องค์กรระดับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มีลักษณะอย่างไร?

องค์กรที่มีคุณภาพ

  • เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีแ ละมีความสมดุลครบทุกด้าน
  • มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • มีขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างงเป็นระบบในทุกระดับ โดยมุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
  • สามารถขับเคลื่อนผลิตภาพ (Productivity) และคุณภาพ (Quality) ในระดับสากล
  • เกิดผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่ส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
  • มีภูมิคุ้มกันและความเข้มแข็งต่อ Disruption การผันผวนของตลาด เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
  • สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่น

Good Results Come From Good Process

หมวด 1 การนำองค์กร

  1. ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้ระบบการนำองค์กร (Leadership System) หรือทิศทางการดำเนินงานของผู้นำระดับสูง
  2. กำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ที่เหมาะสมกับทิศทางขององค์กร (ตัวอย่างเช่น ธนาคาร ธกส. – พันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” วิสัยทัศน์ “ธนาคารที่ดีที่สุด สำหรับการมีบ้าน”)
  3. กำหนดเป้าหมายองค์กรและตัวชี้วัดที่ชัดเจน ในขั้นตอนการทำแผนกลยุทธ์ประจำปี เพื่อมุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์
  4. กำหนดค่านิยมองค์กรเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของพันธกิจและวิสัยทัศน์
  5. ถ่ายทอด VMV ทิศทาง และเป้าหมายขององค์กร สู่การปฏิบัติ ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ และกระจายตัวชี้วัดลงถึงระดับบุคคล พร้อมสื่อสารไปยังบุคลากรทุกระดับ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกันทั้งองค์กร รวมทั้งสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรที่สำคัญ
  6. สมรรถนะหลัก (Core Competency) หรือความเชี่ยวชาญเป็นเลิศ (Excellence) ขององค์กรคืออะไร ?
  7. องค์กรกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอะไร ? ความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญ ส่งผลต่อสถานการณ์การแข่งขัน และโอกาสสร้างนวัตกรรม และเมื่อเผชิญแล้ว จะปรับการทำงานขององค์กร โดยอาศัยความได้เปรียบอะไรในเชิงกลยุทธ์ มีเส้นทางการพัฒนาอย่างไรในแต่ละปี และใช้เครื่องมือที่สำคัญอะไรบ้างในการปรับปรุงองค์กร ? (เช่น Balanced Score Card, KPI, PDCA, Lean, Six Sigma, ISO, TQA)
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำกิจกรรมสนับสนุนชุมชน และส่งเสริมความผาสุกให้แก่สังคม

หมวด 2 กลยุทธ์

  1. องค์กรต้องพัฒนากระบวนการวางแผนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เมื่อเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง
  2. ผสานกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Process) เข้ากับระบบการนำองค์กร (Leadership System)
  3. ค้นหาโอกาสเชิงกลยุทธ์ และ Intelligent Risk
  4. จัดทำแผนปฏิบัติการ Business Plan, Key Action Plan
  5. ใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการต่าง ๆ เช่น Benchmarking, Financial Feasibility, COSO – Risk Management, SWOT Analysis, PEST Analysis, Business Value Chain, Corporate KPI, Department KPI, Team KPI, Individual KPI

หมวด 3 ลูกค้า

  1. ใช้ระบบลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
  2. เรียนรู้ความต้องการและความคาดหวัง นำเสียงของลูกค้า (VOC) ที่ได้ มากำหนดแผนตลาด และแผนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ
  3. วางแผนกลยุทธ์ด้านการบริการลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีที่สุด โดยใช้ Customer Journey
  4. สร้างความสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตลูกค้า (Customer Life Cycle)
  5. จัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า ปลูกฝังบุคลากรในเรื่องการบริการที่เป็นเลิศ
  6. ทำการวิจัยตลาด สำรวจลูกค้าเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้น

หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้

  1. ใช้สารสนเทศติดตามการปฏิบัติการประจำวัน วัดผล และใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง
  2. มีระบบวัดผลการดำเนินงาน (Performance Measurement Process) ที่เป็นนวัตกรรมดิจิทัล และบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ ติดตามสารสนเทศของคู่แข่งและสถานการณ์ตลาด เพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วของผู้บริหาร (เช่น ใช้ Big Data Analytics)
  3. มีการประเมินความเสี่ยงทางด้านไอที จัดทำ Business Continuity Management (BCM) ระดับองค์กร
  4. สร้างการเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อยกระดับมาตรฐาน
  5. มีการจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

หมวด 5 บุคลากร

  1. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากร
  2. มี HR Operation Model เพื่อกำกับกระบวนการด้านบุคลากรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา การประเมิน การให้รางวัล การบริหารจัดการความผูกพัน การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ดูแลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ และสภาพแวดล้อมการทำงาน
  3. ใช้ Talent Management ในการ สรรหาและรักษาบุคลากร
  4. มีแผนการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับและบุคลากรที่มีศักยภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

หมวด 6 ปฏิบัติการ

  1. มีกระบวนการออกแบบและนวัตกรรมระบบงานโดยรวมอย่างเป็นระบบ ที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ
  2. ออกแบบกระบวนการทำงาน จัดทำมาตรฐานการทำงาน จัดทำข้อกำหนดของกระบวนการทำงานที่สำคัญ และกำหนดตัวชี้วัด Leading และ Lagging indicators (KPI) ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดระบบงาน และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร
  3. มีการติดตามการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานที่สำคัญต่าง ๆ
  4. ประเมินคุณค่าเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และผลการดำเนินการให้ดีขึ้น
  5. มีการทบทวน ประเมิน และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีวิธีการที่เป็นระบบในการจัดการนวัตกรรม
  6. มีกระบวนการควบคุมต้นทุน การเตรียมความพร้อมเพื่อความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน
  7. มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ เพื่อนำไปจัดทำแผน Business Continuity Plan (BCP) พร้อมทดสอบแผนเป็นประจำทุกปี

ตัวอย่าง ระบบการนำองค์กรของ Singapore Management University (SMU)

  • What do we want to achieve AND why is this important?
  • How will we get there AND what might get in the way?
  • Who is going to make change happen AND who will support them?
FROM EGO TO ECO / FROM ME TO WE / FROM PROTECTING TO SHARING

Reference: Inaugural Address : SMU President Professor Lily Kong, 12 February 2019 https://www.smu.edu.sg/sites/default/files/smu/inauguration/Inaugural_Presidential_Address.pdf

จะทำโครงการปันสุข ต้องเริ่มต้นที่สำนักงานเขต

วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 เริ่มทำโครงการ CSR ที่มีชื่อว่า เรือปันสุข ณ ทุ่งพญาไท ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ 1) หน่วยสังคมสัมพันธ์และความยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) โครงการเรือแบ่งปัน นาวา RILCA บริรักษ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และ 3) งานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Social Engagement) เป็นการขอรับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน จากอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป เพื่อไปช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะยากลำบากจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในชุมชนโดยรอบพืื้นที่แขวงทุ่งพญาไท ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ แต่จะไปช่วยเหลือชุมชนใด ยังไม่แน่ใจ ดังนั้น จึงตัดสินใจไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต

เมื่อได้เดินทางไปถึงสำนักเขตราชเทวี และมีโอกาสปรึกษาหารือกับหัวหน้าฝ่ายรายได้ (คุณประมวล) และรองหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม (คุณดล) ทำให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ว่าการบริจาคสิ่งของให้ชุมชน ไม่สามารถทำเองได้โดยพละการ ในช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ จำเป็นต้องแจ้งให้สำนักงานเขตทราบว่าจะไปที่ไหน เมื่อไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และมากันกี่คน เนื่องจากทางเขตจะต้องประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ลงพื้นที่ไปด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลและจัดระเบียบการแจก รวมถึงเตรียมแอลกอฮอล์ล้างมือ การตรวจวัดไข้ และจัดระยะห่างสำหรับประชาชนที่จะมารับสิ่งของ  เทศกิจ (ดูแลการจราจร) พัฒนาชุมชน (ประสานประธานชุมชน) โยธา (เตรียมโต๊ะเก้าอี้) ทหารตำรวจ (จัดระเบียบการเข้าแถวของผู้รับบริจาค) ในช่วงโควิดแบบนี้ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้นำของมาบริจาครวมแล้วนับหมื่นชิ้น ดูเหมือนจะไม่ขาดแคลน แต่อาจมีปัญหาบางบ้านที่ไม่ขึ้นทะเบียนชุมชน เนื่องจากปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ตกสำรวจและไม่ได้รับของแจก วิธีการแจก อาจส่งมอบของให้ประธานชุมชน นำไปแจกเอง หรือเดินแจกตามบ้านแบบเคาะประตูแจก (ซึ่งจะทำให้ทั่วถึงมากกว่า หากมีบ้านที่ตกสำรวจหรือมีผู้ป่วยติดเตียง และผู้แจกจะได้มีโอกาสเห็นภาพบรรยากาศด้วยตนเอง) ไม่แนะนำให้ตั้งโต๊ะแจกเองโดยไม่แจ้งสำนักงานเขต เพราะเสี่ยงกับการติดเชื้อ และหากคนเยอะ ของแจกไม่พอ อาจมีปัญหาความไม่พอใจ แย่งของ และมีเรื่องชกต่อยได้

นอกจากนั้น ยังมีเทคนิควิธีอื่น เช่น มอบเงินค่าอาหารให้ร้านค้าภายในชุมชน ตัวอย่างเช่น มอบเงินให้ 900 บาท สำหรับอาหารราคาจานละ 30 บาท จำนวน 30 จาน จากนั้นจัดทำคูปองอาหาร 30 ใบ (กำหนดระยะเวลาหมดอายุ) แจกให้ชาวบ้านไปซื้ออาหารจากร้านดังกล่าวในเวลาที่ต้องการ วิธีนี้ทำให้ร้านขายอาหารในชุมชนได้ประโยชน์ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ทางการจะพยายามหาทางส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่ม แทนที่จะรอรับบริจาค แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก ผลิตภันฑ์ที่ทำขึ้นในชุมชน มีคุณภาพพอใช้ได้ แต่ปัญหาคือระบบจัดการและทิศทางการตลาด ปัญหาชุมชนในกรุงเทพมหานครคือ ความจงรักภักดีต่อถิ่นที่อยู่อาศัยมีน้อย บางครอบครัวแม้เกิดที่นี่ ตายที่นี่ แต่ไม่ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน บางครอบครัวเพียงแค่มาพักอาศัยเพื่อทำงานรับจ้าง แต่บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัด จึงไม่ค่อยจะพยายามพัฒนาชุมชนของตัวเอง

เขตราชเทวีมีจำนวนทั้งสิ้น 24 ชุมชน ใน 4 แขวง ได้แก่ แขวงทุ่งพญาไท แขวงมักกะสัน แขวงถนนพญาไท และแขวงถนนเพชรบุรี ทางสำนักงานเขตแนะนำให้ไปชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ใกล้ตลาดรถไฟและโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร มีจำนวน 650 ครอบครัว และยากจน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง แต่เราเห็นว่าจำนวนครอบครัวมากเกินไป และอยากได้ชุมชนที่อยู่ใกล้มากกว่า ทางสำนักงานเขตจึงเสนอชุมชนซอยสวนเงิน ข้างโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและสี่แยกตึกชัย ซึ่งมีป้าสุดา เป็นประธานชุมชน เปิดร้านค้าประชารัฐกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งเป็นร้านสวัสดิการเพื่อชุมชน สามารถซื้อสินค้าราคาถูกได้ด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน มีตู้ปันสุขให้บริการอยู่หน้าร้านด้วย ซึ่งก็จะประสบปัญหาเหมือนตู้ปันสุขอื่นๆ ที่มีบางคนที่เอาของในตู้ไปมากเกินไป และมีการบริจาคเข้ามาน้อย

ชุมชนซอยสวนเงินมีจำนวน 230 ครอบครัว 139 หลังคาเรือน ชุมชนนี้ มีคนท้องถิ่นจริงๆ เพียง 40% ที่เหลือเป็นประชาชนแฝง คนที่อื่นมาเช่าพักอาศัยเพื่อทำงานหาเช้ากินค่ำ มีคนเร่ร่อนมาอาศัยนอนในสวนสาธารณะ (สวนมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (สวนเงิน) มีผู้ป่วยติดเตียง 1 คน อีก 3 คน เป็นอัมพฤต อัมพาต ขยับเดินได้นิดหน่อย มีผู้พิการ 11 คน (ทางการเคลื่อนไหว การได้ยิน และทางสายตา) คนต่างด้าว 200 คน (ส่วนใหญ่เป็นพม่า) ทำงานรับจ้าง ทำความสะอาด หรือขายของในหน่วยราชการ และ รพ. รามาธิบดี ซึ่งในช่วงโควิด ต้องสลับกันไปทำงาน หรือหยุดขายของทำให้รายได้น้อยลง

บริเวณสนามกีฬาใต้ทางด่วน มีศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (Primary Care Unit) สร้างโดยงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดำเนินการโดยโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโมเดลนำร่อง รองรับคนไข้ปฐมภูมิ มีพยาบาลและหัวหน้าศูนย์ดูแล สามารถจ่ายยาได้ ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เยี่ยมบ้าน และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเนื่องจากชุมชนอยู่ใกล้โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ชุมชนซอยสวนเงินค่อนข้างโชคดีเพราะได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์อยู่เสมอ เป็นพื้นที่ที่นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาปริญญาโท ใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูลสำรวจทำวิจัยอยู่เป็นประจำ มีแพทย์และพยาบาลจากสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ ในละแวกนี้ มาติดตามผลด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ชุมชนทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น ทำสบู่ เจลแอลกอฮอล์ เย็บหน้ากากอนามัยจากเศษผ้าชนิดกันฝุ่น pm 2.5 ที่ศูนย์ iMAC รามธิบดีบริจาคมาให้

ในแขวงทุ่งพญาไทแห่งนี้ มี 8 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนซอยสวนเงิน ชุมชนโค้งรถไฟยมราช ชุมชนหลังกรมทางหลวง ชุมชนมั่นสิน ชุมชนสระแก้ว ชุมชนสุเหร่าเพชรบุรีซอย 7 ชุมชนซอยแดงบุหงา และชุมชนหน้าวัดมะกอก ทั้ง 8 รวมตัวกันเป็นเครือข่ายชุมชนต้านภัยโควิด-19

วันที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00 น. จะกลับมาที่ชุมชนซอยสวนเงินอีกครั้ง เพื่อทำกิจกรรม เรือปันสุข ณ ทุ่งพญาไท — แล้ววันหลังจะเล่าให้ฟังค่ะ

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่พระราชวังพญาไท

เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563 พระราชวังพญาไท กลับมาเปิดให้บริการเข้าชมอีกครั้ง หลังจากปิดไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้มีโอกาสไปเข้าชม โดยทางชมรมคนรักวัง หรือ มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไทในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้จัดมัคคุเทศก์อาสาสมัครมาทำหน้าที่นำชม เสียค่าบัตรเข้าชมเพียง 40 บาท ใช้เวลาเดินชมเกือบ 2 ชั่วโมง หากขับรถยนต์ส่วนตัวมา สามารถจอดได้ที่อาคารจอดรถของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งให้ประชาชนทั่วไปจอดได้ที่ชั้น 8-9 สะดวกมากค่ะ เปิดให้ชม 2 รอบ เวลา 9:30 และ 13:30 น. ในวันเสาร์ และอาทิตย์ วันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 10:00 และ 13:30 น.

