การสร้างมหาวิทยาลัยระดับ World Class : กรณีศึกษามหาวิทยาลัย UNSW

23 พฤศจิกายน 2552
Plenary Lecture ของงาน 5thQS-APPLE : Building World Class Universities : The UNSW Story บรรยายโดย Professor Fred Hilmer อธิการบดีมหาวิทยาลัย UNSW ประเทศออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัย University of New South Wales เป็นมหาวิทยาลัย Top-50 จากการจัดอันดับของ Times Higher Education QS World University Rangkings โดยอยู่ในอันดับที่ 47 ประจำปี 2009 อย่างไรก็ตาม การที่จะเป็น World Class University ไม่ได้เป็นเพราะได้รับการจัดอันดับ หรืออันดับที่ได้รับนั้น ไม่ได้เป็นตัวบอกเราว่าคือมหาวิทยาลัยชั้นนำ แต่เป็นเพราะองค์ประกอบอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ที่ดำเนินมาตลอดระยะเวลา 60 ปีของการก่อตั้ง ดังนี้

1. ระยะเริ่มก่อตั้ง (Genesis)
เริ่มในปี ค.ศ. 1946 ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยนั้น เน้นการสอน Science, Technology, Industry เป็น Special focus การฟื้นฟูประเทศหลังสงครามต้องการพัฒนาคนที่มีทักษะเฉพาะทาง และในขณะนั้นมหาวิทยาลัย UNSW มี Essential value คือ Accessibilty เปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน ให้สามารถเรียน part time ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น full time (ตัวท่านเองหลังจากจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซีดนีย์ มีความสนใจจะเรียนต่อด้าน Company Law, Tax แต่ในสมัยนั้นไม่มีมหาวิทยาลัยใดในออสเตรเลียที่สอนทางด้านนี้ จึงจำเป็นต้องเดินทางไปเรียนที่อเมริกา)

2. ระยะ 60 ปีที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัย UNSW
– ปี 1950 เน้นทางด้าน Science, Technology, Engineering, Built Environment and Creative Arts
– ปี 1954 เน้นทางด้าน Humanities, Social Science
– ปี 1957 เน้นทางด้าน Commerce
– ปี 1960 เน้นทางด้าน Medicine
– ปี 1964 เน้นทางด้าน Law
– ปี 1971 เน้นทางด้าน ADFA (Australian Defence Force Academy)
– ปี 1990 เน้นทางด้าน COFA (College of Fine Arts)
จะเห็นว่ามหาวิทยาลัย UNSW ใช้วิธี focus ทำให้แม้จะมีจำนวน staff เพียงครึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่ม Group of Eight ของประเทศออสเตรเลีย แต่สามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ทางด้าน Engineering, Built Environment and Creative Arts อันดับ 2 ทางด้าน Medicine, Business, Law และอันดับ 5 ทางด้าน Science, Arts, Social Science ของกลุ่ม Group of Eight ได้

ค่านิยมหลัก (Key Values) ของมหาวิทยาลัย คือ
1. Highest standards of rigour and relevance ต้องมีมาตรฐานสูง โดยเฉพาะอาจารย์และนักศึกษา
2. Accessibility : attraction of highest potential เข้าถึงได้ มีทุนดึงคนเก่ง
3. Progressive / Innovative
4. Engaged university

3. มหาวิทยาลัยUNSW ในอีก 60 ปีข้างหน้า มีทางเลือก 3 ทางคือ
1. Go for Growth
2. Fundamental New Model – Research Institute Model
3. Evolve in Line with Vision and Values

นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยนี้ที่เราจะต้อง focus เพราะทุก area โดยเฉพาะ science ใช้เงินมหาศาล งบประมาณไม่พอ ดังนั้นเราจึงต้อง focus และ more focus ไม่ต้องทำทุกเรื่อง นอกจากนั้นยังเพิ่มการข้ามศาสตร์ (cross disciplinary) ด้วย

ค่านิยม (Values) มีดังนี้
– Performance based meritocracy
– Students Centred
– Innovation / Engagement
– Resourcefulness

