SJR คืออะไร

ได้ยินข่าวแว่วๆมาว่า สกอ จะนำ SJR มาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เท็จจริงประการใดไม่รู้ แต่เอาเป็นว่า ตอนนี้เรามาดูกันก่อนว่า SJR มันคืออะไรกันแน่

ลองเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ชื่อ SCImago Journal & Country Rank จะพบว่ามีดัชนีชนิดต่างๆ ซึ่งใช้ในการวัด ประเมิน และจัดอันดับวารสาร (Scientific Journal Rankings) โดยอาศัยข้อมูลบทความวารสารและการอ้างอิงบทความวารสารจากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elseveir B.V. ดัชนีที่สำคัญ มีชื่อว่า SJR (SCImago Journal Rank) ซึ่งใช้หลักการของ algorithm Google PageRank™ วัด visibility ของวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี 1996-ปัจจุบัน นักวิจัยที่คุ้นเคยกับการประเมินคุณภาพวารสารโดยใช้ดัชนี Journal Impact Factor ของบริษัท Thomson ซึ่งเป็นเจ้าเก่าของวงการยาวนานกว่า 50 ปี อาจจะพอนึกออกว่า ชะรอยนี่อาจจะเป็นศึกชิงความเป็นเจ้ายุทธจักร ในเรื่องของการประเมินคุณภาพงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก นั่นเอง

SCImago Lab เป็นชื่อกลุ่มวิจัยจาก Consejo Superior de Investigaciones Científicas (CSIC), University of Granada, Extremadura, Carlos III (Madrid) และ Alcalá de Henares ของประเทศสเปน ที่ทำการพัฒนาระบบวิเคราะห์ นำเสนอ และสืบค้นสารสนเทศ เป็น Science Analytics Applications ที่ใช้เทคนิค Visualisation หรือ Maps of Science ปัจจุบันได้ขยายขีดความสามารถในการวิเคราะห์จากข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลไปจนถึงข้อมูลบนเว็บหรือ RIAs (Rich Internet Applications) มีโครงการต่อเนื่องคือ SIR (Scimago Institutions Rankings) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลงานของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย และ The Atlas of Science project ซึ่งมีลักษณะเป็น interactive maps ปัจจุบัน กลุ่มวิจัย SCImago Lab ได้กลายเป็นบริษัทไปแล้ว มีชื่อว่า SRG S.L. company

วิธีการอ่านค่า SJR

SCImago Journal Rank (SJR) is a prestige metric based on the idea that ‘all citations are not created equal’. With SJR, the subject field, quality and reputation of the journal has a direct effect on the value of a citation.

  • SJR is weighted by the prestige of the journal, thereby ‘leveling the playing field’ among journals
  • Eliminates manipulation: raise the SJR ranking by being published in more reputable journals
  • ‘Shares’ a journal’s prestige equally over the total number of citations in that journal
  • Normalizes for differences in citation behavior between subject fields


ที่จริงสูตรคำนวณหาค่า SJR ค่อนข้างซับซ้อนและเป็นคณิตศาสตร์มาก (อ่านรายละเอียดวิธีคำนวณได้จาก http://www.scimagojr.com/SCImagoJournalRank.pdf) แต่ถ้ามหาวิทยาลัยของท่านบอกรับฐานข้อมูล Scopus อยู่แล้ว จะสามารถหาค่า SJR ของวารสารได้อย่างง่ายดาย จากเมนูในฐานข้อมูล Scopus ที่เรียกว่า Journal Analyzer แต่ถ้ามหาวิทยาลัยไม่ได้บอกรับ อาจใช้ของฟรีได้จาก เว็บ SCImago Journal & Country Rank ซึ่งนอกจากจะแสดงค่า SJR ของวารสารแล้ว ค่า h index ของวารสารด้วย ซึ่งค่า h คำนวณมาจาก “the journal’s number of articles (h) that have received at least h citations”.