ขากลับยังได้รับแจก DVD สารคดี ตามรอยเสด็จประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ของธนาคารออมสิน ที่ถ่ายทำในปี 2557 ความยาว 2 ชั่วโมง ให้เสียงบรรยายโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา อีกด้วย

24

วังพญาไท เป็นพระราชวังเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เดิมเป็น โรงนาหลวงพระยาไทย ทำนาโดยใช้น้ำจากคลองพระยาไทย ที่ขุดแยกออกมาจากคลองสามเสน เคยมีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่นี่ ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างหมู่พระที่นั่งเพิ่มเติมโดยใช้สถาปัตยกรรมตะวันตก และเสด็จมาประทับที่นี่ พระที่นั่งทั้ง 5 องค์ มีชื่อที่คล้องจองกัน คือ ไวกูณฐเทพยสถาน  – พิมานจักรี – ศรีสุทธนิวาส – เทวราชสภารมย์ – และ อุดมวนาภรณ์ 

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ในช่วงหนึ่ง พระราชวังพญาไท ได้กลายเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “Phya Thai Palace Hotel” เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยี่ยน และติดต่อธุรกิจในประเทศสยาม และหารายได้ในการบำรุงรักษาพระราชวังด้วย ป็นสถานที่จัดประชุมก่อตั้งสโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ และสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475  เป็นที่ตั้งกองเสนารักษ์ กระทรวงกลาโหม และกลายมาเป็นพื้นที่ของโรงพยาบาลพระมุงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ในที่สุด

ทั่วบริเวณพระราชวัง จะเห็น ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ รร.6 ตามที่ต่าง ๆ หลายรูปแบบ ย่อมาจาก                 “สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ ๖ หรือ “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖” 

3

4

ถัดจากพระที่นั่งพิมานจักรี จะยาวต่อไปทางทิศตะวันออก เป็นพระที่นั่งไวยกูณฐเทพยสถาน ซึ่งพระที่นั่งทั้งสององค์นี้เชื่อมต่อกันคล้าย ๆ กับเป็นองค์เดียวกัน 

ส่วนทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี จะเชื่อมต่อไปยังพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ซึ่งเป็นสถานที่รับรองเจ้านายฝ่ายใน เดิมพระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่าพระที่นั่งลักษมีพิลาส ตั้งตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ

6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพในปีมะโรง ดังนั้น ในพระราชวังจึงเห็นมี ภาพนูนที่ผนังบ่อน้ำ เป็นรูปพญามังกรถือวชิราวุธ หรือวัชระ อาวุธของพระอินทร์ ซึ่งเป็ฯพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระองค์ และมีภาพเขียน พญามังกรห้าเล็บ เทคนิคสีปูนแห้งบนเพดานในห้องพระบรรทม

148พระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฎราช เป็นพระพุทธรูปประจำวังพญาไท ปางนากปรก ประจำวันเสาร์ (วันพระราชสมภพ) 

7

ชวนเที่ยวชุมชนกุฎีจีน พื้นที่ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ

เชิญชวนไปท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ย่านชุมชนกุฎจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากันค่ะ

ไปเดินเล่นที่นั่น ติดต่อกัน 2 อาทิตย์ ครั้งแรกเมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2563 โดยขึ้นรถไฟใต้ติน MRT ไปลงที่สถานีสามยอด

MRT สถานีสามยอด

เดินต่อไปยังพาหุรัด มุ่งหน้าไปทางปากคลองตลาด จนถึงพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระปฐมบรมราชานุสรณ์

จากนั้น เดินขึ้นสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งธนบุรี

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

เดินผ่านเข้าไปในวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร แวะสักการะพระบรมธาตุมหาเจดีย์

พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร

ตรงไปในซอยกุฎีจีน ซึ่งอยู่ระหว่างโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนต์ และโรงเรียนซางตาครู้สศึกษา จนถึงโบสถ์ซางตาครู้ส หรือวัดซางตาครู้ส หรือวัดกุฎีจีน ซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ของชาวโปรตุเกส สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โบสถ์ซางตาครู้ส

ผ่านไปจนถึงท่าน้ำวัดซางตาครู้ส จะมีทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เดินตรงไปจะพบ ศาลเจ้าเกียนอันเกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม อยู่ทางซ้ายมือ

ศาลเจ้าเกียนอันเกง (ศาลเจ้าแม่กวนอิม)

เดินต่อไปจนถึงวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (พระอารามหลวง)

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

ถัดจากวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะมองเห็นป้อมวิไชยประสิทธิ์

ป้อมวิไชยประสิทธิ์

สิ้นสุดการเดินท่องเที่ยวในวันอาทิตย์แรก ยังเดินได้ไม่ทั่วถึง จึงต้องกลับมาใหมในวันอาทิตย์ถัดไป ภาพจาก Google Map จะทำให้มองเห็นภาพรวมของทั้งสองฝั่งริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสะดวกในการเดินทาง ดังนี้ค่ะ

บ่ายวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2563 กลับมาอีกครั้ง คราวนี้เดินทางโดยรถยนต์ ขับรถมาจอดที่ลานจอดรถของวัดกัลยาณมิตร จ่ายค่าบำรุงวัด 20 บาท จอดได้ทั้งวัน

ลานจอดรถ วัดกัลยาณมิต

เดินเข้าไปในพระวิหารหลวง เพื่อสักการะพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ซำปอกง

พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ซำปอกง

และสักการะพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ปางป่าเลไลย์) ในพระอุโบสถ

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ในพระอุโบสถ วัดกัลยาณมิตร

จากนั้น เดินเลียบไปตามทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปสักการะศาลเจ้าเกียนอันกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม (ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพในศาล)

ศาลเจ้าเกียนอันเกง (ศาลเจ้าแม่กวนอิม)
กำแพงด้านหน้าของศาลเจ้าเกียนอันกง (ศาลเจ้าแม่กวนอิม)

เดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อไป จะพบบ้านไม้โบราณที่มีชื่อว่า บ้านวินเซอร์ เป็นเรือนขนมปังขิง (Gingerbread) แห่งโค้งหัวแหวนแม่น้ำเจ้าพระยา

เดินต่อมาจนถึงท่าน้ำวัดซางตาครู้ส ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน (ขนมปังขิง)

โบสถ์๙างตาครู้ส

จากโบสถ์ซางตาครู้ส เดินเข้าไปในตรอกซอกซอยที่เรียกว่า ชุมชนกุฎีจีน

มีบ้านไม้โบราณตั้งอยู่ติดกัน และมีร้านจำหน่ายขนมและอาหารสไตล์โปรตุเกสในสมัยก่อนมากมาย อาทิ ร้านอาหารสยาม-โปรตุเกส สกุลทอง ร้านขนมฝรั่งธนูสิงห์ จำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นต้น แวะชมพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ซึ่งเล่าเรื่องราวในสมัยชาวโปรตุเกสเข้ามาอยู่ในอยุธยา และอพยพมายังกรุงธนบุรีภายหลังจากเสียกรุงให้แก่กองทัพพม่า และมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้

จากชุมชนกุฎีจีน ได้เดินย้อนกลับไปยังวัดกัลยาณมิตร ข้ามไปยังชุมชนกุฎีขาว เพื่อไปชมมัสยิดบางหลวง หรือมัสยิดกุฎีขาว ของชุมชนมุสลิมนิกายซุนนีที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นมัสยิดแห่งเดียวในโลกที่เป็นทรงไทย

เป็นอันว่าครบแล้ว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในชุมชนที่มี 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ คือ พุทธเถรวาท (วัดประยูรวงศาวาส วัดกัลยาณมิตร) พุทธมหายาน (ศาลเจ้าเกียนอันเกง) คริสต์ (โบสถ์ซางตาครู้ส) และอิสลาม (มัสยิดบางหลวง ในชุมชนกุฎีขาว ริมคลองบางหลวง)

เครื่องมือบริหารองค์กร ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ผู้บริหารองค์กร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการบริหารงานและผลักดันกระบวนการต่าง ๆ ทั้ง 6 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายและผลลัพธ์  (Results) และควรเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งมีให้เลือกมากมาย อาทิ

  1. มิติด้านการนำองค์กร (Leadership) ใช้เครื่องมือประเภท Mission and Vision Statements
  2. มิติด้านกลยุทธ์ (Strategy) ใช้เครื่องมือประเภท Core Competencies, Strategic Planning, Activity-based Budgeting, Balanced Scorecard เป็นต้น
  3. มิติด้านลูกค้า (Customer) ใช้เครื่องมือประเภท Student and Stakeholder Surveys
  4. มิติด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management) ใช้เครื่องมือประเภท Benchmarking, Performance Management System, KM
  5. มิติด้านบุคลากร (Workforce) ใช้เครื่องมือประเภท Employee Satisfaction, Employee Engagement Surveys, Workforce Planning
  6. มิติด้านการปฏิบัติการ (Operation) ใช้เครื่องมือประเภท Performance Improvement System (PDCA), Six Sigma, Supply Chain Management เป็นต้น