เคล็ดลับของความสำเร็จ คือเราต้องรู้ว่ากำลังจะเดินทางไปที่ไหน วิสัยทัศน์และค่านิยมองค์กรไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องทำ แต่เป็นจุดหมายปลายทาง วิสัยทัศน์และค่านิยมองค์กรจะไม่เปลี่ยนบ่อยๆ เรื่องนี้เปรียบเสมือนการล่องเรือ กระแสลมที่พัดมักจะเปลี่ยนทิศตลอดเวลา แต่ถึงแม้ว่าลมเปลี่ยนทิศ แต่เราก็จะไม่เปลี่ยนจุดหมายของการเดินทาง เพราะเราทุกคนทราบดีว่าจุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ไหน สิ่งที่จะต้องทำคือเราต้องเปลี่ยนวิธีการล่องเรือ เพื่อนำพาเราไปสู่จุดหมายจนได้ในที่สุด

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 ได้มีโอกาสฟังบรรยาย 2 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย
เรื่องที่ 1 คือ Implementation of Malaysian Research University Programme – The Experience of University of Malaya โดยอธิการบดีและรองอธิการบดี Prof. Modh Jamil Maah และ Prof. Muhamad Rasat Muhamad

เรื่องที่ 2 คือ Malaysian National Higher Education Strategic Plan โดย Prof. Dato Ir’ Dr. Radin Umar Radin Sohadi ซึ่งเป็น Director General ของ Ministry of Higher Education … เล่าว่า Ranking System แม้จะมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ก็มีประโยชน์ในเรื่องการสร้าง Brand การ Promote มหาวิทยาลัย และสร้างการยอมรับในชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยได้ มาเลเซียได้เริ่มแผน National Higher Eduation Strategic Plan (NHESP) ตั้งแต่ปี 2007 ประกอบด้วย 7 Strategic Trusts และ 21 Critical Agenda Programmes (CAPs) โดยเป็นแผนที่จะต้องทำให้สำเร็จในปี 2010 ให้ได้อย่างน้อย 50%
Strategic Trusts ทั้ง 7 ได้แก่

  1. Widening access and increase inquity
  2. Improving the quality of teaching
  3. Enhancing research and innovation
  4. Strengthening of higher education institutions (HEIs)
  5. Intensifying internationalisation
  6. Enculturation of lifelong learning
  7. Reinforcing delivery systems of MoHE

ส่วน Critical Agenda Programmes (CAPs) ทั้ง 21 initiatives ได้แก่

  • Internationalisation, R&D, Industry & Academic Relationship, PTPTN (Edu Funding)
  • Student development, Human Capital Development Fund, Student Employability
  • Academia, Teaching & Learning
  • APEX Univ, Autonomy Governance, Polytechs & Comm. Clgs., Private HEIs, MoE Transformation, Audit
  • e-Learning, Centres of Excellence, MY BRAIN 15, Leadership, Lifelong Learning, TopBusiness Schools

ไม่ให้ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน เพราะปลายทางเหมือนกัน

ถ่ายวีดิโอเอาไว้ ด้วยกล้องมือถือ Flip คุณภาพแย่ตามเคย แต่เนื้อหาดีมีประโยชน์มาก ความยาวเรื่องละเกือบ 30 นาที ดูแล้วจะเห็นว่าประเทศมาเลเซียไปไกลกว่าเราหลายก้าว … อยากให้ผู้บริหาร สกอ. และผู้บริหารมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติทั้ง 9 แห่งของประเทศไทย ได้ฟังบ้างจังเลย

Social Media กับการประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย

สรุปจากการประชุม 5th QS-APPLE ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Social Media

เรื่องแรก คือ “Integrating the social web into your marketing strategy” โดย Brad J Ward @bradjward หนุ่มหล่ออายุ 26 ปี Co-founder บริษัท BlueFuego.com ซึ่งรับจ้างทำ web 2.0 ให้มหาวิทยาลัย เป็น higher education marketing โดยเฉพาะ พ่อหนุ่มนี้เก่งมาก พูด present เร็วจนน่าเวียนหัว … ตามไปอ่าน blog พบว่าเขียนได้น่าสนใจมาก http://squaredpeg.com

