Learning How to Learn – เทคนิควิธีเรียนรู้เรื่องยากๆ

Screen Shot 2563-05-19 at 06.27.09

What is Learning ?

การเรียนรู้คืออะไร? เมื่อเราไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง เราจะทำอย่างไร? สมองมีความสามารถในการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง ถ้าเราเข้าใจวิธีการทำงานของสมอง เราจะสามารถเรียนรู้ได้ลึกซึ้ง เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และท้อแท้น้อยลง คนเรามีการคิดอยู่ 2 รูปแบบ การคิดโหมดจดจ่อ (Focused Mode) และ การคิดโหมดกระจัดกระจาย (Diffuse Mode) เราไม่สามารถใช้สองโหมดในเวลาเดียวกันได้ เวลาที่คิดจดจ่อใช้สมาธิมากๆ อาจคิดไม่ออก ให้ใช้เทคนิคที่ โทมัส อันวา เอดิสัน นักประดิษฐ์คนสำคัญของโลก ก็ใช้เช่นกัน คือการนั่งผ่อนคลาย ปล่อยความคิดเป็นอิสระ คิดถึงสิ่งที่กำลังจดจ่อเพียงลางๆ ในมืออาจถือของบางอย่างเอาไว้ เช่น ลูกกุญแจ พอเคลิ้มหลับ กุญแจร่วงตกลงพื้น จะทำให้ตื่น สมองจะรวบรวมความคิด (Idea) ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก Diffuse Mode กลับเข้าสู่ Focused Mode และเชื่อมโยงเอาความคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาใช้ต่อยอดได้ด้วย

สรุปคือ เวลาที่เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่เคยทำมาก่อน หรือทำอะไรที่ค่อนข้างยาก ต้องมีโอกาสสลับสมองไปมาระหว่างทั้งสองโหมด จะช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Procrastination and  Memory

ทุกคนล้วนมีปัญหากับการผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination)

ตัวอาจารย์ผู้สอนเอง คือ ดร.บาบาร่า โอ็คเล่ย์  (Barbara Oakley) ตอนเด็กๆ เกลียดวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่ตอนนี้กลายเป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมไปได้ ในอดีตเคยทำงานเป็นทหาร เป็นนักแปลภาษารัสเซีย และเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมวิทยุที่สถานีวิทยุแอนตาร์กติกาที่ขั้วโลกใต้ที่หนาวเย็นมาก

การนอนหลับ หรือการงีบหลับ เป็นเทคนิคที่สำคัญของการเรียนรู้ การนอนหลับจะทำให้สมองได้รับการอัพเกรด แม้

Chunking

การเรียนรู้เกิดขึ้นในสองทิศทาง คือ

  • Bottom up learning การสร้างกลุ่มก้อนความคิด (Chunking) จากล่างขึ้นบน ด้วยการฝึกฝนและทบทวน ซึ่งช่วยสร้างและทำให้แต่ละกลุ่มก้อนแข็งแรง ง่ายต่อการเข้าถึง
  • อีกทิศทางคือ Top down learning การมองภาพรวม (Big picture) จากบนลงล่าง ซึ่งทำให้เห็นว่าสิ่งที่กำลังเรียนรู้ควรอยู่ตรงไหน 

ส่วนตรงที่การเรียนแบบบนลงล่าง และล่างขึ้นบนมาบรรจบกัน นั้นคือ บริบท (Context) การสร้างกลุ่มก้อนความคิด เกี่ยวกับการเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาบางอย่าง การเพิ่มบริบท คือ การเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะใช้เทคนิคนั้น ไม่ใช่เทคนิคอื่น

Screen Shot 2563-05-19 at 09.43.38

การทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน  เช่น เปิดทีวีค้างไว้ คอยเช็คมือถือ รับโทรศัพท์ และเช็คอีเมล์ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้การสร้างกลุ่มก้อนความคิดได้ยากขึ้น เพราะสมองไม่ได้จดจ่อกับเนื้อหาใหม่ๆ อย่างแท้จริง ถ้าพูดเปรียบเทียบ อาจกล่าวได้ว่า หนวดปลาหมึกของเราไม่สามารถเอื้อมไปได้ดีนัก ถ้าบางหนวดต้องถูกเอาไปใช้ทำงานอย่างอื่น ทั้งๆที่เรามีความจำส่วนปฏิบัติการ (Working Memory) อยู่จำกัด 