บริษัท BAIN & COMPANY ได้ทำการสำรวจเครื่องมือบริหารองค์กรที่ได้รับความนิยม และรายงาน Management Tools & Trends อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1993 จนถึงปัจจุบัน คือการสำรวจในปี 2017 นับเป็นครั้งที่ 16 แล้วในรอบ 24 ปี มีผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 14,700 ราย จาก 70 กว่าประเทศ ทั้งในอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ซึ่งแต่ละครั้งที่สำรวจ เครื่องมือที่ได้รับความนิยม 25 อันดับแรก จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สำหรับผลสำรวจล่าสุดในปี 2017 พบประเด็นสำคัญคือ Advanced Analytics และ Internet of Things เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในยุค Digital Transformation เครื่องมือ Agile Management เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจในปี 2017 มีจำนวน 1,268 ราย ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ควรไว้วางใจและให้อำนาจตัดสินใจแก่บุคลากร หลีกเลี่ยงการสั่งการและการควบคุมโดยตรง (Today’s business leaders must trust and empower people, not command and control them) และวัฒนธรรมองค์กรมีความสำคัญต่อความสำเร็จธุรกิจไม่น้อยไปกว่าแผนกลยุทธ์ (Culture is at least as important as strategy for business success)

เครื่องมือบริหารจัดการที่ได้รับความนิยมสูงสุด 25 อันดับแรก

  1. Advanced Analytics (การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ)
  2. Agile Management * (การบริหารงานแบบคล่องตัว รวดเร็วว่องไว)
  3. Balanced Scorecard (การประเมินผลงานขององค์กร 4 มิติ ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน ด้านการเรียนรู้และการเติบโต)
  4. Benchmarking (การเปรียบเทียบสมรรถนะ)
  5. Business Process Reengineering (การปรับรื้อระบบกระบวนการทางธุรกิจ)
  6. Change Management Programs (การบริหารความเปลี่ยนแปลง)
  7. Complexity Reduction (การลดความซ้ำซ้อน)
  8. Core Competencies (สมรรถนะหลักขององค์กร)
  9. Customer Journey Analysis * (การวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้า เส้นทาง หรือประสบการณ์ของลูกค้า)
  10. Customer Relationship Management (การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์)
  11. Customer Satisfaction Systems (ระบบจัดการความพึงพอใจของลูกค้า)
  12. Customer Segmentation (การจัดกลุ่มผู้รับบริการ หรือการจำแนกกลุ่มลูกค้า)
  13. Digital Transformation (การปรับเปลี่ยนเพื่อพลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัล)
  14. Employee Engagement Systems (ระบบจัดการความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร)
  15. Internet of Things* (อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง)
  16. Mergers and Acquisitions (การควบรวมกิจการ)
  17. Mission and Vision Statements (การแถลงวิสัยทัศน์พันธกิจ)
  18. Organizational Time Management (การบริหารจัดการเวลาขององค์กร)
  19. Price Optimization Models (รูปแบบของการใช้ราคาที่เหมาะสม)
  20. Scenario and Contingency Planning (การสร้างภาพสถานการณ์จำลองอนาคต วางแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติ)
  21. Strategic Alliances (พันธมิตรเชิงกลยุทธ์)
  22. Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์)
  23. Supply Chain Management (การจัดการห่วงโซ่อุปทาน)
  24. Total Quality Management (การบริหารคุณภาพโดยรวมทั่วทั้งองค์กร)
  25. Zero-Based Budgeting (การจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์)

เครื่องมือที่เคยติดอันดับ 25 อันดับแรกเมื่อปี 2015 และไม่ติดอันดับในปี 2017 ได้แก่ Decision Rights Tools (เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ) Outsourcing (การจ้างผู้อื่นให้ทำหน้าที่หรือกระบวนการทางธุรกิจแทน) Satisfaction and Loyalty Management (การจัดการความภักดีและความพึงพอใจ)

ส่วนเครื่องมือที่เริ่มติดอันดับได้รับความนิยมในปีนี้ ได้แก่ Agile Management , Customer Journey Analysis และ Internet of Things

เครื่องมือที่ติดอันดับมายาวนานตลอด 24 ปี ได้แก่ Benchmarking, Customer Satisfaction, Total Quality Management และ Mission and Vision Statements

AI For Everyone – วิชาน่าเรียนจาก Coursera

MOOC Coursera มีวิชาที่ชื่อว่า  AI for Everyone มีผู้เรียนมากกว่า 3.5 แสนคนจากทั่วโลก สอนโดย Andrew Ng – Adjunct Professor ของ Stanford University หลายคนคงจำได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera โดยนำวิชา  Machine Learning ที่สอน มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้าง MOOC บนระบบ Coursera และ

วิชา AI for Everyone นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องวิศกรรมศาสตร์ แต่ต้องการทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยี AI คืออะไร  คำศัพท์คำว่า AI, Neural Network, Machine Learning, Deep Learning, Data Science มีความหมายต่างกันอย่างไร AI สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรและธุรกิจของเราได้อย่างไร  AI มีผลกระทบอย่างไรต่อจริยธรรมและสังคม และแน่นอนว่า ไม่มีอุตสาหกรรมใดที่จะไม่ถูก AI สร้างผลกระทบอย่างมากในหลายปีข้างหน้า อาจารย์สอนสนุกและง่ายต่อการเรียนมาก เนื้อหาในบทเรียนพอสรุปได้ดังนี้ค่ะ

What is AI?

AI ประกอบด้วยความคิดสองอย่างที่แยกกัน ความก้าวหน้าทาง AI เกือบทั้งหมดที่เราเห็น ในวันนี้คือ Artificial Narrow Intelligence (ANI) ซึ่งเป็น AI ที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลำโพงอัจฉริยะ รถยนต์ที่ขับได้ด้วยตัวเอง AI ในการค้นเว็บ หรือ AI ในโรงงาน เป็นต้น แต่ AI ยังอาจหมายถึง Artificial General Intelligence (AGI) ซึ่งเป็นเป้าหมายในการสร้าง AI ที่สามารถทำอะไรก็ได้เท่าที่มนุษย์ทำได้หรืออาจจะเป็น Superintelligences ที่ทำได้มากยิ่งกว่ามนุษย์

ตัวอย่างเช่น

Screen Shot 2563-05-20 at 05.49.51

DATA

ข้อมูล หรือชุดข้อมูล

การสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้ หรือประเภทของพฤติกรรม สังเกตว่าลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์หรือเปล่า จากพฤติกรรมในการซื้อหรือไม่ซื้อสินค้า

CEO ของบริษัทใหญ่ๆ มักบอกว่า “ให้เวลาผมสร้างทีม IT สักสามปี เรากำลังเก็บข้อมูลเยอะมาก หลังจากสามปีเราจะมีชุดข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ แล้วเราจะได้เริ่มทำ AI กัน” วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ที่แย่มาก แท้จริงสิ่งที่ควรทำคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มเก็บข้อมูล ควรเอาข้อมูลพวกนั้นมาแสดงหรือส่งต่อให้กับทีม AI เลย เพราะบ่อยครั้งที่ทีม AI สามารถให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้แก่ทีม IT ว่า ข้อมูลแบบไหนที่ต้องรวบรวม โครงสร้างพื้นฐานของ IT แบบไหนที่ต้องสร้างขึ้น พยายามเก็บข้อเสนอแนะจากทีม AI ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะมันสามารถช่วยคุณ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน IT ได้ดีขึ้น

การใช้ข้อมูลในทางที่ผิดอย่างที่สอง คือ CEO บางคน อ่านจากข่าวต่างๆ ว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญ แล้วก็พูดว่า “เฮ้! ผมมีข้อมูลเพียบเลย ผมมั่นใจว่าทีม AI จะทำประโยชน์จากมันได้” น่าเศร้าที่มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ปกติแล้ว มีข้อมูลเยอะ ย่อมดีกว่ามีข้อมูลน้อย แต่ไม่ใช่เพียงเพราะมีข้อมูล หลาย terabytes แล้วทีม AI จะสามารถทำประโยชน์จากมันได้ อย่าเพียงแต่โยนข้อมูลให้กับทีม AI และสันนิษฐานเองว่ามันมีประโยชน์