Brad พูดถึง Viral Marketing (การตลาดแบบไวรัส หรือ Word-of-Mouth Marketing), Google Apps for Education, iTunes University, Zinch.com, YouTube.com/EDU, tinychat.com พูดถึง The Big 6 คือ Facebook, Flickr, LinkedIn, MySpace, Twitter, YouTube และสาธิตตัวอย่างลูกค้า คือ Abilene Christian University (ACU) รวมทั้ง ACU Admission บน Facebook, Bentley University และ Indiana University East ซึ่งจะมีตัวอย่างของการใช้ Twitter สำหรับ Campus Buzz, Flickr สำหรับ Student Pics, YouTube และ Student Blogger

Brad อ้างคำคมของ John M. Richardson JR ที่กล่าวไว้ว่า “When it comes to the future, there are three kinds of people: those who let it happen, those who make it happen, and those who wonder what happened.” และบอกว่า เขาอยากเป็นคนที่สองมากกว่า

ในอนาคต Social Media is like “Air” คือมีอยู่ทั่วไปเป็นเรื่องปกติ พูดถึง QR Code (quick response หรือ two-dimensional bar code) กับ Mobile Marketing โดยยกตัวอย่าง UTS: Undergraduate Guide 2010 และจากคำกล่าวที่ว่า “We no longer search for the news, the news finds us.” ต่อไปอีกหน่อยก็คงจะเป็น “We no longer search for the school, the school finds us.”

การบรรยายเรื่องที่สองคือ “Promoting education in a 21st century world: communicating with a new generation of digitally empowered young minds” โดย Jayles Yeoh รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย Limkokwing University of Creative Technology ซึ่งเป็นสปอนเซอร์และผู้ตัดสินรางวัล Creative Awards ในงาน QS-APPLE ครั้งนี้ด้วย เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ Arts สุดๆ ตั้งอยู่ที่ Cyberjaya เมืองไอทีของมาเลเซีย

เรื่องที่สาม International marketing – a private sector perspective เป็นเรื่องของ MIBT / Deakin University ซึ่งใช้บริการด้านการตลาดจากบริษัทเอกชนระดับโลกอย่าง NAVITAS ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสินค้าส่งออกของออสเตรเลียที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 คือ Education Services

เรื่องที่สี่ “Here, there and everywhere: Facebook and Twitter – social networking for universities” แต่ปรากฎว่าคุณ @AnneBB ผู้บรรยายไม่เดินทางมา แต่เล่นใช้วิธี webinar ด้วยโปรแกรม CISCO WebEx ทางไกลมาจาก Sydney แต่ความเร็วก็ O.K. นะ … Anne เป็น Managing Director ของบริษัทที่ปรึกษาทางด้าน Social Business headshift.com

ส่วนเรื่องสุดท้ายเป็นงานวิจัยของ Nicolas Gromik อาจารย์สอนภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีที่ญี่ป่น “Cell phone technology and second language acquisition in Japan” ให้นักศึกษาใช้โทรศัพท์มือถือถ่าย clip video การพูดภาษาอังกฤษของตัวเองมาให้ตรวจ เน้น Ubiquitous Learning คือการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา … Advisor ของ Nicolas มาด้วย แนะนำให้เรารู้จัก โครงการ Horizon Project และให้ไปอ่านหนังสือที่ดีมากๆ เล่มหนึ่ง ชื่อ Horizon Report 2009 Australia-New Zealand Edition ที่มีการพูดถึง 6 emerging technologies คือ 1. Mobile internet devides 2. Open content 3. Virtual, augmented and alternatives realities 4. Location-based learning 6. Smart objects and devices

รายงานผลการเข้าร่วมการประชุม 5th QS-APPLE ที่ประเทศมาเลเซีย

27 พฤศจิกายน 2552

เพื่อให้การเสียเงินและเสียเวลาเดินทางไปเข้าร่วมประชุม 5th QS-APPLE ครั้งนี้ไม่สูญเปล่า จึงขอบันทึกเรื่องราวที่ได้จากการไปครั้งนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

รายการบรรยายที่ไปเลือกเข้าฟัง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง สรุปหัวข้อได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : เป็นเรื่อง Social Media กับการประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย

