AI For Everyone – วิชาน่าเรียนจาก Coursera

MOOC Coursera มีวิชาที่ชื่อว่า  AI for Everyone มีผู้เรียนมากกว่า 3.5 แสนคนจากทั่วโลก สอนโดย Andrew Ng – Adjunct Professor ของ Stanford University หลายคนคงจำได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera โดยนำวิชา  Machine Learning ที่สอน มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้าง MOOC บนระบบ Coursera และ

วิชา AI for Everyone นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องวิศกรรมศาสตร์ แต่ต้องการทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยี AI คืออะไร  คำศัพท์คำว่า AI, Neural Network, Machine Learning, Deep Learning, Data Science มีความหมายต่างกันอย่างไร AI สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรและธุรกิจของเราได้อย่างไร  AI มีผลกระทบอย่างไรต่อจริยธรรมและสังคม และแน่นอนว่า ไม่มีอุตสาหกรรมใดที่จะไม่ถูก AI สร้างผลกระทบอย่างมากในหลายปีข้างหน้า อาจารย์สอนสนุกและง่ายต่อการเรียนมาก เนื้อหาในบทเรียนพอสรุปได้ดังนี้ค่ะ

What is AI?

AI ประกอบด้วยความคิดสองอย่างที่แยกกัน ความก้าวหน้าทาง AI เกือบทั้งหมดที่เราเห็น ในวันนี้คือ Artificial Narrow Intelligence (ANI) ซึ่งเป็น AI ที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลำโพงอัจฉริยะ รถยนต์ที่ขับได้ด้วยตัวเอง AI ในการค้นเว็บ หรือ AI ในโรงงาน เป็นต้น แต่ AI ยังอาจหมายถึง Artificial General Intelligence (AGI) ซึ่งเป็นเป้าหมายในการสร้าง AI ที่สามารถทำอะไรก็ได้เท่าที่มนุษย์ทำได้หรืออาจจะเป็น Superintelligences ที่ทำได้มากยิ่งกว่ามนุษย์

ตัวอย่างเช่น

Screen Shot 2563-05-20 at 05.49.51

DATA

ข้อมูล หรือชุดข้อมูล

การสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้ หรือประเภทของพฤติกรรม สังเกตว่าลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์หรือเปล่า จากพฤติกรรมในการซื้อหรือไม่ซื้อสินค้า

CEO ของบริษัทใหญ่ๆ มักบอกว่า “ให้เวลาผมสร้างทีม IT สักสามปี เรากำลังเก็บข้อมูลเยอะมาก หลังจากสามปีเราจะมีชุดข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ แล้วเราจะได้เริ่มทำ AI กัน” วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่แย่มาก แท้จริงสิ่งที่ควรทำคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มเก็บข้อมูล ควรเอาข้อมูลพวกนั้นมาแสดงหรือส่งต่อให้กับทีม AI เลย เพราะบ่อยครั้งที่ทีม AI สามารถให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้แก่ทีม IT ว่า ข้อมูลแบบไหนที่ต้องรวบรวม โครงสร้างพื้นฐานของ IT แบบไหนที่ต้องสร้างขึ้น พยายามเก็บข้อเสนอแนะจากทีม AI ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะมันสามารถช่วยคุณ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน IT ได้ดีขึ้น

การใช้ข้อมูลในทางที่ผิดอย่างที่สอง คือ CEO บางคน อ่านจากข่าวต่างๆ ว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญ แล้วก็พูดว่า “เฮ้! ผมมีข้อมูลเพียบเลย ผมมั่นใจว่าทีม AI จะทำประโยชน์จากมันได้” น่าเศร้าที่มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ปกติแล้ว มีข้อมูลเยอะ ย่อมดีกว่ามีข้อมูลน้อย แต่ไม่ใช่เพียงเพราะมีข้อมูล หลาย terabytes แล้วทีม AI จะสามารถทำประโยชน์จากมันได้ อย่าเพียงแต่โยนข้อมูลให้กับทีม AI และสันนิษฐานเองว่ามันมีประโยชน์

สุดท้าย คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า เอาขยะเข้าไป ได้ขยะออกมา (Gabage in, Gabage out) ถ้ามีข้อมูลที่ไม่ดี AI ก็จะเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทีม AI จะต้องหาวิธีในการทำให้ข้อมูลสะอาด หรือจัดการกับข้อมูลที่ผิด และข้อมูลที่ขาดหายไป

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data)

Machine Learning & Data Science

Neural Network & Deep Learning

กับ Data Dcience ในอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์ 

Screen Shot 2563-05-20 at 09.56.52

Building AI Projects

Building AI In Your Company

  • ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี ข้อมูล และทรัพยากรด้านวิศวกรที่มี
  • ข้อที่สอง จงอย่าจ้าง M
  • ข้อที่สาม จงอย่าคาดหวังว่าโครงการ AI จะสำเร็จได้ในครั้งเดียว 
  • ข้อที่สี่ อย่าคาดหวังว่าจะใช้กระบวนการวางแผน
  • ข้อสุดท้าย อย่าคิดว่าจำเป็นต้องมี

AI and Society

งานของมนุษย์ในอนาคตหลายอย่างยังไม่มีชื่อเรียกตำแหน่งงานนั้นในตอนนี้ด้วยซ้ำ เช่น เราอาจมี งานควบคุมการจราจรของโดรน งานออกแบบเสื้อผ้าที่พิมพ์ 3 มิติ มีนักออกแบบยาที่ปรับแต่งตาม DNA เป็นต้น งานประเภทที่ต้องทำ

คุณไม่ควรลาออกจากงานที่ทำ เพื่อมาเรียน AI

สนใจเรียน AI for Everyone ลงทะเบียนเรียนได้ที่ https://www.coursera.org/learn/ai-for-everyone ผู้เขียนเริ่มจบแล้ว สอบผ่านด้วยคะแนน 94% และได้ประกาศนียบัตรมาเรียบร้อยแล้วค่ะ

Screen Shot 2563-05-20 at 09.40.24

ได้ MOOC Certificate ใบที่ 7 มาแล้ว

ห่างเหินการเรียน MOOC มานาน เพราะทำงานบริหารไม่มีเวลา (ใบที่ 6 เรียนเมื่อปี 2560) ใบนี้เป็นใบที่ 7 เป็นการเรียน Coursera ในวิชา AI for Everyone สอนโดย Prof. Andrew Ng (แอนดรูว์ อึ้ง) Adjunct Professor, Computer Science Department, Stanford University นักวิจัยด้าน AI & Machine Learning ระดับโลก หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Coursera และ Google Brain เคยทำงานให้ Baidu Research และปัจจุบันเป็นเจ้าของ deeplearning.ai

Screen Shot 2562-07-13 at 23.15.12.png

AI for Everyone เป็นวิชาที่ทุกคนควรหาโอกาสมาเรียน เพราะจะทำให้เข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยี AI ที่จำเป็นต่อโลกในอนาคต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต
อาจารย์สอนสนุก พูดชัด เข้าใจง่าย ลำดับเนื้อหาได้ดีมาก ระยะเวลาเรียนกำหนดไว้ 4 Weeks ประกอบด้วย
  1. What is AI ?
  2. Building AI Projects
  3. Building AI In Your Company
  4. AI and Society

เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียน ขอตัดข้อความจากบทสรุปที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ในบทสุดท้าย ดังนี้

In the first week, you learned about AI technology, what is AI and what is machine learning?  What’s supervised learning, that is learning inputs, outputs, or A to B mappings.  As well as what is data science, and how data feeds into all of these technologies? Importantly, you also saw examples of what AI can and cannot do.

 

In the second week, you learned what it feels like to build an AI project. You saw the workflow of machine learning projects, of collecting data, building a system and deploying it, as well as the workflow of data science projects. And you also learned about carrying out technical diligence to make sure a project is feasible, together with business diligence to make sure that  the project is valuable, before you commit to taking on a specific AI project.

 

In the third week,  you learned how such AI projects could fit in the context of your company.  You saw examples of complex AI products, such as a smart speaker, a self-driving car, the roles and responsibilities of large AI teams. And you also saw the AI transmission playbook, the five step playbook for helping a company become a great AI company.  I hope these materials throughout these first three weeks can help you brainstorm AI projects or think about how you might want to use AI in your company or in your organization.

 

In this week, week four, you learned about AI and society. You saw some of the limitations of AI beyond just technical limitations, and also learned about how AI is affecting developing economies and jobs worldwide.

 

You’ve learned a lot in these four weeks, but AI is a complex topic. So I hope you will keep on learning,  whether through additional online courses, through Coursera or deeplearning.ai, or books, or blogs, or just by talking to friends.

 

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และระบบผู้เชี่ยวชาญ

การตัดสินใจ (Decision making) เป็นกระบวนการที่เกิดอยู่เสมอทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน เราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจได้ และทำให้สามารถนำข้อมูลขององค์กรไปใช้ในการก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน

  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) เป็นระบบที่เสนอทางเลือกให้ตัดสินใจ โดยใช้แบบจำลองทางคณิคศาสตร์เป็นหลัก ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ส่วนจัดการข้อมูล (data management) ส่วนจัดการแบบจำลอง (model management) และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ปัจจุบันเพิ่มส่วนจัดการความรู้ (knowledge-based management) ซึ่งใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence – AI) เป็นพื้นฐาน เข้าไปด้วย เพื่อเสริมระบบให้มีความชาญฉลาด
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) เป็นระบบที่ใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการดำเนินการช่วยตัดสินใจ เป็นการใช้ความรู้เชิงคุณภาพเป็นหลัก ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ฐานความรู้ (knoweldge base) กลไกอนุมาน (inference engine) และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) และใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence – AI) เป็นพื้นฐานของระบบ