ถ้าอยากทำความรู้จักกับ SJR ให้มากขึ้น ทำได้โดยการอ่านรายละเอียดจากเว็บไซต์ www.journalmetrics.com และบทความ The SJR indicator: A new indicator of journals’ scientific prestige

SNIP และ SJR ดัชนีวัดคุณภาพวารสารแบบใหม่ ของ Scopus

SNIP และ SJR เป็นดัชนีที่ Scopus นำเสนอเพื่อเป็นทางเลือกในการวัดคุณภาพวารสาร นอกเหนือจากการใช้ค่า Impact Factor (IF) ของบริษัท Thomson Reuters ซึ่งเรานิยมใช้กันมาอย่างต่อเนื่องนานเกือบ 50 ปีแล้ว โดยอ้างว่า เราไม่ควรจะยึดถือดัชนีใดดัชนีหนึ่งเพียงอย่างเดียว การคำนวณค่า Impact Factor ทำได้เพียงง่ายๆ คือ จำนวนการอ้างอิงที่ได้รับในปีปัจจุบัน หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภายในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เท่านั้น ดังนั้นจึงมีทั้งข้อดีข้อเสีย และเห็นว่าควรจะใช้ดัชนีตัวอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย

  • IF (Impact Factor) เป็นดัชนีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนาโดย Eugene Garfield เมื่อปี 1972 ใช้ข้อมูลการอ้างอิงบทความจากฐานข้อมูล Citation Indexes ของ Institute for Scientific Information หรือ ISI (ซึ่งปัจจุบันถูกซื้อกิจการไปแล้ว โดยบริษัท Thomson Reuters) โดยจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบค่า IF ของวารสาร ที่มีชื่อว่า Journal Citation Reports (JCR) มาตั้งแต่ปี 1975 และมีการแยกวารสารตามกลุ่มสาขาวิชา (subject categories) จำนวน 172 สาขา
  • AI (Article Influence) และค่า EF (Eigenfactor) พัฒนาโดย Assoc. Prof. Carl Bergstrom แห่งมหาวิทยาลัย University of Washington เมื่อปี 2007 โดยใช้ข้อมูลการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ของบริษัท Thomson Reuters ค้นได้จากเว็บไซต์ http://www.eigenfactor.org ค่า AI หมายถึง การวัดคุณภาพของวารสาร โดยวัดจำนวนการอ้างอิงต่อหนึ่งบทความ เปรียบเทียบกับค่า Impact Factor ส่วนค่า EF หมายถึง จำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมด ของวารสารที่ตีพิมพ์ในปีนั้นๆ
  • SJR (SCImago Journal Rank) เป็นดัชนีที่พัฒนาเมื่อปี 2009 โดย Professor Félix de Moya ร่วมกับ SCImago Research Group (กลุ่มนักวิจัยจาก CSIC มหาวิทยาลัย Granada, Extremadura, Carlos III และ Alcalá de Henares ประเทศสเปน) ใช้ข้อมูลการอ้างอิง มาจากฐานข้อมูล Scopus มีหลักการเช่นเดียวกันกับ Google’s PageRank กล่าวคือ สาขาวิชาของวารสาร คุณภาพและชื่อเสียงของวารสาร มีผลโดยตรงต่อค่าของ citation (SJR = A prestige metric based on the idea that “all citations are not created equal”.)

    ค่า SJR ดูได้จากเว็บไซต์ SCImago Journal & Country Rank หรือค้นจาก Journal Analyzer ของฐานข้อมูล Scopus

