สรุปความ จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554

  • แผนพัฒนาฯ 11 ใช้แนวคิดที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ
  • วิสัยทัศน์ ประเทศไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า คือ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี 6 ประการ คือ
    1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
    2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
    3. ยุทธศาสตร์ความเข็มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
    4. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
    5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
    6. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
  • ปัจจัยแวดล้อมและความสามารถในการแข่งขันปัจจุบันของไทย โดยสถาบันการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ทั้งสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) และการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก (WOrld Economic Forum : WEF) มีข้อสรุปตรงกันว่า ประเทศไทยยังมีความอ่อนแอด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยตัวชี้วัดหลักด้านการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา จำนวนสิทธิบัตรและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ยังเป็นข้อจำกัดต่อการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศโดยรวม
  • นอกจากนี้ หน่วยงานต่างๆ ภายใต้ระบบวิจัยของไทย ยังขาดการบูรณาการในการทำงานระหว่างกัน รวมทั้งขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเชื่อมโยงการวิจัยระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน และการจัดการความเสียง ตลอดจนการจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาในเชิงพาณิชย์ยังไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เท่าที่ควร
  • แนวทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ให้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่
    • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ระบบการให้สิ่งจูงใจ จัดตั้งกองทุนร่วมภาครัฐและเอกชน
    • ส่งเสริมโครงการลงทุนวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ ในสาขาที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
    • ปรับระบบบริหารจัดการ มีการประสานและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีบูรณาการ
    • เร่งพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศ ศูนย์บ่มเพาะ สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยเฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์ ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สนับสนุนให้ภาคเอกชนและนักลงทุนต่างประเทศ จัดตั้งศูนย์วิจัยในประเทศไทย นำข้อมูลภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
    • ส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และชุมชน
    • พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ บูรณาการระหว่างการเรียนรู้และการทำงานจริงในสถานประกอบการ
    • สนับสนุนนักเรียนทุน ผู้มีความสามารถพิเศษ พัฒนาครูวิทยาศาสตร์ รูปแบบและสื่อการเรียนการสนอ สร้างความตระหนักของประชาชนให้เรียนรู้ คิด และทำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง
  • ตามแผนนี้ ให้ความสำคัญต่อประชาคมอาเซียนมาก .. วิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ตามกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 7 สาขา คือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม ช่างสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการรับรอง สาขาบริการท่องเที่ยว

อ้างอิง : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/152/1.PDF

สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า

หากกำลังจะวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรในระยะ 5 ปีข้างหน้า เรื่องที่ควรใส่ใจ เพราะอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ น่าจะเป็นเรื่องพวกนี้

  • เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนศูนย์อำนาจมาที่ประเทศแถบเอเซียมากขึ้น ภูมิภาคเอเซียเพิ่มบทบาทบนเวทีโลก การใช้ประโยชน์จากการเป็นภาคีในประชาคมอาเซียน ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ลดการพึ่งพิงซีกโลกตะวันตก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (ปัญหาคือ ประเทศไทยไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของชาวโลก ไม่สามารถเป็น Hub ของเพื่อนบ้านได้ มีปัญหาด้านภาษา)
  • แนวคิดเรื่อง sustainable capitalism การวิเคราะห์ทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ ความเชื่อมโยงของ 6 Capitals of the Nation ได้แก่ ทุนธรรมชาติ (Natural Capital) ทุนกายภาพ (Physical Capital) ทุนสังคม (Social Capital) ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนการเงิน (Financial Capital) ทุนวัฒนธรรม (Cultural Capital)
  • เศรษฐกิจยุคใหม่ New Economy เศรษฐกิจฐานความรู้ Knowledge Economy
  • เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy (สร้างธุรกิจใหม่ที่ใช้ศักยภาพที่แฝงในสังคมไทย)
  • เศรษฐกิจสีเขียว (โอกาสบนวิกฤติภาวะโลกร้อน) เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy ) THINK GREEN ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด ปัญหาภัยคุกคามจากสภาวะโลกร้อน กลไกการพัฒนาที่สะอาด (โครงการ CDM – Clean Development Machanism) การพัฒนาตลาดการซื้อขาย Carbon Credit ( Reduction Emission) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบ Low Carbon / Green Carbon
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ภาวะอากาศแปรปรวน ภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน ระบบนิเวศ การกัดเซาะชายฝั่ง น้ำท่วม ภัยแล้ง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การขาดแคลนน้ำและพื้นที่การเกษตร วิกฤติความมั่นคงทางด้านอาหาร การสร้างความได้เปรียบด้านสินค้าภาคเกษตร ครัวโลก แหล่งท่องเที่ยว การสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ ธุรกิจการบริการ ระบบโลจิติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
  • ความแตกแยกภายในประเทศ ความขัดแย้งทางการเมือง สังคมไทยอ่อนแอ ไร้ระเบียบ การสร้างความเอื้ออาทร สมานฉันท์ สร้างโอกาสที่เป็นธรรม สร้างพลังทางสังคม สร้างสัญญาประชาคมใหม่เพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความสมดุล สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน การสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ
  • การสร้างค่านิยมจิตสำนึกสาธารณะให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างยั่งยืน สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กลไกการบริหารของรัฐ ระบบรัฐสวัสดิการ
  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สิทธิบัตร
  • สังคมผู้สูงอายุ ระบบสาธารณสุข การแพทย์ สุขภาพอนามัย
  • ระบบการศึกษาเพื่อรองรับเขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA การเรียนรู้ตลอดชีวิต

หมายเหตุ : ไม่ได้ว่าเอง แต่อ้างอิงมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/article/plan1-11.pdf