตัวไปประชุม QS-APPLE ครั้งที่ 5 ที่มาเลเซีย

19 พฤศจิกายน 2552

เตรียมตัวไปร่วมการประชุม 5th QS-APPLE QS Asia Pacific Professional Leaders in Education ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2552 โดยจะออกเดินทางไปกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย คณะ สถาบันต่างๆ จำนวน 50 คน ในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 22 นี้

ยกทัพกันไปมากขนาดนี้ นัยว่่าเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน QS-APPLE ครั้งที่ 6 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาในปีหน้า และเผื่อจะได้ฟังบรรยาย ชมนิทรรศการ และพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการอุดมศึกษา กับผู้มาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเอเซียแฟซิฟิก 45 ประเทศ กว่า 700 คน งานนี้จัดโดย University of Malaysia และ Universiti Kebangsaan Malaysia (National University of Malaysia) ร่วมกับบริษัท QS Asia Quacquarelli Symonds Pte Ltd ซึ่งเป็นสาขาของ QS Quacquarelli Symonds บริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัย World University Rankings และ Asian University Rankings ที่กรุงลอนดอน

คณะทัวร์จะมีการไปดูงานที่มหาวิทยาลัย 3 แห่ง คือ Universiti Kebangsaan Malaysia (National University of Malaysia), International Medical University และ University of Malaysia

ที่จริงดูรายการแล้ว ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับตัวเองซักเท่าไหร่ (ส่งไปทำไมก็ไม่รู้) .. แต่ไหนๆ ก็จะไปแล้ว ก็เลยพยายามคุ้ยดูว่า จะเข้าฟังรายการไหนดี เตรียมตัวโดยดูจากเว็บพบว่า งานนี้จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur Convention Centre ศูนย์ประชุมและจัดนิทรรศการสุดหรู ที่อยู่ติดกับตึกแฝด Petronas Twin Towers นั่นแหละ รายการเด็ดสุด เห็นจะเป็น “QS Role in Supporting Asian Higher Education” ของ Mr. Nunzio Quacquarelli เจ้าของบริษัท QS Quacquarelli Symonds Ltd นั่นแหละ จะได้เจอตัวจริงเสียงจริงกันล่ะคราวนี้

วันที่ 24 คงไปฟัง Track 4 (11.00 น.) เรื่อง Integrating the Social Web into your Marketing Strategy ของ Brad Ward จากบริษัท Blue Fuego ตามด้วย Promoting Education in a 21st Century World: communicating with a new generation of digitally empowered young minds ของ Jayles Yeoh จาก Limkokwing University of Creative Technology

(14.00 น.) ไปฟัง Track 3 เรื่อง Here, There and Everywhere: Facebook and Twitter – Social Networking for Universties โดย Anne Bartlett-Bragg จากบริษัท Headshift Australasia และเป็นอาจารย์ที่คณะศึกษาศาสตร์ University of Technology, Sydney ดูท่าจะเป็นคนดังในวงการ Social Media ของออสเตรเลีย ว่าแล้วก็ follow Slideshare ของคุณ Anne ซะเลย

วันที่ 25 (9.00 น.) ฟัง Track 6 มุมมองของเจ้าภาพมาเลย์ เรื่องการตีพิมพ์ Publish or Perish in the New 21st Century University และ Measuring the quality of Journals: an Islamic perspective

(14.00 น.) ไม่ค่อยมีอะไรที่อยากฟังเลยเอาอันนี้ก็แล้วกัน Track 5 เรื่อง ASEAN Qualifications Framework โดย CEO ของ Malaysian Qualifications Agency เพราะบ้านเรากำลังมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อยู่เหมือนกัน

วันที่ 26 (9.00 น.) ฟัง Track 5 เรื่อง Implementation of Malaysian Research University Programme – The Experience of University of Malaya เพราะดูไปน่าจะเหมือนมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โครงการไทยเข็มแข็ง SP2 ของเรา

(14.00 น.) ฟัง QS World University Rankings: Five Years On ของ Ben Sowter (เจ้าเก่า) และ What’s the Use of University Rankings? โดย Prof. จาก City University of Hong Kong

พอแล้วเนอะ … เดี๋ยวฟังไม่ทัน แต่กะว่าจะทดลองทำตัวเป็น Citizen Reporter ซะหน่อย อุปกรณ์ที่จะพกไปด้วย ได้แก่ Fujitsu Lifebook, กล้อง Olympus, Flip Video และ O2 Atom (เพื่อนยาก)