SNIP และ SJR ดัชนีวัดคุณภาพวารสารแบบใหม่ ของ Scopus

SNIP และ SJR เป็นดัชนีที่ Scopus นำเสนอเพื่อเป็นทางเลือกในการวัดคุณภาพวารสาร นอกเหนือจากการใช้ค่า Impact Factor (IF) ของบริษัท Thomson Reuters ซึ่งเรานิยมใช้กันมาอย่างต่อเนื่องนานเกือบ 50 ปีแล้ว โดยอ้างว่า เราไม่ควรจะยึดถือดัชนีใดดัชนีหนึ่งเพียงอย่างเดียว การคำนวณค่า Impact Factor ทำได้เพียงง่ายๆ คือ จำนวนการอ้างอิงที่ได้รับในปีปัจจุบัน หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภายในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เท่านั้น ดังนั้นจึงมีทั้งข้อดีข้อเสีย และเห็นว่าควรจะใช้ดัชนีตัวอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย

  • IF (Impact Factor) เป็นดัชนีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนาโดย Eugene Garfield เมื่อปี 1972 ใช้ข้อมูลการอ้างอิงบทความจากฐานข้อมูล Citation Indexes ของ Institute for Scientific Information หรือ ISI (ซึ่งปัจจุบันถูกซื้อกิจการไปแล้ว โดยบริษัท Thomson Reuters) โดยจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบค่า IF ของวารสาร ที่มีชื่อว่า Journal Citation Reports (JCR) มาตั้งแต่ปี 1975 และมีการแยกวารสารตามกลุ่มสาขาวิชา (subject categories) จำนวน 172 สาขา
  • AI (Article Influence) และค่า EF (Eigenfactor) พัฒนาโดย Assoc. Prof. Carl Bergstrom แห่งมหาวิทยาลัย University of Washington เมื่อปี 2007 โดยใช้ข้อมูลการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (JCR) ของบริษัท Thomson Reuters ค้นได้จากเว็บไซต์ http://www.eigenfactor.org ค่า AI หมายถึง การวัดคุณภาพของวารสาร โดยวัดจำนวนการอ้างอิงต่อหนึ่งบทความ เปรียบเทียบกับค่า Impact Factor ส่วนค่า EF หมายถึง จำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมด ของวารสารที่ตีพิมพ์ในปีนั้นๆ
  • SJR (SCImago Journal Rank) เป็นดัชนีที่พัฒนาเมื่อปี 2009 โดย Professor Félix de Moya ร่วมกับ SCImago Research Group (กลุ่มนักวิจัยจาก CSIC มหาวิทยาลัย Granada, Extremadura, Carlos III และ Alcalá de Henares ประเทศสเปน) ใช้ข้อมูลการอ้างอิง มาจากฐานข้อมูล Scopus มีหลักการเช่นเดียวกันกับ Google’s PageRank กล่าวคือ สาขาวิชาของวารสาร คุณภาพและชื่อเสียงของวารสาร มีผลโดยตรงต่อค่าของ citation (SJR = A prestige metric based on the idea that “all citations are not created equal”.)

    ค่า SJR ดูได้จากเว็บไซต์ SCImago Journal & Country Rank หรือค้นจาก Journal Analyzer ของฐานข้อมูล Scopus

  • SNIP (Source-Normalized Impact per Paper) เป็นดัชนีใหม่ล่าสุด พัฒนาโดย Professor Henk F. Moed แห่ง Centre for Science and Technology Studies (CWTS) มหาวิทยาลัย Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2010 [ .. อ่านบทความตีพิมพ์ที่นี่ .. ] ค่า SNIP ใช้ข้อมูลการอ้างอิงมาจากฐานข้อมูล Scopus เป็นการแก้ปัญหาของค่า IF ที่ความแตกต่างระหว่างสาขาวิชา ทำให้มีอัตราการเติบโตของการอ้างอิงไม่เท่ากัน SNIP จะเป็นการวัดค่าเฉลี่ยของจำนวนการอ้างอิงที่ได้รับต่อหนึ่งบทความ แต่จะคำนึงถึง citation potential ของแต่ละสาขาวิชาด้วย ซึ่งค่า citation potential ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างวารสารที่อยู่คนละกลุ่มสาขาวิชาเท่านั้น แต่ยังแตกต่างระหว่างวารสารในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกัน แต่เป็นวารสารคนละประเภท เช่น basic journals จะมีค่า citation potentials ที่สูงกว่าวารสารประเภท applied journals และ clinical journals หรือวารสารที่มี emerging topics จะมีค่า citation potentials ที่สูงกว่าวารสารทั่วไป เป็นต้น ซึงเรียกได้ว่าเป็นการวัด citation impact ของวารสารในลักษณะ in context หรือ “contextual citation impact” ของวารสาร

    วิธีการคำนวณ ค่า SNIP = ค่า Raw impact per paper (RIP) หารด้วยค่า Relative database citation potential (RDCP) ของสาขาวิชา (ที่วารสารนั้นสังกัด)

    SNIP measures “contextual citation impact” by weighting citations based on the total number of citations in a subject field. The impact of a single citation is given higher value in subject areas where citations are less likely, and vice versa.

    ค่า SNIP ดูได้จากเว็บไซต์ CWTS Journal Indicators หรือค้นจาก Journal Analyzer ของฐานข้อมูล Scopus

  • h-index พัฒนาโดย Professor Jorge Hirsch เมื่อปี 2005 ใช้ข้อมูลการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier นิยมใช้ในการวัดคุณภาพของ Individual researchers โดยมีความหมายว่า หากนักวิจัยมีค่า index = h หมายถึงเขามีผลงานวิจัยอยู่จำนวน h บทความ ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับการอ้างอิงจำนวน h ครั้งหรือมากกว่านั้น

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SJR & SNIP – Journal Metrics ดูได้ที่ : http://info.scopus.com/journalmetrics

8 thoughts on “SNIP และ SJR ดัชนีวัดคุณภาพวารสารแบบใหม่ ของ Scopus

  1. ถ้าตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science ของบริษัท Thomson Reuters ให้ใช้ impact factor ถ้าตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier ให้ใช้ SJR ค่ะ — วารสารใน Scopus มีจำนวนมากกว่า Web of Science และค่อนมาทางสังคมศาสตร์ มากกว่า ในวงการใช้ทั้งสองตัว แต่ถ้าขอทุนวิจัยจาก สกว และสำหรับบางมหาวิทยาลัย เขาให้ความสำคัญกับ Web of Science มากกว่า Scopus ค่ะ

  2. ขอบคุณอาจารย์ครับเขียนดีมากๆครับ อยากสอบถามว่าถ้าจะส่งผลงานไปตีพิมพ์วารสารต่างประเทศผมควรดูจาก IF หรือ SJR ครับเพราะจากที่อาจารย์ให้ข้อมูลมาถึงที่มาก็ดูเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดได้ดีทั้งสองตัว ในวงการศึกษาเขาให้ความสำคัญตัวไหนมากกว่ากันครับ

ใส่ความเห็น