ประเด็นและทิศทางการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ (3)

เขียนต่อจาก [ ตอนที่ 1 ] [ ตอนที่ 2 ]
สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ประเด็นและทิศทางการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ ที่ หลักสูตร Information Science ของ มสธ. จัดขึ้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554

รศ.ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ Research Areas สาขาสารสนเทศศาสตร์ ไว้ด้งนี้

  • Information representation (and organization) แนวคิดวิจัยแบบเดิมคือ เอาหัวเรื่อง หมวดหมู่มาวิเคราะห์ ปัจจุบันน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว เราไม่สามารถจัดหมวดหมู่แบบ top down ได้ ต้องมองในสภาพแวดล้อมใหม่ ตอนนี้งานวิจัยหันไปทาง metadata แต่มักให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานมากเกินไป โดยเฉพาะที่อเมริกา ท้ายสุดจะกลายเป็นกลุ่มใครกลุ่มมัน
  • Bibliometrics / Infometrics / webometrics ศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ วรรณกรรมที่เป็น artifact จับต้องได้ (ไม่ใช่เฉพาะหนังสือเท่านั้น) เป็นงานวิจัยที่ศึกษาการสื่อสารในวงวิชาการ (scientific communication) Bibliometrics เป็นการศึกษา citation analysis เชิงปริมาณเท่านั้น ไม่มีมิติอื่น (แต่ถ้าเพิ่มมิติอื่นเข้าไปด้วย จะทำให้งานวิจัยตอบโจทย์ได้ดีขึ้น) เป็นสารสนเทศในการตัดสินใจ ที่มองสารสนเทศเป็นสัญญาน (signals) รับ-ส่ง ตามทฤษฎี information theory ของ Shannon แต่หากจะมองให้กว้างขึ้น ต้องมีส่วนของความคิด ความเข้าใจ (cognitive process) จะต้องคำนึงถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ การใช้ ภาระงาน (tasks) เช่น งานวิจัยของ Wilson และ Karen (Pettigrew) Fisher
    Bibliometrics เป็นความพยายามนำการวัดเชิงปริมาณมาใช้ ตามกฎของ Bardford’s law, Lotka’s law ซึ่งมองการกระจายตัวของผู้เขียน ข้อสังเกตคือ คนที่ผลักดันงานวิจัย มักเป็นพวกที่อยู่แนวหน้า (research front) คือคนที่มีงานวิจัยเยอะมาก ซึ่งจะมีจำนวนแค่ 5-20% ของคนทั้งหมดเท่านั้น และการใช้สถิติ t-test, f-test วัดออกมาเป็น Gaussian (normal) distribution ไม่ใช่การวัดสารสนเทศ
  • Information behavior เพื่อพัฒนาปรับปรุงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ human-computer interaction (HCI) / model ของ information seeking เปลี่ยนจากการศึกษาเอกสารและห้องสมุด มาเป็นศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ (user behavior) เป็นการศึกษาผู้ใช้ (user studies) และกลายมาเป็น information behavior model
  • Digital Libraries เรื่องนี้เป็น area ที่ใหญ่ กำลังเติบโต และได้รับทุนสนับสนุนมากทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะจาก NSF แต่ข้อสังเกตคือ “Digital” big แต่ “Library” small มีประเด็นที่น่าสนใจคือโครงการ Memory of the World ของ UNESCO เพื่อสร้างสารสนเทศจากความทรงจำของคนในอดีต อย่างไรก็ตาม การสร้าง Digital Library มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะประเทศผรั่งเศส จะคัดค้านแนวความคิด Googlization of the World เพราะเห็นว่าองค์ความรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ค้นหาจาก Google เท่านั้น และการค้นแต่ Google จะเป็นพฤติกรรมที่มีผลกระทบตามมา

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (Juncture) ของ Information science
ในโลกของ information science แม้ว่าเราจะเป็นศาสตร์ เป็นสหวิทยาการ แต่อีกมุมมองหนึ่ง มีนักวิชาการหลายกลุ่มที่กำลัง move เข้ามาในนี้ เช่น แพทย์ พยาบาล นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ปัจจุบัน computer science เกิดจุดสะดุด เพราะงานวิจัยด้าน hardware, software มักไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ เป็นตัวผลักดันความก้าวหน้า ไม่ใช่มาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ดังนั้น CS จึงหันมาสนใจสารสนเทศศาสตร์ในลักษณะ iSchool มีการหันมาสนใจ social informatics ด้วย ดังนั้นการวิจัยจึงเป็นกระบวนการที่ปฏิเสธไม่ได้ ถ้าต้องการแข่งขันเพื่อหาจุดยืนใหม่ของ field (big competition / fight for stakes) โลกของการวิจัยเป็นโลกของความซับซ้อน ต้องเอาความเชื่อของศาสตร์เข้ามาด้วย เป็น interdisciplinary

อาจารย์สมพร ได้ให้ข้อคิดว่า การบริโภคงานวิจัย ต้องเลือกบริโภคเฉพาะงานวิจัยที่ดี ผลงานวิจัยจะมาพร้อมความเชื่อส่วนบุคคล ดังนั้นมุมมองจากงานวิจัย ไม่ใช่มุมมองที่คนทั้งโลกเห็นด้วย และไม่ใช่ว่าเป็นงานวิจัย จะต้องเชื่อได้หมด ต้องมีวิจารณญานเอง เราไม่สามารถกำจัด bias ออกจากการวิจัย (control) ได้เหมือนวิทยาศาสตร์ แต่เราต้องควบคุม bias โดยเพิ่ม reliability ปัญหาการทำวิจัยของเราคือขาดพื้นฐานทางทฤษฎี อ่านน้อย ไม่คิดเชิงวิพากย์ อ่านแล้วลอก ไม่มีพื้นเลย

อาจารย์ได้ยกตัวอย่างดุษฎีนิพนธ์ที่น่าสนใจ ในการสร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีใหม่ ของ Chiraf Shah (2010) เรื่อง A Framework for Supporting User-Centric Collaborative Information Seeking (CIS) ภายใต้การดูแลของ Prof. Gary Marchionini และเห็นว่างานวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอก ต้องไม่ใช่แค่พัฒนาระบบ Systems Development Life Cycle (SDLC) แบบนักศึกษาปริญญาโทเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจกรอบแนวคิดและทำให้เกิดเป็นรูปธรรม แปลงเป็น function ได้

1 thoughts on “ประเด็นและทิศทางการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ (3)

ใส่ความเห็น