สุดท้าย คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า เอาขยะเข้าไป ได้ขยะออกมา (Gabage in, Gabage out) ถ้ามีข้อมูลที่ไม่ดี AI ก็จะเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทีม AI จะต้องหาวิธีในการทำให้ข้อมูลสะอาด หรือจัดการกับข้อมูลที่ผิด และข้อมูลที่ขาดหายไป

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data)

Machine Learning & Data Science

Neural Network & Deep Learning

กับ Data Dcience ในอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์ 

Screen Shot 2563-05-20 at 09.56.52

Building AI Projects

Building AI In Your Company

  • ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี ข้อมูล และทรัพยากรด้านวิศวกรที่มี
  • ข้อที่สอง จงอย่าจ้าง M
  • ข้อที่สาม จงอย่าคาดหวังว่าโครงการ AI จะสำเร็จได้ในครั้งเดียว 
  • ข้อที่สี่ อย่าคาดหวังว่าจะใช้กระบวนการวางแผน
  • ข้อสุดท้าย อย่าคิดว่าจำเป็นต้องมี

AI and Society

งานของมนุษย์ในอนาคตหลายอย่างยังไม่มีชื่อเรียกตำแหน่งงานนั้นในตอนนี้ด้วยซ้ำ เช่น เราอาจมี งานควบคุมการจราจรของโดรน งานออกแบบเสื้อผ้าที่พิมพ์ 3 มิติ มีนักออกแบบยาที่ปรับแต่งตาม DNA เป็นต้น งานประเภทที่ต้องทำ

คุณไม่ควรลาออกจากงานที่ทำ เพื่อมาเรียน AI

สนใจเรียน AI for Everyone ลงทะเบียนเรียนได้ที่ https://www.coursera.org/learn/ai-for-everyone ผู้เขียนเริ่มจบแล้ว สอบผ่านด้วยคะแนน 94% และได้ประกาศนียบัตรมาเรียบร้อยแล้วค่ะ

Screen Shot 2563-05-20 at 09.40.24

เล่าประสบการณ์การจัดรายการใน PodCast

เริ่มทำ PodCast Episode แรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 ในชื่อตอนว่า “สมัยก่อนฟังวิทยุ สมัยนี้ต้องฟัง Podcast”  ความยาว  3.55 นาที ใช้อุปกรณ์คือโปรแกรม Voice Memo บนเครื่อง iPad Pro 2020 ที่เพิ่งสั่งซื้อมาทางออนไลน์ จากร้าน Apple Store ปรากฏว่า เสียงพอใช้ได้ แต่ถ้าจะให้ดี ไม่มีเสียงแทรกรบกวน อาจต้องมีไมโครโฟนชนิด USB

วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เพื่อหาร้านจำหน่ายไมโครโฟน พบว่ามีร้านอยู่แถว  RCA เพชรบุรีตัดใหม่ ไม่ไกลจากบ้าน จึงไปเลือกซื้อ ได้ RODE NT-USB Mini มา 1 ตัว ต่อเข้ากับ Mac Book Air และใช้โปรแกรม Quick Time Player ในการอัดเสียง พบว่าดีขึ้น จัดรายการ Episode ที่ 2 มีชื่อว่า “ฝึกสมาธิ เป็นสิ่งที่ควรทำ เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย” ความยาว 3.26 นาที

จากนั้น ตั้งใจจะพยายามจัดให้ได้ทุกวัน วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เป็น Episode ที่ 3 ชื่อตอนว่า “ภาวะผู้นำ ทำอย่างไร ?” ปรากฎว่า ตอนนี้ได้รับความนิยมมาก เสียงดีขึ้น มีผู้เข้าฟังจำนวนมาก และมีหลายคนมาแจ้งให้ทราบด้วยว่า ติดตามรับฟังเป็นประจำ

13 พฤษภาคม 2563  Episode ที่ 4 “3 คำนี้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร 1) SDGs 2) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ตอนนี้ ผู้ฟังมีความเห็นว่าพูดเสียงเบาไปหน่อย ยังไม่คุ้นชินกับการตั้งระยะห่างของไมโครโฟน

15 พฤษภาคม 2563  Episode ที่ 5 “Business Model Canvas (BMC) โมเดลยอดนิยมที่ใช้ได้ดีกับทุกองค์กร” ความยาว 9.59 นาที (วันที่ 14 พฤษภาคม ไม่ได้จัด เนื่องจากลืมเครื่อง Mac Book Air ไว้ที่ทำงาน) เปลี่ยนมาใช้ โปรแกรม Voice Recorder บนเครื่อง Windows ASUS แทน ต่อไมโครโฟน RODE NT-USB Mini ได้ ไม่มีปัญหา

16 พฤษภาคม 2563  Episode ที่ 6 “Content Marketing ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใช้มานานกว่า 100 ปีแล้ว” ความยาว 7.27 นาที และ Post ซ้ำอีกครั้ง โดยเพิ่มเพลงดนตรีแจ๊สเข้าไปเป็น Jingle เปิดและปิดท้ายรายการด้วย ได้รับความอนุเคราะห์จากน้องแมก กฤตวิทย์ ภูมิถาวร หัวหน้าห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ ช่วยจัดหามาให้ และแนะนำให้ใช้ GarageBand บนเครื่อง Mac ในการตัดต่อ

17 พฤษภาคม 2563  Episode ที่ 7 “บุญ กุศล วาสนา บารมี คืออะไร ?” ความยาว 10.59 นาที

18 พฤษภาคม 2563  Episode ที่ 8 “Learning How to Learn – เทคนิควิธีเรียนรู้เรื่องยากๆ”  ความยาว 15.16 นาที

podcast

รับฟัง Ruchareka’s PODCAST ได้ 6 ช่องทาง

  1. Soundcloud  https://soundcloud.com/ruchareka
  2. Podbean https://ruchareka.podbean.com/
  3. Blockdit https://www.blockdit.com/ruchareka
  4. Spotify https://open.spotify.com/show/1lT9CFAzcJk89XdoxGjIby (ใช้วิธี  feed RSS จาก Soundcloud เข้าไปโดยอัตโนมัติ)
  5. Google Podcast https://podcasts.google.com/?q=ruchareka  (ใช้วิธี  feed RSS จาก Soundcloud เข้าไปโดยอัตโนมัติ)
  6. Apple Podcast App. (ใช้วิธี  feed RSS จาก Podbean เข้าไปโดยอัตโนมัติ)

เนื้อหาที่ใช้ในการจัดรายการใน PODCAST

เอามาจากที่เขียนบันทึกไว้ใน Ruchareka Blog นี่แหละค่ะ สะดวกดี

Learning How to Learn – เทคนิควิธีเรียนรู้เรื่องยากๆ

Screen Shot 2563-05-19 at 06.27.09

What is Learning ?

การเรียนรู้คืออะไร? เมื่อเราไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง เราจะทำอย่างไร? สมองมีความสามารถในการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง ถ้าเราเข้าใจวิธีการทำงานของสมอง เราจะสามารถเรียนรู้ได้ลึกซึ้ง เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และท้อแท้น้อยลง คนเรามีการคิดอยู่ 2 รูปแบบ การคิดโหมดจดจ่อ (Focused Mode) และ การคิดโหมดกระจัดกระจาย (Diffuse Mode) เราไม่สามารถใช้สองโหมดในเวลาเดียวกันได้ เวลาที่คิดจดจ่อใช้สมาธิมากๆ อาจคิดไม่ออก ให้ใช้เทคนิคที่ โทมัส อันวา เอดิสัน นักประดิษฐ์คนสำคัญของโลก ก็ใช้เช่นกัน คือการนั่งผ่อนคลาย ปล่อยความคิดเป็นอิสระ คิดถึงสิ่งที่กำลังจดจ่อเพียงลางๆ ในมืออาจถือของบางอย่างเอาไว้ เช่น ลูกกุญแจ พอเคลิ้มหลับ กุญแจร่วงตกลงพื้น จะทำให้ตื่น สมองจะรวบรวมความคิด (Idea) ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก Diffuse Mode กลับเข้าสู่ Focused Mode และเชื่อมโยงเอาความคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาใช้ต่อยอดได้ด้วย