  • SNIP (Source-Normalized Impact per Paper) เป็นดัชนีใหม่ล่าสุด พัฒนาโดย Professor Henk F. Moed แห่ง Centre for Science and Technology Studies (CWTS) มหาวิทยาลัย Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2010 [ .. อ่านบทความตีพิมพ์ที่นี่ .. ] ค่า SNIP ใช้ข้อมูลการอ้างอิงมาจากฐานข้อมูล Scopus เป็นการแก้ปัญหาของค่า IF ที่ความแตกต่างระหว่างสาขาวิชา ทำให้มีอัตราการเติบโตของการอ้างอิงไม่เท่ากัน SNIP จะเป็นการวัดค่าเฉลี่ยของจำนวนการอ้างอิงที่ได้รับต่อหนึ่งบทความ แต่จะคำนึงถึง citation potential ของแต่ละสาขาวิชาด้วย ซึ่งค่า citation potential ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างวารสารที่อยู่คนละกลุ่มสาขาวิชาเท่านั้น แต่ยังแตกต่างระหว่างวารสารในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกัน แต่เป็นวารสารคนละประเภท เช่น basic journals จะมีค่า citation potentials ที่สูงกว่าวารสารประเภท applied journals และ clinical journals หรือวารสารที่มี emerging topics จะมีค่า citation potentials ที่สูงกว่าวารสารทั่วไป เป็นต้น ซึงเรียกได้ว่าเป็นการวัด citation impact ของวารสารในลักษณะ in context หรือ “contextual citation impact” ของวารสาร

    วิธีการคำนวณ ค่า SNIP = ค่า Raw impact per paper (RIP) หารด้วยค่า Relative database citation potential (RDCP) ของสาขาวิชา (ที่วารสารนั้นสังกัด)

    SNIP measures “contextual citation impact” by weighting citations based on the total number of citations in a subject field. The impact of a single citation is given higher value in subject areas where citations are less likely, and vice versa.

    ค่า SNIP ดูได้จากเว็บไซต์ CWTS Journal Indicators หรือค้นจาก Journal Analyzer ของฐานข้อมูล Scopus

  • h-index พัฒนาโดย Professor Jorge Hirsch เมื่อปี 2005 ใช้ข้อมูลการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier นิยมใช้ในการวัดคุณภาพของ Individual researchers โดยมีความหมายว่า หากนักวิจัยมีค่า index = h หมายถึงเขามีผลงานวิจัยอยู่จำนวน h บทความ ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับการอ้างอิงจำนวน h ครั้งหรือมากกว่านั้น

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SJR & SNIP – Journal Metrics ดูได้ที่ : http://info.scopus.com/journalmetrics

การประเมินคุณภาพวารสารด้วย SJR และ SNIP

ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier มีดัชนีชี้วัดตัวใหม่สำหรับประเมินคุณภาพวารสาร (Journal metrics) ที่เรียกว่า SJR และ SNIP ซึ่งใช้บริการได้จากเว็บไซต์ http://www.scopus.com และเว็บไซต์ http://www.journalmetrics.com โดยเห็นว่าการประเมินคุณภาพวารสาร ไม่ควรใช้ตัวชี้วัดแบบเดียว เพราะจะไม่ครอบคลุม … พูดอ้อมๆ คงหมายความว่า ไม่ควรใช้เฉพาะค่า Impact Factor (ซึ่งเป็นดัชนีที่มีอิทธิพลต่อวงการวารสารมายาวนานเกือบ 50 ปี) ของบริษัทคู่แข่ง Thomson Reuters นั่นแหละ แถมยังทำวิดีโอเผยแพร่ใน YouTube เรื่อง Impact Factor – Only one dimension และเรื่อง Calculation of SNIP & SJR journal metrics powered by Scopus อีกด้วย

ฐานข้อมูล Scopus ได้ประกาศดัชนีทั้งสองตัวนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2553 … สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ว่า SJR และ SNIP คืออะไร อาจ download สไลด์ powerpoint นี่มาอ่านได้ค่ะ :-Scopus Journal Metrics SNIP & SJR

SJR ย่อมาจาก SCImago Journal Rank เป็นดัชนีที่พัฒนาโดย Professor Felix de Moya จาก SCImago Research Group มีพื้นฐานจากแนวความคิดที่ว่า “all citations are not created equal” ที่จริงเราเคยทดลองใช้มานานหลายปีแล้ว จากเว็บไซต์ของ SCImago โดยตรงคือ http://www.scimagojr.com แต่ปีนี้ เปิดตัวโดย Scopus … ท่าทางจะเอาจริง

SNIP ย่อมาจาก Source-normalized Impact per Page เป็นดัชนีที่พัฒนาโดย Professor Henk Moed จาก Centre for Science and Technology Studies (CWTS) มหาวิทยาลัย University of Leiden