  1. Integrating the social web into your marketing strategy
  2. Promoting education in a 21st century world: communicating with a new generation of digitally empowered young minds
  3. Here, there and everywhere: Facebook and Twitter – social networking for universities
  4. International marketing – a private sector perspective
  5. Cell phone technology and second language acquisition in Japan

กลุ่มที่ 2 : เป็นการบรรยายของบรรดา Best Practices มหาวิทยาลัยระดับ World Class

  1. Building World Class Universities : The UNSW Story
  2. Building World Class Universities through Globalisation : POSTECH Experience
  3. Using Rankings to Drive Internal Quality Improvements

กลุ่มที่ 3 : เป็นเรื่องการตีพิมพ์

  1. “Publish or Perish” in the new 21st century university
  2. Measuring the quality of journals: An islamic perspective


กลุ่มที่ 4 : เป็นเรื่องกรอบคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ

  1. The Malaysian qualifications framework as a basis for Malaysian higher education quality systems
  2. Quality assurance and accreditation: A Malaysian private higher education perspective
  3. Experiences from a public and fledging higher education institution in quality assurance and accreditation
  4. ASEAN qualifications framework

กลุ่มที่ 5 : เป็นเรื่องการสร้าง Brand

  1. The role of branding in higher education
  2. The challenge of building sustainable, future-focused brands

กลุ่มที่ 6 : เป็นเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

  1. Implemenation of Malaysian research university programme – the experience of University of Malaya
  2. Malaysian National Higher Education Strategic Plan

จะทยอยเล่าทีละกลุ่มนะคะ …. กลุ่มที่ 6 ฟังแล้วบอกได้คำเดียวว่า เห็นเสือเหลืองมาเลเซียทำงานแล้ว ประเทศไทยคงจะต้องหนาวแล้วล่ะ ++
[ .. ชมภาพถ่ายเล็กๆน้อยๆ ควันหลงจากงานนี้ค่ะ … ]

เตรียมตัวไปประชุม QS-APPLE ครั้งที่ 5 ที่มาเลเซีย

19 พฤศจิกายน 2552

เตรียมตัวไปร่วมการประชุม 5th QS-APPLE QS Asia Pacific Professional Leaders in Education ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2552 โดยจะออกเดินทางไปกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย คณะ สถาบันต่างๆ จำนวน 50 คน ในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 22 นี้

ยกทัพกันไปมากขนาดนี้ นัยว่่าเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน QS-APPLE ครั้งที่ 6 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาในปีหน้า และเผื่อจะได้ฟังบรรยาย ชมนิทรรศการ และพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการอุดมศึกษา กับผู้มาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเอเซียแฟซิฟิก 45 ประเทศ กว่า 700 คน งานนี้จัดโดย University of Malaysia และ Universiti Kebangsaan Malaysia (National University of Malaysia) ร่วมกับบริษัท QS Asia Quacquarelli Symonds Pte Ltd ซึ่งเป็นสาขาของ QS Quacquarelli Symonds บริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัย World University Rankings และ Asian University Rankings ที่กรุงลอนดอน

คณะทัวร์จะมีการไปดูงานที่มหาวิทยาลัย 3 แห่ง คือ Universiti Kebangsaan Malaysia (National University of Malaysia), International Medical University และ University of Malaysia

ที่จริงดูรายการแล้ว ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับตัวเองซักเท่าไหร่ (ส่งไปทำไมก็ไม่รู้) .. แต่ไหนๆ ก็จะไปแล้ว ก็เลยพยายามคุ้ยดูว่า จะเข้าฟังรายการไหนดี เตรียมตัวโดยดูจากเว็บพบว่า งานนี้จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur Convention Centre ศูนย์ประชุมและจัดนิทรรศการสุดหรู ที่อยู่ติดกับตึกแฝด Petronas Twin Towers นั่นแหละ รายการเด็ดสุด เห็นจะเป็น “QS Role in Supporting Asian Higher Education” ของ Mr. Nunzio Quacquarelli เจ้าของบริษัท QS Quacquarelli Symonds Ltd นั่นแหละ จะได้เจอตัวจริงเสียงจริงกันล่ะคราวนี้