รูปแบบประสาทที่เป็นพื้นฐานของความชำนาญที่แท้จริง

Renaissance Learning and Unlocking Your Potential

เคล็ดลับที่จะช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น  คือ 1) การออกกำลังกาย (Physical Exercise) ในบางส่วนของสมอง มีเซลล์ประสาทเกิดใหม่ทุกวัน

เราไม่จำเป็นต้องอิจฉาคนที่มีพรสวรรค์เป็นพิเศษ (Genious)

นี่เป็นเพียงบางส่วนของวิชา Learning How to Learn: Powerful mental tools to help you master tough subjects หากสนใจเทคนิควิธีการเรียนรู้เรื่องที่ยาก โดยไม่ท้อถอย สามารถไปลงทะเบียนเรียนเองได้ที่เว็บไซต์ของ Coursera ค่ะ

https://www.coursera.org/learn/learning-how-to-learn/home/welcome

การเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ

วันที่ 16 มี.ค. 52 เป็นวันที่ 4 ของโครงการฝึกอบรมทักษะในการทำงานของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ วันนี้เรียนเรื่อง “การเรียนรู้ควบคู่ไปกับปฏิบัติ และการถอดบทเรียนการทำงาน” … จาก อ. สัณหกิจ รัตนกุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เป็นเรื่องทำนองการจัดการความรู้ และกรณีศึกษาของการสร้าง Knowledge Asset ของหน่วยงาน สสส. เนื่องจากวิทยากรเป็น HR ของที่นั่น … เก็บตกบางข้อความ (ที่ตัวเองสนใจ) นำมาฝากดังนี้ค่ะ

  • “การทำงาน” นับเป็นเวทีชั้นยอดของการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
  • “มืออาชีพ” คือคนที่รู้จริง ทำงานบนพื้นฐานขององค์ความรู้ ทำงานเชิงรุก คิดเชิงยุทธศาสตร์ มองไปข้างหน้า และคิดเชิงบวก (ทั้งคน ทั้งงาน)
  • การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียงจากมากไปน้อย มีดังนี้
  • 1) มองเห็น 75% 2) ได้ยิน 13% 3) จับต้อง 6% 4) ดมกลิ่น และ 5) ชิมรส อย่างละ 3%

  • แนวโน้มการจดจำของเรา ….
  • เราจะจำได้เพียง 10% จากการอ่าน 20% จากการฟังหรือได้ยิน และ 30% จากการเห็นภาพ แต่ถ้าเห็นและได้ยินพร้อมๆ กัน เช่น ชมการสาธิต จะจำได้ 50% และถ้าได้พูดด้วย เช่น มีส่วนร่วมในการอภิปราย พูดให้คนอื่นฟัง หรือเป็นผู้บรรยาย จะจำได้ 70% แต่ที่สุดยอดคือ ทั้งพูดและทำ ลงมือปฏิบัติด้วย จะจำได้มากถึง 80%

กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคน นั้นไม่เหมือนกัน …

  1. พวก Reflector : เรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสังเกตเอง
  2. พวก Theorists : เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ เข้ารับการอบรมสัมมนา
  3. พวก Partnerships : เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม
  4. พวก Activist : เรียนรู้จากการลงมือทำ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  5. พวก Pragmatists : เรียนรู้จากการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้รู้

สุดท้าย วิทยากรเล่าให้ฟังถึงกรณีศึกษาการถอดบทเรียนจากการทำงาน ของชาว สสส. ซึ่งจะมีการจัดทำผลงานที่ได้จากการปฏิบัติงาน เป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. การเขียนสรุปบทเรียน (Lesson Learned) จากการทำงาน หรือการทำ AAR (After Action Review) หลังการทำงาน
  2. การเขียนเอกสารพัฒนาระบบ หรือเครื่องมือ คู่มือในการปฏิบัติงาน
  3. การเขียนงานวิจัยสำรวจ

พอได้ผลงานมาแล้ว ก็มีการจัดการประกวดผลงาน จัดงานมหกรรมแสดงผลงาน ให้เงินรางวัลผู้ที่ส่งผลงาน โหวตผลงานดีเด่น นำผลงานไปใช้ และจัดเก็บเป็นคลังความรู้ (Knowledge Asset) …. ไม่รู้ว่าเป็น R2R หรือไม่ รู้แต่ว่าได้ประโยชน์และเห็นคุณค่า …

ความจริง การเขียน Blog แบบนี้ ก็น่าจะเป็นการเขียนสรุปบทเรียน (Lesson Learned) ได้เหมือนกันนะ !