ทฤษฎีที่ใช้ใน Information Systems (IS) Research

เป็นศาสตร์ ก็ต้องมีทฤษฎี (Theories) .. ตัวอย่างทฤษฎีที่ใช้สำหรับงานวิจัยทางด้าน Information Systems (IS) มีดังนี้

    – A –

  1. Absorptive capacity theory
  2. Actor network theory
  3. Adaptive structuration theory
  4. Administrative behavior, theory of
  5. Agency theory
  6. Argumentation theory
  7. – B –

  8. Behavioral decision theory
  9. Boundary object theory
  10. – C –

  11. Chaos theory
  12. Cognitive dissonance theory
  13. Cognitive fit theory
  14. Cognitive load theory
  15. Competitive strategy (Porter)
  16. Complexity theory
  17. Contingency theory
  18. Critical realism theory
  19. Critical social theory
  20. Critical success factors, theory of
  21. – D –

  22. Deferred action, theory of
  23. Delone and McLean IS success model
  24. Diffusion of innovations theory
  25. Dynamic capabilities
  26. – E –

  27. Embodied social presence theory
  28. Equity theory
  29. Evolutionary theory
  30. Expectation confirmation theory
  31. – F –

  32. Feminism theory
  33. Fit-Viability theory
  34. Flow theory
  35. – G –

  36. Game theory
  37. Garbage can theory
  38. General systems theory
  39. General deterrence theory
  40. – H –

  41. Hermeneutics
  42. – I –

  43. Illusion of control
  44. Impression management, theory of
  45. Information processing theory
  46. Institutional theory
  47. International information systems theory
  48. – K –

  49. Knowledge-based theory of the firm
  50. – L –

  51. Language action perspective
  52. Lemon Market Theory
  53. – M –

  54. Management fashion theory
  55. Media richness theory
  56. Media synchronicity theory
  57. Modal aspects, theory of
  58. Multi-attribute utility theory
  59. – O –

  60. Organizational culture theory
  61. Organizational information processing theory
  62. Organizational knowledge creation
  63. Organizational learning theory
  64. – P –

  65. Portfolio theory
  66. Process virtualization theory
  67. Prospect theory
  68. Punctuated equilibrium theory
  69. – R –

  70. Real options theory
  71. Resource-based view of the firm
  72. Resource dependency theory
  73. – S –

  74. Self-efficacy theory
  75. SERVQUAL
  76. Social capital theory
  77. Social cognitive theory
  78. Social exchange theory
  79. Social learning theory
  80. Social network theory
  81. Social shaping of technology
  82. Socio-technical theory
  83. Soft systems theory
  84. Stakeholder theory
  85. Structuration theory
  86. – T –

  87. Task closure theory
  88. Task-technology fit
  89. Technological frames of reference
  90. Technology acceptance model
  91. Technology dominance, theory of
  92. Technology-organization-environment framework
  93. Theory of planned behavior
  94. Theory of reasoned action
  95. Transaction cost economics
  96. Transactive memory theory
  97. – U –

  98. Unified theory of acceptance and use of technology
  99. Usage control model
  100. – W –

  101. Work systems theory
  102. – Y –

  103. Yield shift theory of satisfaction

แต่ถ้าจะเอาทฤษฎีเยอะกว่านี้ ขอให้ดูรวมรายชื่อทฤษฎีต่างๆ (Theories) ที่ใช้ในการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ระบบสารสนเทศ Information Systems (IS) และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้จาก link นี้ค่ะ http://bit.ly/fmYeJq

กระบวนทัศน์ทางเลือก (Alternative Paradiagm)

ใครต้องการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนทัศน์และทฤษฎีการวิจัย แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้เลย “ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ” ของอาจารย์ชาย โพธิสิตา แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลตำราดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2548 อาจารย์เขียนดีมาก แต่เวลาอ่านต้องมีเวลาและสมาธิมากๆ เพราะเล่มใหญ่ เพลินเหมือนอ่านนิยายเลย

ขออนุญาตคัดลอกและสรุปบางตอนมาลงไว้นะคะ เป็นข้อมูลเปรียบเทียบจุดยืนของกระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม (Positivism) กับกระบวนทัศน์ทางเลือก (Alternative Paradiagm) จากบางตอนของหนังสือเล่มนี้

  • ภววิทยา (Ontology) : ธรรมชาติของความจริง/ความรู้
  • กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม เห็นว่า ความจริง/ความรู้ มีอยู่โดยตัวของมันเอง เป็นอิสระจากผู้รู้ เป็นภววิสัย (objective) ความจริงหรือความรู้ที่ถูกค้นพบและผ่านการพิสูจน์แล้ว มีคุณสมบัติเป็นสากล ความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว (single reality) เป็นจุดยืนแบบสัจนิยม (realism) หรือสัจนิยมสามัญ (naive realism)

    กระบวนทัศน์ทางเลือก หรือแนวคิดหลังปฏิฐานนิยม (postpositivism) เห็นว่า ความจริงและความรู้ที่นักวิจัยอ้างว่าตนได้ค้นพบ ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เป็นภาพสร้าง (construct) ความจริง/ความรู้จึงไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว แต่มีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับบุคคลและบริบท ดังนั้นจึงมีลักษณะจำเพาะเจาะจง เป็นอัตวิสัย (subjective) ทัศนะของกระบวนการทางเลือกจึงเป็นแบบสัมพัทธนิยม (relativism)