สรุปคือ เวลาที่เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่เคยทำมาก่อน หรือทำอะไรที่ค่อนข้างยาก ต้องมีโอกาสสลับสมองไปมาระหว่างทั้งสองโหมด จะช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Procrastination and  Memory

ทุกคนล้วนมีปัญหากับการผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination)

ตัวอาจารย์ผู้สอนเอง คือ ดร.บาบาร่า โอ็คเล่ย์  (Barbara Oakley) ตอนเด็กๆ เกลียดวิชาคณิตศาสตร์มาก แต่ตอนนี้กลายเป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมไปได้ ในอดีตเคยทำงานเป็นทหาร เป็นนักแปลภาษารัสเซีย และเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมวิทยุที่สถานีวิทยุแอนตาร์กติกาที่ขั้วโลกใต้ที่หนาวเย็นมาก

การนอนหลับ หรือการงีบหลับ เป็นเทคนิคที่สำคัญของการเรียนรู้ การนอนหลับจะทำให้สมองได้รับการอัพเกรด แม้

Chunking

การเรียนรู้เกิดขึ้นในสองทิศทาง คือ

  • Bottom up learning การสร้างกลุ่มก้อนความคิด (Chunking) จากล่างขึ้นบน ด้วยการฝึกฝนและทบทวน ซึ่งช่วยสร้างและทำให้แต่ละกลุ่มก้อนแข็งแรง ง่ายต่อการเข้าถึง
  • อีกทิศทางคือ Top down learning การมองภาพรวม (Big picture) จากบนลงล่าง ซึ่งทำให้เห็นว่าสิ่งที่กำลังเรียนรู้ควรอยู่ตรงไหน 

ส่วนตรงที่การเรียนแบบบนลงล่าง และล่างขึ้นบนมาบรรจบกัน นั้นคือ บริบท (Context) การสร้างกลุ่มก้อนความคิด เกี่ยวกับการเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาบางอย่าง การเพิ่มบริบท คือ การเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะใช้เทคนิคนั้น ไม่ใช่เทคนิคอื่น

Screen Shot 2563-05-19 at 09.43.38

การทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน  เช่น เปิดทีวีค้างไว้ คอยเช็คมือถือ รับโทรศัพท์ และเช็คอีเมล์ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้การสร้างกลุ่มก้อนความคิดได้ยากขึ้น เพราะสมองไม่ได้จดจ่อกับเนื้อหาใหม่ๆ อย่างแท้จริง ถ้าพูดเปรียบเทียบ อาจกล่าวได้ว่า หนวดปลาหมึกของเราไม่สามารถเอื้อมไปได้ดีนัก ถ้าบางหนวดต้องถูกเอาไปใช้ทำงานอย่างอื่น ทั้งๆที่เรามีความจำส่วนปฏิบัติการ (Working Memory) อยู่จำกัด 

รูปแบบประสาทที่เป็นพื้นฐานของความชำนาญที่แท้จริง

Renaissance Learning and Unlocking Your Potential

เคล็ดลับที่จะช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น  คือ 1) การออกกำลังกาย (Physical Exercise) ในบางส่วนของสมอง มีเซลล์ประสาทเกิดใหม่ทุกวัน

เราไม่จำเป็นต้องอิจฉาคนที่มีพรสวรรค์เป็นพิเศษ (Genious)

นี่เป็นเพียงบางส่วนของวิชา Learning How to Learn: Powerful mental tools to help you master tough subjects หากสนใจเทคนิควิธีการเรียนรู้เรื่องที่ยาก โดยไม่ท้อถอย สามารถไปลงทะเบียนเรียนเองได้ที่เว็บไซต์ของ Coursera ค่ะ

https://www.coursera.org/learn/learning-how-to-learn/home/welcome

บุญ กุศล วาสนา บารมี คืออะไร ?

แม้ว่าเราจะเป็นชาวพุทธ แต่บางครั้ง ก็ดูเหมือนว่า จะไม่ค่อยเข้าใจ ความหมายที่แท้จริงของคำว่า บุญ กุศล  วาสนา บารมี ว่าคืออะไรกันแน่ ? และหลายเรื่องก็อาจเข้าใจผิด แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ค่ะ ให้ความรู้ความเข้าใจได้ดีที่สุดเท่าที่เคยอ่านมา หนังสือเล่มเล็กๆ ที่มืชื่อว่า “วิธีสร้างบุญวาสนาบารมี” พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  พิมพ์เมื่อเดือนเมษายน 2557 โดย มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เนื้อหาสรุปตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ได้ดังนี้ค่ะ

Boon

บุญ

แปลตามศัพท์ว่า ชำระ ฟอก ล้าง กระทำความดีต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องชำระฟอกล้างจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากความชั่ว ความชั่วที่ว่า นั้นก็คือ อกุศลมูล หรือ รากเหง้าของอกุศล มี  3 อย่าง ได้แก่  1) โลภะ อยากได้ 2) โทสะ คิดประทุษร้ายเขา และ 3) โมหะ หลงไม่รู้จริง

บุญเกิดจากการกระทำ (ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทำ ก็ไม่เกิดเป็นบุญ) การกระทำบุญ  จำเป็นต้องมีวัตถุ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่ 1) การบริจาคทาน 2) การรักษาศีล และ 3) การเจริญภาวนา

ผลของบุญ คือ ความสุข ซึ่งก็เป็นบุญเหมือนกัน เมื่อมีจิตใจเป็นบุญ ชำระโลภะ โทสะ โมหะ ไปได้ ก็เป็นเหตุให้เกิดกุศล กุศลแปลว่า กิจของความฉลาด หมายถึง ความดี การทำบุญ คือ การทำดี

การทำบุญด้วยการบริจาคทาน ไม่ใช่เฉพาะการแบ่งปันให้คนที่ขาดแคลน การให้พระหรือให้วัด ที่เราเรียกว่าทำบุญ ก็ถือเป็นการให้ทานทั้งนั้น ถ้าเป็นการสละ บริจาค สิ่งใดๆ ให้แก่ผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือด้วยการให้เปล่า ทั้งกำลังกาย กำลังวาจา กำลังใจ ที่เรียกว่า อามิสทาน หรือแม้กระทั่งกำลังความคิดความรู้ ที่เรียกว่า เป็น ธรรมทาน

การทำบุญ “จะต้องเลือกให้” หมายถึง ควรให้วัตถุที่สมควรให้ แก่บุคคลที่สมควรได้รับการสงเคราะห์  เมื่อได้รับแล้วจะทำให้เขามีความสุข สิ้นความขาดแคลน

“ต้องให้ตามสมควร” ไม่ใช่เกินกำลัง และทำให้ตนเองเดือดร้อน ไม่ใช่ให้ไปแล้ว ทำให้ตนเองต้องอดอยาก เป็นทุกข์ การกระทำเช่นนั้น เป็นการไม่เอื้อเฟื้อตนเอง ไม่เมตตาตนเอง

ต้องเลือกเจตนาที่ให้ คือ ตั้งเจตนาให้เป็นบุญ ว่า เพื่อชำระความโลภ มีเจตนาบริสุทธิ์ทั้งในเวลาก่อนให้ ในเวลาขณะที่กำลังให้ และในเวลาที่ให้ไปแล้ว

การทำทานที่เป็นบุญญกิริยาวัตถุ จึงเรียกว่าเป็น กุศลทาน คือ ทานที่เป็นกุศล เป็นทานที่ให้ด้วยความฉลาด และเรียกว่า สัปปุริสทาน คือ ทานของสัตบุรุษ คือ คนดี คนฉลาด ทานเป็นหลักใหญ่ของโลก เป็นหลักธรรมชาติที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เกื้อหนุนจุนเจือซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องเลี้ยงโลก บำรุงโลก

การทำบุญด้วยการรักษาศีล เป็นความดีที่สูงขึ้นมาจากทานอีกขั้นหนึ่ง เป็นความประพฤติงดเว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกันให้เดือดร้อน เรียกว่า อภัยทาน แปลว่า ให้อภัย เป็นบุญเพราะเป็นเครื่องชำระล้างโทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย เมื่อรักษาศีลไว้ได้ ก็จะสามารถชำระใจได้ในข้อนี้ อันที่จริง ศีล คือ ความเป็นปกติของคน แต่คนโดยมากมักควบคุมตัวเองไว้ไม่ได้ ยับยั้งชั่งใจไว้ไม่อยู่ จึงรักษาความเป็นปกติไว้ไม่ค่อยได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลเป็นขอบเขตของความประพฤติไว้ เพื่อช่วยให้คนรักษาปกติภาพของตนไว้ให้ได้ การรับศีลจากพระ ก็เป็นวิธีชักนำอย่างหนึ่ง

นอกจากนั้น ทรงประทานหลักธรรมสำหรับคุ้มครองใจไม่ให้ต่ำทราม คือ หิริ – ความละอายใจต่อความประพฤติชั่ว รังเกียจความชั่วโอตตัปปะ – ความเกรงกลัวต่อความประพฤติชั่ว ของตนเอง

การทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ไม่ใช่หมายถึง การท่องบ่นอะไรเบาๆ แต่ตามศัพท์ ภาวนา หมายถึง การทำให้มีขึ้น ให้เป็นขึ้น จึงมีความหมายถึงการปฏิบัติให้บังเกิดผลได้อย่างจริงจัง เป็นการอบรมจิตใจให้ตั้งมั่น อบรมความรู้ความเห็นที่ถูกต้องให้มีขึ้น อบรมใจให้บริสุทธิ์สะอาด สว่างไสว เป็นภาคปฏิบัติโดยตรง โดยการภาวนาในศีล ภาวนาในสมาธิ และภาวนาในปัญญา จนกระทั่งเห็นสัจจะความเป็นจริงของนามรูป เห็นความเกิด ดับ เห็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) และอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)

คำว่า บุญ และ กุศล ต่างกันอย่างไร

ทำบุญ เป็นเรื่องของกาย ทำกุศล เป็นเรื่องของใจ เป็นของคู่กัน ไม่ควรแยกจากกัน เมื่อทำบุญให้ทาน หรืออภัยทานแล้ว ควรต้องทำกุศลด้วย คือ อบรมใจของตนเองให้เป็นกุศล ให้มีความฉลาด ให้ใจสว่าง มีปัญญา สามาถพาตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนทางใจให้ได้ การอบรมใจให้ฉลาด นี่แหละ คือ การทำกุศล ระหว่างบุญกับกุศล กุศลสำคัญกว่า กุศลเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของทุกคน ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น ตัวเองเท่านั้น ที่จะทำให้ตัวเองไม่ได้กุศล จึงควรพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบ อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นอุปสรรค

วาสนา หมายถึงอะไร

วาสนา แปลว่า อยู่ตัว มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสันดานและนิสัย เป็นแล้วแก้ยาก แต่ไม่ใช่จะแก้ไม่ได้ การอยู่ตัวนั้น เกิดจากการกระทำบ่อยๆ ขอให้เรามีความดีเป็นวาสนา มีธรรมะเป็นวาสนา โดยการหมั่นปฏิบัติความดี ให้ความดีอยู่ตัว ไม่ย้อนกลับไปทำความชั่วอีก วาสนาดีหรือชั่วไม่เกี่ยวกับชาติกำเนิดหรือทรัพย์สมบัติอะไรทั้งหมด แต่สำคัญที่ความดีความชั่วนี่แหละ ดังนั้น เมื่อมีความดีเป็นวาสนา เมื่อมีธรรมะเป็นสรณะ  เป็นครื่องดึงจิตใจ มีตนเป็นนาถะ คือเป็นที่พึ่งของตน ในที่สุดก็จะเป็นคนวาสนาดี ในการปฏิบัติความดีทุกอย่าง ทั้งทางกายและทางใจ จะต้องเริ่มหัดทำ ถ้ายังไม่สะดวก ยังไม่คล่อง เรียกว่า ยังไม่มีวาสนา คือ ยังไม่อยู่ตัว ยังทำไม่เพียงพอ จึงต้องทำบ่อยๆ

อัธยาศัย นิสสัย อุปนิสสัย  สันดาน

อัธยาศัย คือ ภาวะที่อาศัยอยู่กับจิตใจ ดึงหรือน้อมจิตใจไปให้เกิดเจตนากรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้งอัธยาศัยดี และอัธยาศัยเลว เหตุอุดหนุนที่ทำให้เกิดอัธยาศัย คือ นิสสัย และ อุปนิสสัย

นิสสัย แปลว่า ที่อาศัย จิตต้องเป็นนิสสิต คือ ผู้อาศัยอยู่ในนิสสัยซึ่งเป็นที่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตอาจอาศัยอยู่กับกิเลส หรืออาศัยอยู่กับคุณธรรม ดังนั้น คนจะทำอะไร จึงสุดแต่นิสสัย ถ้านิสสัยเป็นส่วนชั่ว ก็จะทำชั่ว ถ้านิสสัยเป็นส่วนดี ก็จะทำดี

อุปนิสสัย อาจหมายถึงนิสสัยที่แรงกว่าปกติ  หรือ นิสสัยที่อบรมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่

สันดาน แปลว่า สืบต่อ  สันดานทางจิต คือ อัธยาศัย นิสสัย อุปนิสสัย สืบต่อกันไป ผู้ใดมีอัธยาศัย นิสสัย อุปนิสสัย อย่างใด ผู้นั้นก็คงเป็นอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าสันดานนั้นจะขาด เปลี่ยนอัธยาศัย นิสสัย อุปนิสสัยใหม่ เกิดเป็นสันดานใหม่ได้โดยการอบรมให้เพิ่มเติมบ่อยๆ จนอยู่ตัว เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยการส้องเสพบ่อยๆ จนอยู่ตัว หรือกลายเป็นวาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตรว่า ไม่ส้องเสพคบหาคนพาล ให้ส้องเสพคบหาบัณฑิต คบคนใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น

พระพุทธเจ้า ทรงละได้ทั้งกิเลส และวาสนา แต่พระอรหันตสาวกนั้น ละกิเลสได้ แต่ละวาสนาไม่ได้ โดยเฉพาะวาสนาทางกาย เช่น บางองค์ชอบกระโดดโลดเต้น เพราะในอดีตชาติเคยเป็นวานร บางองค์ปากร้าย ชอบพูดจาใช้คำร้าย ๆ แรงๆ แต่ใจไม่ได้ร้ายอะไร ยังติดมาอยู่ เป็นวาสนาที่เคยทำมาบ่อยๆ มันอยู่ตัวเลยละยาก

บารมี หมายถึง เก็บดี เก็บถูก ไว้ในจิตใจ 

บารมี แปลว่า อย่างยิ่ง เลิศ ประเสริฐ หมายถึง คุณธรรมที่สั่งสมอบรมให้เป็นอย่างยิ่ง คือ ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นของเลิศ ของประเสริฐ ของดีที่สุด คุณธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกจากฝั่งนี้ (โลก) จนพ้นไปให้ถึงฝั่งโน้น (โลกุตตระ) บารมีนี้มาจาก กรรม คือ การงานที่บุคคลกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เมื่อกรรมให้ผลแล้ว ก็เป็น อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้ให้ผลเสร็จไปแล้ว กรรมเป็นตัวเหตุ ผลของกรรมเป็นตัวผล จึงมีเวลาที่เสร็จสิ้น

เมื่อทำกรรมดีไว้บ่อยๆ ก็ย่อมคุ้นเคยกับความดี มีความดียังติดอยู่ เป็นนิสสัย เป็นอุปนิสสัย เป็นวาสนา ไม่หมดสิ่นไปได้เหมือนอย่างกรรม นี่แหละที่เรียกว่า บารมี เป็นสิ่งที่สั่งสมเพิ่มเติมได้อยู่เสมอ

อาสวะ หมายถึง เก็บชั่ว เก็บผิด ไว้ในจิตใจ

อาสวะ ตรงข้ามกับ บารมี  กรรมชั่วเป็นส่วนเหตุ ผลของกรรมชั่วเป็นส่วนผล แม้มีเวลาที่แล้วกันไป จนเสร็จสิ่นกันไป แต่ว่ากรรมชั่วที่กระทำนั้น ก็ทำให้เกิดความคุ้นเคย เก็บสะสมอยู่ เรียกว่า อาสวะ แปลว่า ดองสันดาน หรือ หมักหมมอยู่ในสันดาน อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนุสัย แปลว่า นอนเนื่อง นอนจมอยู่ในจิต หรือในจิตสันดาน

สรุปว่า พื้นฐานของจิตใจ (อัธยาศัย นิสสัย อุปนิสสัย สันดาน อาสวะ อนุสัย วาสนา บารมี) มาจากการส้องเสพ

เหตุเบื้องต้นของทั้งหมด จึงอยู่ที่การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เรียกว่าการเสวนา คือ การส้องเสพ ทำกรรมดี ก็ส้องเสพกรรมดี ทำกรรมชั่ว ก็ส้องเสพกรรมชั่ว ที่เหลือก็เก็บสะสมไว้

ถ้าเก็บดี เก็บถูก ก็เป็นบารมี ถ้าเก็บชั่ว เก็บผิด ก็เป็นอาสวะ เราเป็นมนุษย์ต้องมีปัญญา เลือกเอาเอง

Content Marketing ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใช้มานานกว่า 100 ปีแล้ว

ในยุคสมัยที่องค์กรต้องเผชิญกับ Digital Disruption กลยุทธ์ที่สำคัญในการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ขาดไม่ได้คือ การทำเนื้อหา หรือที่เรียกว่า Content Marketing  ซึ่งฟังดูเหมือนเป็นคำศัพท์ใหม่ แต่แท้ที่จริง เรื่องนี้มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว

ในช่วงปีที่แล้ว ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีชื่อว่า MU-AMP รุ่นที่ 4 และเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 ได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง Content Marketing โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญ คือ คุณปฐมภพ สุวรรณศิริ Chief Commerical Officer (CCO) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการค้า บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น จึงขอนำเกร็ดความรู้มาถ่ายทอดแบ่งปันสำหรับผู้สนใจค่ะ

การตลาดสมัยก่อน ใช้วิธี Outbound Marketing คือการทำโฆษณาสินค้า โดย “PUSH” ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตรงไปยังลูกค้าโดยผ่านสื่อสาธารณะต่าง ๆ คล้าย ๆ กับเป็นการกระจายเสียง แต่สมัยนี้ เราใช้วิธี Inbound Marketing เป็นการ “PULL” ให้ลูกค้าสนใจและเข้ามาใกล้ชิด สร้างแบรนด์ (Brand) ให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่เนื้อหา (Content) ที่มีคุณค่าไปยังลูกค้า วิธีนี้ก็คือการใช้การตลาดแบบ Indirect Marketing หรือ Content Marketing นั่นเอง

ประวัติความเป็นมาของ Content Marketing เกิดมานานกว่า 120 ปีแล้ว อ่านได้จากบทความเรื่อง Content marketing – the fundamental tool of digital marketing เขียนโดย Loredana PATRUTIU BALTES ตีพิมพ์ในวารสาร Bulletin of the Transilvania University of Braşov Series V: Economic Sciences. (2015), Vol. 8 (57) No. 2 pp. 111-118.

ในบทความนี้ ได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ใช้เทคนิคของ Content Markering มาก่อนที่จะมีคำศัพท์นี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำไป  เช่น ในปี ค.ศ. 1891 ดร.ออกัส เอิร์ทก้าร์ Dr. August Oetker ผู้ก่อตั้งบริษัทจำหน่ายผงฟู (Baking Powder) ยี่ห้อ Backin ได้พิมพ์ตำราทำขนมต่าง ๆ ติดไว้ที่ด้านหลังกล่องผงฟู เวลาผ่านไป 20 ปี สามารถนำมารวมเล่มเป็นตำราอาหาร (Cookbook) พิมพ์จำหน่ายไปทั่วโลกกว่า 19 ล้านชุด และมีการปรับปรุงเนื้อหาต่อเนื่องเป็นเวลานานนับ 100 ปี

Screen Shot 2563-05-16 at 08.12.26

ตัวอย่างที่ 2 เป็นเรื่องของบริษัทจำหน่ายคันไถ รถแทรกเตอร์ เครื่องตัดหญ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำเกษตรกรรม อายุกว่า 175 ปี ที่มีชื่อว่า จอห์น เดียร์ (John Deere) เมื่อปี ค.ศ. 1895 John Deere ได้จัดทำนิตยสารชื่อ The Furrow Magazine  “A Journal for the American Farmer” แจกจ่ายให้ความรู้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นการทำ  Content Marketing รุ่นบุกเบิกของโลกเลยทีเดียว

Screen Shot 2563-05-16 at 08.25.06

ตัวอย่างที่ 3 เป็นเรื่องของบริษัทยางรถยนต์ Michelin ของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1900  สองพี่น้องตระกูลมิชลิน (Michelin) อังเดร (André)  และ เอดเวิร์ด (Édouard) ได้พิมพ์หนังสือคู่มือท่องเที่ยว มิชลิน ไกด์ (Michelin Guide) แจกจ่ายฟรีแก่ลูกค้า เพื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการซ่อมปะยางรถยนต์ด้วยตนเอง ปั๊มน้ำมัน โรงแรม แผนที่เดินทาง และภัตตาคารตามเส้นทางการเดินทางในประเทศต่าง ๆ  และปัจจุบันเข้าใจว่า ไม่น่ามีใคร ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องราวของการจัดอันดับร้านอาหารด้วย Michelin Star ระดับ 1 ดาว 2 ดาว และ 3 ดาว

Screen Shot 2563-05-16 at 08.40.51

ตัวอย่างที่  4 เป็นเรื่องของบริษัทอเมริกัน ผลิตเจลลี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับทำขนมและอาหาร ทำจากเจลาติน (Gelatin) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีชื่อว่า Jell-O ตอนแรกเกือบเจ๊งแล้ว เพราะไม่มีใครซื้อ แต่พอเมื่อปี 1904 ได้ทำการตลาดโดยผลิตตำราอาหาร Jell-O Recipe Book มีทั้งเนื้อหาและภาพวาดประกอบที่สวยงามและดึงดูดสายตา ให้เซลล์แมนเดินเคาะประตูตามบ้าน แจกฟรีให้แก่ลูกค้า จนกระทั่งขายดิบขายดีในที่สุด นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการตลาดแบบ Content Marketing ในยุคบุกเบิก ที่ใช้การเล่าเรื่องราวของแบรนด์ (Brand Stories) ในการทำ Indirect Marketing ใช้วิธีสร้างสิ่งดึงดูดใจทางอารมณ์ (Emotional Appeal) แทนการจงใจขายสินค้าโดยตรง

Screen Shot 2563-05-16 at 09.04.43

ตัวอย่างที่ 5 เป็นเรื่องของฮาสโบร (Hasbro) และมาร์เวล (Marvel) ที่ใช้ G.I. Joe  ตุ๊กตาของเด็กเล่น รูปทหารอเมริกัน สี่เหล่าทัพ (ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และนาวิกโยธิน) ยี่ห้อ Hasbro มาทำสื่อการตลาดหลายรูปแบบ ทั้งเป็นหนังสือการ์ตูน G.I. Joe (A Real American Hero) ตีพิมพ์โดย Marvel Comics และกลายมาเป็นรายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ที่โด่งดังในเวลาต่อมา

GIJOE

คำศัพท์ คำว่า “Content Marketing”  ใช้ครั้งแรกเมื่อประมาณต้นปี 1996 โดย John F. Oppedahl ในการประชุมโต๊ะกลมของสมาคม American Society for Newspaper Editors และนิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคของ Digital Markerting ที่จะต้องพัฒนาเนื้อหา (Content) ในการทำการตลาด สร้างการรับรู้ ความมั่นใจ และความศรัทธาในแบรนด์ และเผยแพร่ออกไปในช่องทางที่สะดวกรวดเร็วกว่าในอดีต และสามารถติดตามวัดผลด้วย Impact Metrics ต่าง ๆ ได้ง่าย นั่นคือ สื่อสังคมออนไลน์  (Social Networks)

ขอจบบทความนี้ ด้วยโฆษณาที่สร้างอารมณ์ความรู้สึก “Taste the Feeling” ของบริษัทเครื่องดื่ม โคคา-โคล่า บริษัทที่มีอายุเก่าแก่นานกว่า 100 ปี และยังคงสามารถเติบโตขึ้นไปได้เรื่อยๆ ด้วยการใช้เทคนิคการตลาดที่มีชื่อว่า Content Marketing นั่นเอง