วันที่ 24 คงไปฟัง Track 4 (11.00 น.) เรื่อง Integrating the Social Web into your Marketing Strategy ของ Brad Ward จากบริษัท Blue Fuego ตามด้วย Promoting Education in a 21st Century World: communicating with a new generation of digitally empowered young minds ของ Jayles Yeoh จาก Limkokwing University of Creative Technology

(14.00 น.) ไปฟัง Track 3 เรื่อง Here, There and Everywhere: Facebook and Twitter – Social Networking for Universties โดย Anne Bartlett-Bragg จากบริษัท Headshift Australasia และเป็นอาจารย์ที่คณะศึกษาศาสตร์ University of Technology, Sydney ดูท่าจะเป็นคนดังในวงการ Social Media ของออสเตรเลีย ว่าแล้วก็ follow Slideshare ของคุณ Anne ซะเลย

วันที่ 25 (9.00 น.) ฟัง Track 6 มุมมองของเจ้าภาพมาเลย์ เรื่องการตีพิมพ์ Publish or Perish in the New 21st Century University และ Measuring the quality of Journals: an Islamic perspective

(14.00 น.) ไม่ค่อยมีอะไรที่อยากฟังเลยเอาอันนี้ก็แล้วกัน Track 5 เรื่อง ASEAN Qualifications Framework โดย CEO ของ Malaysian Qualifications Agency เพราะบ้านเรากำลังมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อยู่เหมือนกัน

วันที่ 26 (9.00 น.) ฟัง Track 5 เรื่อง Implementation of Malaysian Research University Programme – The Experience of University of Malaya เพราะดูไปน่าจะเหมือนมหาวิทยาลัยแห่งชาติ โครงการไทยเข็มแข็ง SP2 ของเรา

(14.00 น.) ฟัง QS World University Rankings: Five Years On ของ Ben Sowter (เจ้าเก่า) และ What’s the Use of University Rankings? โดย Prof. จาก City University of Hong Kong

พอแล้วเนอะ … เดี๋ยวฟังไม่ทัน แต่กะว่าจะทดลองทำตัวเป็น Citizen Reporter ซะหน่อย อุปกรณ์ที่จะพกไปด้วย ได้แก่ Fujitsu Lifebook, กล้อง Olympus, Flip Video และ O2 Atom (เพื่อนยาก)

QS-APPLE ครั้งที่#5 ที่มาเลเซีย

QS-APPLE

QS-APPLE มีชื่อเต็มว่า QS Asia Pacific Professional Leaders in Education Conference เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดย THES-QS (บริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้นั่นแหละ) มีการเวียนให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นเจ้าภาพ

  • QS-APPLE ครั้งที่ 4 : มหาวิทยาลัย Yonsei เป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี เมื่อปี 2009 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล (ของเรา) คว้ารางวัล Creative Award ด้าน International Webpages มาได้ (แบบฟลุกๆ)
  • QS-APPLE ครั้งที่ 5 : จะจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัย Malaya เป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 24-26 พฤศจิกายน ปี 2009 มีผู้บริหารและอาจารย์มหิดลเป็น speaker หลายคน … ครั้งนี้ตัวเองจะไปเข้าประชุมและสังเกตการณ์ด้วย มหาวิทยาลัยของมาเลเซียกำลังแข่งวิ่งผลัด 4×100 เมตร กับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยอยู่ ต้องไปช่วยเชียร์กันหน่อย ไม่รู้จะป้องกันแชมป์เว็บไซต์ให้มหิดลได้หรือเปล่า .. กลับมาแล้ว จะเล่าให้ฟังนะ
  • QS-APPLE ครั้งที่ 6 : ฮ่า ! ปี 2010 นี่แหละ ที่พี่ไทย (โดยมหาวิทยาลัยมหิดล) จะเป็นเจ้าภาพ … ถึงตอนนั้น หวังว่าเราคงจะติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 1 ใน 100 ไปแล้ว … หรือได้ 1 ใน 200 ก็ยังดี

เอ้า ! ช่วยกันหน่อยนะ ชาวมหิดล … คนละไม้ คนละมือ