  • ญาณวิทยา (Epistemology) : ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้
  • กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม เชื่อว่า ความจริง/ความรู้ มีอยู่อย่างเป็นเอกเทศ ดังนั้น นักวิจัย (ผู้รู้) กับคนหรือสิ่งที่ถูกวิจัย (สิ่งที่ถูกรู้) จะต้องไม่มีความสัมพันธ์อะไรต่อกัน มิฉะนั้นจะเกิดอคติ และสิ่งที่ถูกวิจัยจะเสียความเป็นภววิสัย
    กระบวนทัศน์ทางเลือก ผู้ทำการวิจัยกับผู้ที่ถูกวิจัยมีปฏิสัมพันธ์กัน และต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน แยกจากกันไม่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับผู้ถูกวิจัย เป็นกุญแจสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องตรงประเด็น แต่ต้องระวังไม่ให้ความสัมพันธ์ที่ดีเกินไป เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูล

  • วิธีวิทยา (Methodology) : วิธีการเข้าถึงความจริง/ความรู้
  • กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม ใช้วิธีที่นักวิจัยสามารถควบคุมหรือจัดการกับสิ่งที่ศึกษาได้ เช่นวิธีการทดลอง วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยแบบนิรนัย (deductive approach) คือ สร้างสมมติฐานจากความรู้หรือแนวคิดทฤษฎีที่มีอยู่ก่อน (hypothetico-deductive method)
    กระบวนทัศน์ทางเลือก ความจริง/ความรู้ขึ้นอยู่กับบริบท การเริ่มต้นกระบวนการวิจัยด้วยสมมติฐานไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด สมมติฐานควรจะถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลโดยตรง ไม่ใช่ตั้งมาก่อนการมีข้อมูล การวิจัยไม่ได้มุ่งเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน แต่มุ่งสร้างสมมติฐานเพื่อการทดสอบในภายหลัง ดำเนินการวิจัยแบบอุปนัย (inductive approach) คือสร้างสมมติฐานขึ้นมาจากข้อมูลที่เก็บมาในการวิจัยนั้นโดยเฉพาะ (hypothesis grounded in the data) นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงกับสถานการณ์หรือกับประชาชนผู้ถูกศึกษา มีการออกแบบการวิจัยที่ยืดหยุ่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพหลายแบบ นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยใช้ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ เป็นสะพานเชื่อมไปสู่การได้ข้อมูลที่ดี

  • ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causality)
  • กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม จุดมุ่งหมายคือการพิสูจน์สมมติฐานที่นักวิจัยตั้งขึ้น หรือพิสูจน์ทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว เหตุย่อมมาก่อนผล หรืออย่างน้อยเหตุกับผลในเวลาไล่เลี่ยกันหรือพร้อมกัน เหตุกับผลสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นเส้นตรง (linear) หรือเส้นตรงหลายมิติ (multilinear)
    กระบวนทัศน์ทางเลือก ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล แต่มุ่งทำความเข้าใจด้วยการตีความหรือปรากฎการณ์ที่ศึกษาเป็นหลัก สรรพสิ่งย่อมอยู่ในฐานะที่จะมีผลกระทบต่อกันและกันได้ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลเป็นความสัมพันธ์เชิงพหุ ดังนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพจึงศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นองค์รวม มุ่งทำความเข้าใจความหมาย และการอธิบายมากกว่าพิสูจน์หาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างปัจจัยต่างๆ

  • ค่านิยม (Values) และอคติในการวิจัย
  • กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม การวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินไปอย่างปราศจากค่านิยมหรืออคติ วิธีการที่เป็นภววิสัย (objective) จะช่วยทำให้การวิจัยเป็นสิ่งที่ปราศจากค่านิยมหรืออคติได้
    กระบวนทัศน์ทางเลือก การวิจัยเป็นกระบวนการที่หนีไม่พ้นค่านิยมหรืออคติ (Value-leden) ซึ่งอาจมาจากภายในตัวนักวิจัยหรือจากบริบทภายนอกนักวิจัยก็ได้ นักวิจัยเปิดเผยผลการวิจัยให้เห็นว่า มีค่านิยมหรืออคติอะไร อย่างไร ในการวิจัย แยกการตีความของกลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษา ออกจากการตีความของนักวิจัย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน ค่านิยมหรืออคติในการวิจัย ความจริงไม่ใช่สิ่งที่เสียหายเสมอไป แต่เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องพึงสังวรระวัง

  • สามัญการ (Generalization)
  • : มโนทัศน์ที่ใช้เพื่อหมายถึงการที่ผลการศึกษาจากที่หนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง สามารถนำไปใช้ในที่อื่นและในเวลาอื่นได้
    กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม เชื่อว่า สามัญการเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการวิจัย ความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีเพียงหนึ่งเดียว และมีคุณสมบัติเป็นเสมือนกฎในเรื่องนั้นๆ (law-like reality) ผลการวิจัยย่อมไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและบริบท (time-and-context-free) นั่นคือใช้ได้ทั่วไปนั่นเอง จุดมุ่งหมายของการวิจัยคือการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีลักษณะเป็นกฎ (nomothetic) สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป (กลุ่มตัวอย่างการวิจัยที่มีความเป็นตัวแทนสูง จะทำให้ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในวงกว้างได้มาก หรือสามัญการได้มาก)
    กระบวนทัศน์ทางเลือก จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือการพัฒนาองค์ความรู้หรือคำอธิบายสำหรับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ในรูปของสมมติฐานเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเพื่อใช้เฉพาะกรณีเป็นหลัก หรือในรูปของข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่สามัญการได้ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด

อ้างอิง: ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง