เก็บตก งานสัมมนา Social Media Conference 2010 (ตอนที่ 9)

เล่าเรื่องไปฟังสัมมนา Social Media Conference 2010 เมื่อวันที่ 23-24 มี.ค. 53 ที่ผ่านมา

อ่านตอนเก่าๆ ย้อนหลังได้ที่ [ ตอน 1 ] [ ตอน 2 ] [ ตอน 3 ] [ ตอน 4 ] [ ตอน 5 ] [ ตอน 6 ] [ ตอน 7 ] [ ตอน 8 ] และสมัครเป็น Fan Facebook ของงานสัมนนานี้ได้ที่ “Social Media Club”

วิทยากรคนสุดท้ายของงานสัมมนานี้ คือคุณ @iPattt เจ้าของบริษัทไทเกอร์ไอเดีย TiGERiDEA ที่รับออกแบบเว็บไซต์ให้สำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นมือ keyboard เจ้าของวงดนตรี iHear Band ซึ่งจะมาเล่นให้ฟังหลังจบงานสัมมนาด้วย .. ทำ slide บรรยายได้น่ารักดี เป็นรูป Mr. Bean ล้อเลียนผู้บริหาร (ประเทศ) [ slide ประกอบการบรรยาย อ่านได้ที่นี่ค่ะ ]

@iPattt ออกแนวโต้แย้งความคิดเห็นของ พ.ต.อ. ญาณพล (เขียนเอาไว้ใน ตอนที่ 8) ในเรื่องของพฤติกรรมการใช้ social media ของคนรุ่นใหม่ โดย @iPattt กล่าวว่า คนดังแล้วจะไม่ค่อยอยากให้คนตาม ดังนั้นจึงไม่เล่น location-based จำพวก Foursquare เพราะไม่อยากให้ใครรู้ว่าขณะนี้อยู่ไหน แต่คนไม่ดัง จะอยาก share ซึงจะทำให้เรามี perspective มีมุมมองที่กว้างไกล / old mindset เปรียบเหมือนก้อนหินในป่าใหญ่ ทำอะไรต้องระวังตัว เพราะคนเห็น แต่ Open mindset เปรียบเหมือนเม็ดทรายบนชายหาด ต้องเปิดเผยตัวเอง ต้อง share ความคิดออกมาสู่โลก มิฉะนั้นเราจะตายโดยไม่มีใครเห็น .. online asset คือหมุดเล็กๆ ที่ส่งออกมา เราต้องส่งออกมาบ่อยๆ และมากๆ ถ้า “โดน” ก็จะกลายเป็นจุดสนใจ

อืมมม … ฟังดูแล้วเห็นได้ชัดถึงวิธีคิดที่แตกต่าง ระหว่างผู้ใหญ่ผ่านโลกมามาก และเด็กที่กำลังโตต่อไปในโลกอนาคต … อ่านแล้วใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเอาเองนะคะ โดยส่วนตัวเราชอบ @iPattt นะ เป็นคนรุ่นใหม่ ทำอะไรได้หลายอย่าง … เวลาไปเดินเล่นที่ The Emporium ตอนเย็นๆ เจอวง iHear Band มารับ job เล่นดนตรีให้ลูกค้าฟังที่ลานชั้น 1 บ่อยเลย !

@Ipatt พูดถึง 3 ขั้นตอนของการใช้ Social Media ในองค์กร ในฐานะผู้มีประสบการณ์ (สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จ้างบริษัท OpenDream ทำเว็บ และจ้างบริษัท TiGERiDEA เป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบ) 3 ขั้นตอนที่ว่านั้น คือ 1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนขององค์กร ว่าจะใช้ social media ไปทำไม 2. ใครคือผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. แผนการใช้ Social Media ขององค์กร .. แต่ที่สำคัญคือ เวลาวางแผนทำเว็บ อย่าเรียกประชุมใหญ่หลายหน่วยงาน เพราะจะหลงทาง คนที่ไม่รู้เรื่องจะพยายามเสนอความคิดเห็น ต้องดู user view เท่านั้น ถ้าภายใน 8 วินาทีดูแล้วไม่ชอบ ก็จบ ! .. กรณีเว็บของนายกรัฐมนตรี จะใช้วิธีเขียน blog แบบสบายๆ และใส่รูปสวยๆ ใน flickr ของสำนักนายกฯ จากนั้นยิง link กลับไปเว็บหลักของนายกฯ … ในเว็บมีระบบ vote ทีคล้าย digg.com มีคำถามเข้ามามาก วันละ 7,000 นายกฯ ตอบไม่ไหว แต่จะแล้วเลือกตอบ 3 คำถามต่อสัปดาห์ เอาไปออกรายการ นอกจากนั้น ก็มี twitter และ Facebook ด้วย ..ส่วนเว็บของคุณกรณ์ มีคนเข้าน้อย แต่ Twitter, Facebook จะฮิตกว่า ดังนั้น อาจไม่จำเป็นต้องเน้นทำเว็บ ส่วนคุณทักษิณจะใช้ twitter และ USTREAM TV channel เป็นหลัก

ได้ยกตัวอย่างองค์กร กรณี EGAT การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นองค์กรใหญ่ที่คิดว่าไม่มีวันล้ม ก็จะทำเว็บอย่างเดียวก่อน แต่ถ้าไม่แน่ใจ อยากใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น ควรเริ่มทำ social media เช่น การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แต่ถึงจะไม่ทำก็ควรรีบไปจดทะเบียนชื่อใน social media เสียก่อน เพราะอาจถูกคนอื่นแย่งชื่อไปใช้ได้ !! ส่วนโรงแรมที่ชื่อไม่ดัง คนไม่รู้จัก ถ้าอยากให้คน search คำว่า “hotel bangkok” แล้วเจอเรา ควรทำการตลาดบน google map ด้วย โดยส่วนตัวคุณ @iPattt ใช้ twitter ในการ track งานและส่งงานผ่านมือถือ ให้ทุกคนในบริษัทและนอกบริษัทได้เห็น ยกเว้นข้อความส่วนตัวจะส่งแบบ DM (direct message) มีการทำ KM in action ผ่าน YouTube (แต่บางเรื่องอาจจะ set private ก็ได้) มีการให้ลูกน้อง update งานผ่านทาง e-mail … สรุปว่า ถ้าต้องการทำให้องค์กรของคุณดูโปร่งใส ให้ทุกคนเข้าใจกัน ไม่เกิดปัญหาการเมืองในบริษัท ใช้ social media จะช่วยแก้ไขได้

สุดท้าย ได้แนะนำให้ใช้ social media สำหรับองค์กร 3 ตัว คือ elgg.com (Open source social network platform) เปรียบเสมือนเป็น facebook ภายในองค์กร อีกตัวคือ Sharepoint ของ Microsoft และอีกตัวคือ Buddypress.org เป็น wordpress social network software ซึ่งใช้ง่ายดี

ใส่ความเห็น